3 ก.ย. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
UBC หายไปไหน ?
รู้ไหมว่า ทักษิณ ชินวัตร และเจ้าสัวธนินท์ แห่งซีพี เกี่ยวข้องกับบริษัทนี้ที่ชื่อ UBC ซึ่งต่อมา UBC เปลี่ยนเป็นชื่อที่ทุกคนในทุกวันนี้รู้จักกันเป็นอย่างดี..
ซึ่งถ้าย้อนกลับไปราว 20 ปีที่แล้ว รายการทีวีจากจานดาวเทียม และเคเบิลทีวี
เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย
โดยหนึ่งในชื่อที่คุ้นหูเรากันเป็นอย่างดีเลย
ก็คือ “UBC” ที่เต็มไปด้วยรายการการ์ตูนและภาพยนตร์
เช่น UBC Kids, Cartoon Network, HBO และ FOX
หรือแม้แต่สารคดีอย่าง National Geographic, Animal Planet และ The History Channel..
4
แล้วเราเคยสงสัยกันไหมว่า วันนี้ UBC หายไปไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หากจะพูดถึง UBC เราอาจจะต้องเล่าย้อนกลับไปในปี 2532 หรือราว 33 ปีก่อน
1
โดย UBC มีจุดเริ่มต้นมาจาก
บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติง คอร์ปอเรชันส์
หรือ IBC ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเจ้าแรกในประเทศไทย
บริษัทแห่งนี้ เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง
- บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ เซอร์วิส แอนด์ อินเวสต์เมนท์ หรือ INTUCH ในปัจจุบัน
- บริษัท เคลียร์วิว ไวร์เลส มีเจ้าของเป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน
เพื่อให้บริการสื่อจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ช่องข่าว, กีฬา และภาพยนตร์
1
จนกระทั่งปี 2537 IBC ก็ได้เริ่มมีคู่แข่งอย่าง บริษัท ยูนิเวอร์แซลเทเลวิชัน เคเบิล เน็ตเวิร์ก หรือ UTV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในปัจจุบัน
พูดง่าย ๆ ก็คือ ในวันนั้น IBC มีเจ้าของคือ ทักษิณ ชินวัตร เครือชินคอร์ป
ส่วน UTV มีเจ้าของคือ ธนินท์ เจียรวนนท์ เครือซีพี
6
หลังจากแข่งขันกันได้ไม่นาน
ทั้ง 2 บริษัทก็ได้เผชิญเข้ากับ “วิกฤติต้มยำกุ้ง”
อุตสาหกรรมเคเบิลทีวีในไทยก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
1
ด้วยปัญหาค่าเงินบาทลอยตัว
ค่าลิขสิทธิ์รายการทีวี ซึ่งต้องจ่ายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น แพงขึ้นเป็นเท่าตัว
1
อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัท ต่างแข่งขันกันทั้งด้านราคาและจำนวนช่อง
ทำให้ทั้งคู่มีผลประกอบการแย่ลง เพราะต่างก็ต้องประมูลลิขสิทธิ์รายการทีวีแข่งกันเอง
2
เมื่อดู ๆ แล้วว่าแข่งกันไปก็มีแต่จะย่ำแย่
ทั้ง 2 บริษัทจึงตัดสินใจ “ควบรวมกิจการกัน”
เพราะทั้งคู่จะได้ประโยชน์ทั้งจากการลดค่าใช้จ่าย และมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นทันที
6
โดยในด้าน IBC ใช้การส่งสัญญาณดาวเทียม จึงมีฐานลูกค้าในต่างจังหวัดเยอะ แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถดูได้ตอนฝนตก
1
ในขณะที่ UTV ใช้วิธีส่งสัญญาณจากสายไฟเบอร์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินสายที่สูง ทำให้มีลูกค้าอยู่แค่ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่จะไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพสัญญาณตอนฝนตก
จึงเป็นที่มาของ UBC อย่างที่ทุกคนรู้จักกันดี ซึ่งควบรวมกิจการแล้วเสร็จในปี 2541
ซึ่งหลายคนก็อาจจะไม่รู้ว่า UBC เคยจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แถมยังเคยติดดัชนี SET 50 หรือหุ้นที่มีมูลค่าบริษัท และมีสภาพคล่องมากสุด 50 อันดับแรกในตลาดหุ้นไทยอีกด้วย
4
แล้วคำถามที่ตามมาเลย
ก็คือ UBC กับหุ้น UBC หายไปไหน ?
ปัจจัยที่ทำให้ UBC หายไป ก็คือกลยุทธ์ Convergence ที่ต้องการรวมบริการของทรู ทั้งโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และเคเบิลทีวี เข้าไว้ด้วยกัน
1
ทำให้ในปี 2549 กลุ่มทรูตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น UBC ด้วยมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท
จาก MIH บริษัทสื่อจากแอฟริกาใต้ ที่ถือหุ้นอยู่ถึง 30%
3
และเมื่อรวมกับหุ้นที่กลุ่มทรูถืออยู่เดิม ทำให้ทรูมีสัดส่วนถึง 70% กลุ่มทรูจึงประกาศ Tender Offer
หรือก็คือการรับซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อย เพื่อนำบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์
3
ในภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริการเป็น UBC-True และ TrueVisions ในเวลาต่อมา..
1
แล้วธุรกิจ TrueVisions ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ปี 2562 รายได้ 9,655 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 8,300 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 7,353 ล้านบาท
3
จะเห็นได้ว่าบริษัทมีรายได้ลดลง ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะเรามีตัวเลือกในการรับชมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เพราะในวันนี้อินเทอร์เน็ตสามารถทำให้เราดูคอนเทนต์จากสมาร์ตโฟนที่ไหนก็ได้
มี YouTube ที่ดูได้ฟรี รวมถึงบริการสตรีมมิง ทั้ง Netflix, Amazon Prime ไปจนถึงเจ้าของคอนเทนต์ที่หันมาเป็นผู้ให้บริการสตรีมมิงเองอย่าง Disney+, HBO GO เต็มไปหมด
4
ทั้งหมดนี้ ก็ได้เข้ามาเป็นความท้าทายของธุรกิจเคเบิลทีวีแบบ TrueVisions อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1
สรุปแล้ว UBC ในความทรงจำของใครหลายคน ไม่ได้หายไปไหน
เพียงแค่เปลี่ยนชื่อ และเปลี่ยนเจ้าของเป็นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เท่านั้น
4
แต่ดูจากความท้าทายในวันนี้ ก็น่าสนใจว่า TrueVisions จะมีกลยุทธ์อย่างไร
ที่จะไม่ให้เกิดคำถามจากคนในอนาคตว่า
TrueVisions หายไปไหน ?..
1
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
2
โฆษณา