4 ก.ย. 2022 เวลา 07:12 • คริปโทเคอร์เรนซี
🧿 Tokenomics Design Framework จบทีเดียว 📌 สำหรับ ผู้กำลังสร้าง Crypto Project ทุกสถาบัน!! 🏛
จริงๆ การออกแบบ #Tokenomic มันคือ กึ่งๆ การออกแบบธุรกิจละครับ 📊 ให้นึกเสมือนเราจะสร้างธุรกิจ 🧮 ใช้ Business Model Canvas/ SWOT Analysis / Porter’s Five Forces Model / BCG Growth-Share Matrix / Value Chain Analysis / Design Thinking ประมาณนี้ละครับ
🖍 แต่เป็นรูปแบบ Token Value Accrual จากผู้สร้าง สู่ผู้ถือ และ ทรงคุณค่า ต่อไปเรื่อยๆ ได้อย่างไร?
ไปลองอ่านกันเลย !!
***
🧠 Topic ที่จะพูดถึง: #Tokenomics
1 Business Assessment 🏗
1.1 Problem Statement
1.2 Value Proposition & Value Creation
1.3 Growth & Evolution
2 Token Evaluation 📀
2.1 Product Improvement
3 Users 🤠
3.0 The Circle Model
3.1 User Research: Who & What?
3.2 User Research: Why & Motivation?
3.3 User Research: Value Created
4 Incentives 💸
4.1 Behaviour Framework
4.2 Incentive Design
4.3 Mechanism Design - Part I
4.4 Mechanism Design - Part II
4.5 Core Mechanism Summary
4.6 Mapping Out your Mechanisms
5 Token Value Accrual ⚖️
5.0 Supply & Demand Map
5.1 Take Stock
5.2 Demand Drivers
6 Distribution 🎈
6.1 Token Allocation
6.2 Timing / Emission Schedule
6.3 Token Launch
7. Litepaper 🧾
***
1 #Business Assessment 🏗 -
ทำไมธุรกิจ (Crypto Project) นี้จะต้องเกิดขึ้นมา?
1.1 Problem Statement - 👈
ปัญหาของภาพรวมของโลกคริปโต ขาดอะไร? ติดขัดอะไร? Crypto Project คุณกำลังแก้ไขปัญหาอะไร?
1.2 Value Proposition & Value Creation - 👈
คุณค่า ที่เหนือกว่า คู่แข่ง คืออะไร? จุด (โครต) แข็งของโปรเจคคืออะไร? กำลังสร้าง/ขาย อะไรอยู่?
1.3 Growth & Evolution - 👈
เมื่อคุณคิดได้แล้วว่า มีจุดเด่น… แล้วทำยังไงต่อ ให้โปรเจค ทรงคุณค่า กักเก็บมูลค่าได้? (หรือรวมถึง ตัว Token คงมูลค่าได้อย่างไร?)
***
2 Token #Evaluation 📀 -
ทำไมมันต้องมี Token ละ? จำเป็นไหม? เป้าหมายของ Token มีไว้ทำไม?
2.1 Product Improvement - 👈🏻
เสริมมาจาก ข้อ 1.1 ให้ดูต่อว่า > การที่มี Token แล้ว แก้ไขปัญหาอะไรที่มี Token เกี่ยวกันอย่างไร? ส่งเสริมกันยังไง?
เปรียบเทียบดู: การที่มี Token แล้ว มันมีจุดแตกต่างกัน (แบบโครตๆๆ) อย่างไรกับ Medium of Exchange อื่นๆ (เงินสด / Stablecoin / BTC / ETH)?
***
3 #Users 🤠 -
ผมจะถามคุณแบบนี้ครับ: ถ้าผมให้คุณทำงาน แล้ว ผมจ่ายคุณเป็นก้อนหินสวยงาม หรือ แอปเปิ้ล… คุณจะทำงานให้ผมไหม? คำตอบคือ… ผู้ใช้งาน สนใจ ก้อนหินสวยงาม หรือ แอปเปิ้ล หรือเปล่า?
ใน ขณะที่ ผู้สร้างโปรเจค มักคิดว่า ผู้ใช้งาน คิดถึง “เงิน” “เงิน” “เงิน”... ซึ่งก็มีความจริงอยู่พอควร แต่ ยังมีปัจจัย สร้างแรงจูงใจอีกมากมาย ให้คน รู้สึก “ก้อนหินสวยงาม” นั้นทรงคุณค่า
3.0 The Circle Model - 👈
อันนี้ ถ้าคุณเริ่มอยากจะ Deep Dive จริงๆ ในรูปแบบผู้สร้าง Crypto Project อาจจะต้องดู วงกลมในลิ้งค์จริงไปด้วยนะครับ
3.1 User Research: Who & What? - 👈
ใครจะเป็นผู้ใช้โปรเจคคุณ? อะไรเป็นปัจจัยให้เขาต้องเลือกคุณ? มันมีอีก 10+ Project คล้ายคุณไหม?
Empathy Map: ให้ตั้งคำถามเพิ่มขึ้นไปอีก > (A) Say (B) Thinks (C) Does (D) Feel >>> ให้ลองถาม & สังเกตสิ่งที่ ผู้ใช้งาน ทำจริง คิดจริง
3.2 User Research: Why & Motivation? - 👈
ทำไมคนต้องใช้โปรเจคคุณ? เป็นกลุ่มคนแบบไหน? แรงจูงใจการในการใช้คืออะไร?
