1 ก.ย. 2022 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
34 ปีที่แล้ว เจ้าสัวธนินท์ ทำอย่างไร ถึงได้ 7-Eleven มาเปิดในไทย
รู้หรือไม่ ประเทศไทย เกือบจะไม่มี 7-Eleven
เพราะเจ้าของแบรนด์ในสหรัฐอเมริกา บอกว่า GDP ต่อหัวของคนไทย ยังน้อยเกินไป ถ้าเอา 7-Eleven ไปเปิด ก็เตรียมตัวขาดทุนได้เลย
4
แต่สุดท้าย คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ก็สามารถเจรจา จนนำ 7-Eleven มาเปิดในไทยได้สำเร็จ
โดยเปิดสาขาแรกในปี 2531 ที่บริเวณพัฒน์พงศ์
และปัจจุบัน 7-Eleven กลายเป็นเชนร้านสะดวกซื้อ ที่ใหญ่สุดในไทย ทำกำไรต่อปีได้มหาศาล
5
แล้วเรื่องราวตอนนั้นเป็นอย่างไร
เจ้าสัวธนินท์ ไปเจรจาอย่างไร ให้ได้ลิขสิทธิ์ร้าน 7-Eleven มาเปิดในไทย ?
BrandCase จะสรุปเรื่องนี้ให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
4
เรื่องนี้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว
ที่คุณธนินท์ เป็นคนเขียนเอง
4
คุณธนินท์เล่าว่า ได้ไปเห็นโมเดลร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสหรัฐอเมริกาแล้วชอบ ทำให้อยากที่จะนำเข้ามาเปิดที่ไทย
2
อย่างไรก็ตาม พอได้คุยกับทางบริษัทแม่ คือเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น พวกเขาได้กล่าวปฏิเสธคุณธนินท์ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ GDP ต่อหัวของไทย ยังต่ำมาก
1
แต่คุณธนินท์ก็ยังไม่ยอมแพ้ โดยเขาได้เชิญสองพี่น้องผู้ก่อตั้งร้าน 7-Eleven มายังประเทศไทย
ซึ่งทริปนั้น ก็สร้างความประทับใจให้คนทั้งสองเป็นอย่างมาก
4
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองพี่น้องก็ยังยืนยันคำเดิมว่า
เขาต้องการเตือนคุณธนินท์ด้วยความหวังดีว่า GDP ต่อหัวของไทยยังต่ำเกินไป หากเอา 7-Eleven มาเปิด ก็จะมีแต่ขาดทุน
แต่ถ้าคุณธนินท์ ยังยืนยันที่จะเปิด พวกเขาก็จะยินยอมและไม่เปลี่ยนแปลงอะไรอีก
7
ถ้าลองดู GDP เฉลี่ยต่อหัวของไทย กับ สหรัฐอเมริกา ในปี 2531
สหรัฐอเมริกา 786,229 บาท ต่อหัว ต่อปี
ไทย 41,226 บาท ต่อหัว ต่อปี
8
แต่คุณธนินท์ ก็ยังยืนยันคำเดิมเหมือนกัน ว่าจะเอา 7-Eleven มาเปิดในไทยให้ได้
1
แล้วอะไรที่ทำให้คุณธนินท์เชื่อมั่นว่า 7-Eleven จะประสบความสำเร็จในไทย
4
- ประการแรก คือ ความพร้อมด้านอื่นที่ไม่ใช่แค่ รายได้ต่อหัวของประชากร
3
ทั้งสองพี่น้องมองว่า GDP ต่อหัวของไทยนั้นยังต่ำเกินไป ซึ่งคุณธนินท์มองว่า ถึงแม้ว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสหรัฐอเมริกา จะมีตัวเลข GDP ต่อหัวของประชากรที่สูง
แต่สหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีประชากรหนาแน่นในบางพื้นที่ เหมือนกับประเทศไทย
3
ประเทศไทยโดยเฉพาะในส่วนที่เจริญแล้ว จะมีประชากรหนาแน่นค่อนข้างมาก
และถึงแม้ว่า GDP ต่อหัวของไทยจะไม่ได้สูงเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่โอกาสที่คนจะเข้ามาใช้บริการนั้นกลับมีมากกว่า
5
คุณธนินท์เล่าว่า ได้ลงทุนไปนับคนด้วยตัวเองที่เขตพระโขนง
ว่าจะมีคนเดินผ่านหน้าร้านกี่คน ซึ่งก็ได้ผลสรุปออกมาว่า แม้รายได้ต่อหัวของเราจะต่ำกว่าเขาจริง แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนคนที่เดินเข้าร้าน
9
ในสหรัฐอเมริกามีคนเดินเข้าร้าน 1 คน ในไทยจะมีคนเดินเข้าร้าน 10 คน
6
ดังนั้นเมื่อรวมรายได้แล้ว ถึงแม้ว่ายอดซื้อต่อคนอาจจะไม่มากเท่าที่สหรัฐอเมริกา แต่ด้วยปริมาณคนที่เข้าร้านมากกว่า ทำให้ยอดขายที่ออกมาไม่แพ้กันเลย
1
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของต้นทุนต่าง ๆ ที่ถูกกว่าสหรัฐอเมริกาด้วย ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าที่ดิน หรือค่าแรง ที่ถูกกว่าหลายเท่า ทำให้มีโอกาสในการขยับขยาย และทำกำไรได้ดีกว่า
2
- ประการที่สอง คือ ความใหม่
2
ในสมัยก่อนที่จะมี 7-Eleven นั้น คนส่วนใหญ่ก็จะซื้อของจากร้านค้าปลีก แบบโชห่วย
ซึ่งอาจจะไม่ได้มีสินค้าครบทุกอย่าง หรืออยู่ในตึกสำนักงานใกล้ ๆ
1
ดังนั้น นี่จึงเป็นโอกาสของ 7-Eleven ที่จะไปเจาะกลุ่มลูกค้า ที่มีรายได้ที่สูงขึ้น และต้องการหาความสะดวกสบาย เพราะตัวร้าน 7-Eleven เองก็ไม่ได้ขายในราคาที่ถูกกว่าร้านโชห่วยทั่ว ๆ ไป
1
โดยคุณธนินท์กล่าวว่า เมื่อคนมีรายได้สูง พวกเขาจะไม่ได้ดูแค่เรื่องราคาเท่านั้น แต่พวกเขายังมองเรื่องความสะดวกสบายอีกด้วย
3
และสุดท้ายคุณธนินท์ก็เริ่มต้นเซ็นสัญญากับเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของ 7-Eleven ในปี 2531 และเปิดสาขาแรกที่บริเวณพัฒน์พงศ์
2
จนปัจจุบัน 7-Eleven ในไทย มีทั้งหมด 13,433 สาขา มียอดขายเฉลี่ยต่อสาขาต่อวันราว 77,000 บาท
และสร้างรายได้ มากกว่า 300,000 ล้านบาท ในแต่ละปี..
2
References
-หนังสือ ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว โดย ธนินท์ เจียรวนนท์
2
โฆษณา