3 ก.ย. 2022 เวลา 03:05 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เกิดอะไรขึ้นกับ Dow Jones Index (DJI) ช่วงที่คุณ Paul Volcker ขึ้นดอกเบี้ยไปถึงเกือบ 20% เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ แล้วรอบนี้จะเป็นอย่างไร
ในช่วงปี 1979-1980 ที่ Paul Volcker เข้ามาดำรงตำแหน่ง Fed Chairman ใหม่ๆ ประเทศสหรัฐอเมริกาเผชิญปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง และเรื้อรังจนนำมาสู่การขึ้นดอกเบี้ยที่มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ในยุคนั้นเกิดวิกฤติราคาน้ำมันจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง เกิด Iranian Revolution รวมไปถึงสงครามระหว่างอิรักและอิหร่าน ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงไปถึง $100 ในช่วงต้นปี 1980
เพื่อที่จะต่อสู้กับเงินเฟ้อ Fed ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 19% ตามเส้นสีขาวในขณะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ผลในช่วงแรกคือ การว่างงานเริ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่การถดถอยหรือ recession ทำให้ในช่วงแรก fed ตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงมา แต่ยังปราบเงินเฟ้อไม่สำเร็จ จึงทำให้ fed ขึ้นดอกเบี้ยกลับขึ้นไปที่เดิมอีกครั้ง
Fed fund rate (เส้นสีขาว) ราคาน้ำมัน WTI (เส้นสีเหลือง) Dow jones index (กราฟแท่งเทียน)
ต้นปี 1980 เกิด recession ทำให้ fed ตัดสินใจลดดอกเบี้ย แต่ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยไปอีกครั้งเพื่อสะกัดเงินเฟ้อ
ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาถดถอยอยู่ช่วงปี 1982-1983 ส่วน Dow Jones index มีการปรับตัวขึ้นในช่วงแรก แต่ก็มีการพักตัวลงตามมา ตามเศรษฐกิจที่ถอถอยลงไป แต่สุดท้ายก็กลับขึ้นไปได้อีกในปี 1983-1984 ตามภาพ
เพื่อให้เราสามารถเข้าใจสถานการณ์ของตลาดหุ้นในเวลานั้นมากขึ้น ต้องย้อนเวลากลับไปว่า เวลานั้น Dow Jones index มีหน้าตาเป็นอย่างไร
จะเห็นว่า บริษัทใน Dow Jones index ตอนนั้น ที่ใหญ่ที่สุดคือ IBM ตามมาด้วย AT&T ถัดมาส่วนใหญ่เป็นบริษัทน้ำมันหลายบริษัท แสดงถึงตลาดทุนช่วงนั้นมี character ของอุตสาหกรรมการผลิตชัดเจน บริษัทเทคโนโลยีมี IBM และ AT&T โดยเฉพาะ IBM ที่ยังอยู่ในช่วงของการเติบโต
ในปี 1981 บริษัทที่พาตลาดขึ้นมา คือ ทั้ง AT&T และ IBM ที่น่าจะเป็นช่วงของการเริ่มต้นของหุ้นเทคโนโลยี มีการเติบโตของการใช้ทั้งคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแทนที่เทคโนโลยีเดิม
ปี 1982 ตลาดหุ้นเริ่มชะลอตัวตามเศรษฐกิจที่ถดถอย นำโดย AT&A และบริษัทในกลุ่มโรงกลั่นอย่าง Shell กับ Standard oil of California แต่ก็มีหุ้นกลุ่มค้าปลีกอย่าง Sears ขึ้นมาแทนในช่วงปลายปี 1982
ในปี 1984 จะเห็นว่าบริษัทที่เป็นตัวนำตลาดขึ้นมาเลยตอนนั้นคือ IBM (น่าจะคล้ายๆกับ Apple ในช่วงนี้) ส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นช่วงของการเติบโตจากการ disrupt technology ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องในช่วงการเปลี่ยนถ่ายจากเทคโนโลยี สังเกตุจากบริษัทที่เน้นการผลิตมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ด้านบริการมีเพิ่มมากขึ้น
จนมาถึงปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ใน Dow Jones Index เปลี่ยนไปมาก top companies กลายเป็นบริษัทเทคโนโลยี รวมไปถึงกลุ่มการเงิน
บริษัทในนี้ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มเทคโนโลยีและการเงิน ซึ่งค่อนข้าง sensitive กับดอกเบี้ยสูงกว่าบริษัทที่เน้นการผลิตและน้ำมันเหมือนช่วงปี 1980 อีกทั้งแทบไม่มีบริษัทไหนอยู่ในช่วงของการเติบโตสูงเหมือนสมัยที่ IBM ขึ้นมาเป็นผู้นำในช่วง 1980 เลย นอกจากนี้ หลายๆบริษัทมีการเติบโตมาจากการที่เกิด economy of scale ด้าน supply เมื่อ demand มีปัญหาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ มีโอกาสสูงที่รอบนี้ เราจะเห็นการอ่อนแอของตลาด ที่ไม่เหมือนกับช่วงปี 1980
คำถามคือ แล้วรอบนี้เราควรจะมองไปข้างหน้าอย่างไร จะมีอะไรที่พอจะใช้เป็น leading indicator ได้หรือไม่
ส่วนตัวมองว่า อาจจะสังเกตุ bond yield ว่า มีแนวโน้มกลับเป็นขาลงเมื่อไหร่ ตลาดตราสารหนี้เป็นตลาดที่ใหญ่และสะท้อนมุมองของตลาดก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงกับเศรษฐกิจ จะเห็นว่า bond yield (เส้นสีส้มและฟ้า) ปรับตัวลงมาก่อนในขณะที่ Fed ยังไม่ลงดอกเบี้ย (เส้นสีขาว) ในขณะที่ตลาดค่อย react ตามลงมาในช่วง 3-6 เดือนถัดไป อีกทั้งระดับความแรงของการลดลงลอง bond yield อาจกำลังบ่งบอกถึงระดับความน่ากังวลที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้น ซึ่งมีโอกาสปรับตัวลงในระดับความแรงไกล้เคียงกันในเวลาต่อมา
โฆษณา