31 ส.ค. 2022 เวลา 17:22 • อสังหาริมทรัพย์
ทศวรรษที่หายไปของผังเมืองกรุงเทพฯ
คำถามที่หลายคนสงสัย
น้อยคนจะรู้ว่าเรายังใช้ผังเมืองเมื่อ 10 ปีที่แล้วอยู่
อะไรที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯช่วง 10 ปีนี้บ้าง ?
ปัจจุบันผังเมืองรวมกรุงเทพฯที่ใช้งานอยู่คือฉบับปี พ.ศ. 2556
ซึ่งโดยปกติผังเมืองจะเปลี่ยนทุกๆ 5 ปี
ถ้าเป็นไปตามปกติ ตอนนี้เราจะใช้ฉบับปี 2561 อยู่
แต่ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดการที่ผังเมืองใหม่จะประกาศใช้
แม้ว่าจะมีการร่างผังเมืองใหม่ปี พ.ศ. 2563 ขึ้นมาแล้วก็ตาม
ซึ่งการปรับเปลี่ยนผังเมือง จะส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอย่างแน่นอน
เรื่องที่เราเห็นได้แน่ชัดคือ
-การจราจร
-น้ำท่วม
-การกระจายความเจริญออกไปสู่ชานเมือง
Land Everywhere จะพาส่องไทม์ไลน์
ว่ามีเหตุการณ์ใดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาบ้าง
ในการพัฒนาของกรุงเทพฯอย่างก้าวกระโดด
(บางปัจจัยเกี่ยวบ้าง ไม่เกี่ยวบ้าง)
นายกรัฐมนตรี-ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร
-2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - สุขุมพันธุ์ บริพัตร
-2557 ประยุทธ์ จันทร์โอชา - สุขุมพันธุ์ บริพัตร
-2559 ประยุทธ์ จันทร์โอชา - อัศวิน ขวัญเมือง
-2565 ประยุทธ์ จันทร์โอชา - ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
-2566 xxx - ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
จะเห็นได้ว่าผังเมืองรวมปี 56 ได้ผ่านมือผู้ว่าฯมาแล้ว 4 คน
และนายกรัฐมนตรี 2 คน
เป็นที่น่าจับตามองว่าผู้ว่าฯคนปัจจุบัน คุณชัชชาติ
จะมีการปรับแก้ผังเมืองใหม่ฉบับร่างหรือไม่ ?
เพราะคุณชัชชาติเป็นคนเคยเป็นคนในวงการอสังหาฯและมีความเข้าใจบริบทของเมืองสูงมาก
-สถิติประชากรในกรุงเทพฯ
-2556 5,686,252 ล้านคน
-2558 5,696,409 ล้านคน
-2560 5,682,415 ล้านคน
-2562 5,666,264 ล้านคน
-2564 5,527,994 ล้านคน
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ประชากรกรุงเทพเริ่มจะไม่เพิ่มแล้ว
แต่ประชากรแฝงที่รวมเข้าไปนั้น อาจจะมีมากถึง 10 ล้านคน
เราจะสังเกตได้จากรถที่ติดมากขึ้นจากเมื่อก่อน
ตลาดหรือห้างฯที่คนหนาแน่นจนชิน จากที่เมื่อก่อนคนไม่แน่นเท่านี้
รวมไปถึงการรอคิวต่อคิวในการอุปโภคบริโภคจากร้านค้าต่างๆ
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน กรุงเทพฯ
-2556 49,190 บาท
-2558 45,571 บาท
-2560 45,707 บาท
-2562 39,459 บาท
-2564 40,200 บาท
เมื่อมองด้านรายได้ครัวเรือน ถือว่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆจากปี 2556
การที่มีผังเมืองที่ดีจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ช่วยลดรายจ่าย
เพื่อเพิ่มเงินเก็บจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอันน้อยนิดของชาวกรุง
รถไฟฟ้าเปิดใช้บริการ
-2556 สายสีเขียว สะพานตากสิน-บางหว้า และสายสีเขียว อ่อนนุช-แบริ่ง
-2559 สายสีม่วง คลองบางไผ่-เตาปูน
-2562 สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ และสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค
-2563 สายสีน้ำเงิน เตาปูน-ท่าพระ และสายสีเขียว หมอชิต-พหลฯ24
-2564 สายสีเขียว หมอชิต-คูคต
-2566 สายสีเหลือง และสายสีชมพู
ปฎิเสธไม่ได้ว่าระบบขนรถไฟฟ้า มีผลต่อการขยายตัวของเมืองอย่างมาก
ซึ่งสถานีรถไฟฟ้ามีผลกับผังเมืองในเรื่องของ FAR พื้นที่ก่อสร้างอาคาร
และการปลดล็อคข้อจำกัดอาคารในการออกแบบให้ Maximize มากขึ้น
ที่น่าสังเกตคือ ตอนนี้รถไฟฟ้าพัฒนาเร็วเกินผังเมืองไปมากแล้ว
หากใครลงรายละเอียดดีดี
ย่านบางย่าน ถนนบางเส้นถูกแช่แข็งพัฒนาเมืองต่อได้ยาก
เพราะผังเมืองไม่ล้อตาม การพัฒนาของรถไฟฟ้าเลย
เช่นทำเลถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ เป็นต้น
การขอจดทะเบียนอาคารชุด (คอนโด)
-2556 50,602 ห้อง
-2558 41,186 ห้อง
-2560 34,490 ห้อง
-2562 42,081 ห้อง
-2564 25,113 ห้อง
แม้ว่าในช่วงโควิดปี 2563-2564 จะมีการจดทะเบียนคอนโดลงเพราะวิกฤตโควิด
แต่หากสังเกตให้ดีช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คอนโดมีการเพิ่มขึ้นสะสมถึงเกือบ 2 แสนยูนิต
ซึ่งโดยปกติหลังวิกฤตเศรษฐกิจ คอนโดมักจะกลับมาบูม
ซึ่งผังเมืองจะส่งผลโดยตรงในเรื่องของ Zoning และความหนาแน่น
เป็นที่น่าจับตาประเด็นนี้ว่า ทำเลไหนที่ผังเมืองจะ Lead ให้คอนโดได้ไปต่อ
จำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมในกรุงเทพฯ
-2556 8,047,392 คัน
-2558 8,840,195 คัน
-2560 9,593,706 คัน
-2562 10,779,612 คัน
-2564 11,051,186 คัน
สุดท้ายเรามาดูที่สถิติรถยนต์กัน
เมื่อดูตัวเลขแล้ว คงไม่แปลกใจที่ทำไมกรุงเทพฯของเรารถติด
เพราะถนนเรามีเท่าเดิม แต่รถยนต์เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ล้านคัน ในรอบ 10 ปี
และนี่ยังไม่รวมรถยนต์จากเขตปริมณฑลที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ
สรุปตั้งคำถามส่งท้าย
ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับใหม่ที่ใกล้จะคลอดในปีหน้าๆนี้
จะเข้ามาช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองหรือไม่
ทั้งในแง่ความหนาแน่นของประชากร รถติดที่แก้ไม่มีวันหาย
รวมไปถึง Zoning ของเมืองที่ยังเจริญกระจุกแต่ไม่กระจายออกสู่รอบนอก
น่าติดตามต่อ…ในยุคของคุณชัชชาติ พ่อเมืองกรุงเทพฯ
"Opportunity is EVERYWHERE,
if you look closely"
โฆษณา