2 ก.ย. 2022 เวลา 10:13 • สิ่งแวดล้อม
รายการ TNN Earth เป็นรายการที่ให้คำอธิบายไว้ดังนี้ครับ
คือ มหานครอย่างกรุงเทพฯนั้น มีจำนวนตึกคอนกรีตสูงๆเป็นปริมาณต่อพื้นที่มาก
ตั้งแต่เช้าจนถึงราว บ่ายสามโมงเป็นช่วงที่คอนกรีตดูดซับความร้อนไว้ตลอด
แต่ช่วงบ่ายสามโมงเป็นต้นไป แดดเริ่มอ่อนและ คอนกรีตเริ่มถ่ายเทความร้อนออกมา เพราะอุณหภูมิของอากาศเริ่มเย็นลง ความร้อนนั้นจะมีผลต่อ “ความชื้น” ในอากาศเดิม และเมื่อมีความชื้นจากฤดูมรสุมเคลื่อนที่มาปะทะก็ทำให้เกิดฝนตกได้ ซึ่งก็จะเป็นเวลาหลังบ่ายสามโมงเป็นต้นไป
ผมเคยได้ยินว่ามีคนเรียกในลักษณะนี้ว่า “ฝนนายจ้าง” หรือ “ฝนราชการ” เพราะตกในเวลาที่ทางราชการปิดทำการ
โดยฝนราชการนี้จะไม่ค่อยพบในพื้นที่ชนบทที่แทบจะไม่มีตึกสูงมายังการถ่ายเทของอากาศ
ในมุมมองของผม เมื่อพิจารณาจากหลักวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมที่ผมพอจะจำได้คือ
ที่ที่มีอุณหภูมิสูง (RED) -> ความกดอากาศตำ่ (Low)
ที่ที่มีอุณหภูมิตำ่ (BLUE) -> ความกดอากาศสูง (High)
ดังนั้น เมื่อคอนกรีตคายความร้อนออกมา จึงทำให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ความกดอากาศตำ่
โดยเมื่อความกดอากาศตำ่ลง -> “ลม” จะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิตํ่ากว่า (มวลอากาศเย็น) เข้ามายังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า
และ “ลม” นั่นเองที่พัดพาเอาเมฆฝน หรือ ความชื้นในฤดูมรสุมเข้ามาด้วย!
“Windy”
มีทั้ง web และ app ที่ให้ข้อมูล “เรดาร์ฝน” ที่ดีที่สุดอันหนึ่งที่ผมชอบใช้ครับ
โฆษณา