2 ก.ย. 2022 เวลา 11:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตั้งเป้าพัฒนาไทย ให้เป็น “Green FinTech” ศูนย์กลางการเงินการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม ดึงเงินทุนสีเขียว 84 ล้านล้านบาท สร้างโอกาสเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“Green FinTech” คือ การใช้เทคโนโลยีด้านการเงินใหม่ๆ มาส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจาก “Green Finance” หรือ การเงินสีเขียว ที่มุ่งส่งเสริมภาคการเงิน ให้เข้าสู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากทั่วโลก อย่างเช่น โครงการ Green Bond ที่ออกพันธบัตรให้แก่นักลงทุน
เพื่อนำเงินเข้าไปลงทุนในโครงการพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งกำลังจะมีมูลค่าสูงถึง 2.36 ล้านล้านเหรียญฯ หรือราว 84 ล้านล้านบาทในปี 2566
ซึ่งในปัจจุบัน แนวคิด Green FinTech ได้เริ่มต้นพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจในหลายประเทศ เช่น
🇨🇳 ประเทศจีน มีระบบ Ant Forest ที่ร่วมกับ Alipay บันทึกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่มีผลต่อการลดมลพิษ เช่น การลดการใช้กระดาษจากบิล การปั่นจักรยาน หรือการใช้ขนส่งมวลชนในการเดินทาง มาแลกเป็น Green Points เพื่อนำไปใช้ปลูกต้นไม้จริงในป่าชุมชน
🇸🇬 สิงคโปร์ มี Greenprint Marketplace ที่เชื่อมโยงภาคการเงิน การธนาคาร เข้ากับบริษัทที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมั่นคงทางการลงทุน
🇨🇭 เช่นเดียวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ตั้งเป้าในการเป็นผู้นำและศูนย์กลางของ “Green FinTech” ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการสร้าง StartUp ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจสีเขียว การสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูล เทคโนโลยี และการเข้าถึงลูกค้า
🇹🇭 ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ได้ลงนามในข้อตกลง Implementing Agreement On Climate Protection ภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) กับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือเรื่องการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และความสนับสนุนเรื่องเงินทุน รวมไปถึงเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวครับ
การที่ประเทศของเรา ได้ลงนามข้อตกลง MOU กับสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นข้อได้เปรียบของไทย ในการศึกษาและหาความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว รวมไปถึงการตั้งเป้าหมายในการเป็น 1 ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้าน “Green FinTech” ของภูมิภาค
ปัจจุบัน เศรษฐกิจสีเขียว กำลังเติบโตขึ้นอย่างมากทั่วโลก แค่เฉพาะมูลค่าของ Green Bond ก็กำลังจะพุ่งสูงถึง 2.36 ล้านล้านเหรียญฯ หรือราว 84 ล้านล้านบาทในปี 2566 จังหวะนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทย ที่จะแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบในการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจสีเขียว และ Green FinTech ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อดึงเงินลงทุนจากทั่วโลกมาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนครับ
โฆษณา