Behaviour Insight: Prospect Theory & Financial Rewards ไปลองค้นเพิ่ม
3.3 User Research: Value Created - 👈
คราวนี้ ผู้ใช้งาน… สร้างมูลค่า ให้แก่โปรเจคได้อย่างไร?
***
4 #Incentives 💸 -
“ผลตอบแทน” … หลังจากเรามีผู้ใช้งานแล้ว เราจะต้องสร้าง Framework ให้ผู้ใช้งาน รู้สึก/ได้รับ คุณค่า จริงๆ คำถามคือ… คุณจะทำอะไร ให้ผู้ใช้งานใช้สินค้า/การบริการ ของคุณ?
4.1 Behaviour Framework - 👈🏻
“ผลตอบแทน” จาก Token อาจเป็นปัจจัยนึง ที่ขับเคลื่อน ผู้ใช้… “ผลตอบแทน” ที่เพียงพอ ผู้ใช้งานจะทำในรูปแบบที่ ผู้สร้างต้องการ!!
ถาม: “ผลตอบแทน” แค่ไหนถึงเรียกว่าพอ? “ผลตอบแทน” ให้ไปแล้ว… คุณ ‘ไม่อยาก’ ให้ผู้ใช้งาน ทำอะไร?
4.2 Incentive Design - 👈🏻
สร้างโมเดล “ผลตอบแทน” ที่ดี: เราสร้างพฤติกรรม ให้ผู้ใช้ ปฏิบัติในทิศทางที่เราต้องการยังไง?
4.3 Mechanism Design - Part I 👈🏻
ทำไมมันต้องมี Token ละ? จำเป็นไหม? “ผลตอบแทน” แค่ไหนถึงเรียกว่าพอ ให้คนยอมใช้งาน/ถือครองต่อ?
4.4 Mechanism Design - Part II 👈🏻
ปัจจัยข้างเคียงจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
4.5 Core Mechanism Summary - 👈🏻
สรุป: ให้ดูว่า In flow มูลค่า กลับไปโปรเจคยังไง? & ทำไม Out flow มูลค่า โปรเจคจึงจะออกไป?
4.6 Mapping Out your Mechanisms - 👈🏻
วาดแผนผัง ออกมาให้ดูเข้าใจ และ ถ้า 1 pager ยิ่งดีครับ
***
5 Token #ValueAccrual ⚖️
หลังจากที่คุณได้สร้าง Token จากข้อ 4 แล้ว คุณสร้างโมเดลในการมองพฤติกรรมผู้ใช้งานแล้ว… แต่ไม่ได้แปลว่า ผู้ใช้งาน อยากจะถือครอง Token คุณตลอดไป!
แต่ถ้าการถือครอง Token มี “Value Accrual” หรือการกักเก็บมูลค่า/การไหลของเงินทุน กลับสู่มือผู้ถือครองละก็… นั้นละ ทำให้คนจะมีแนวโน้มที่จะถือครอง Token คุณนานขึ้น! (คล้ายกับ หุ้น ที่มีการจ่ายปันผล เพิ่มขึ้น)
5.0 Supply & Demand Map - 👈
อุปสงค์และอุปทาน (คำไร งงจุง ใช้ Supply & Demand ละดีแล้ว) Supply Demand
5.1 Take Stock - 👈
Distribution of tokens = Supply = แจกจ่ายออกไปเท่าไร? ผู้ใช้ต้องทำอะไร ถึงได้ Token X?
Removal of tokens = Demand = ความต้องการของ Token มากน้อยแค่ไหน? นำ Token ออกจากระบบ ให้มีน้อยลง ทำอย่างไร?
5.2 Demand Drivers - 👈
ขับเคลื่อนความต้องการของ Token: การออก monetary policy ของ Token สำคัญมาก! และ คุณประโยชน์ที่แท้จริง สร้างอย่างไร?
ภายใน: ใช้งานภายใน Ecosystem อะไรได้? ส่วนลด? จ่ายค่าธรรมเนียม? Stake รับค่าธรรมเนียม?
ภายนอก: ใช้งานภายนอก Ecosystem อะไรได้? จับมือแฟนคลัป? Buy back & Burn? ไปใช้ร่วมกับ Partner 10-100 แห่งได้?
***
6 #Distribution 🎈
การแจกจ่าย! แจกให้ใคร? Partner? Advisor? Team? Marketer? Contributor? Public user?
6.1 Token #Allocation - 👈🏻
ถาม: การที่ผู้สร้างอย่างคุณ นำ Token ไปแบ่งสรรให้ กลุ่ม Stakeholders ของคุณ มีคุณค่าอะไร? พวกเขาช่วยสร้างคุณค่าให้โปรเจคคุณไหม? พวกเขาเป็นใคร? แบ่งสรรเป็น Percent % เท่าไร ๆ ดี?
6.2 Timing / #Emission Schedule - 👈🏻
หลังจาก นำ Token ไปแบ่งสรรให้ กลุ่ม Stakeholders ของคุณแล้ว… ให้ดูว่า Stakeholders ทำไมพวกเขาจะต้องถือครอง Token? Emission หรือการทยอยปลดปล่อย (ไม่ใช่ Matrix The One นะ 55+) Token สำคัญมาก!
ถ้าแจกจ่ายไวเกินไป ก็ทำให้คนไม่เห็นคุณค่าใน Token… แต่ ถ้าแจกจ่ายช้าเกินไป ทำให้คนเบี่ยงเบนความสนใจไปหาโปรเจคอื่นแทน
เป็นจุดสมดุล ที่ทำได้ยาก และ คาดการณ์ยากกว่า!! #Vesting Schedule คือปัจจัยครัย
โปรเจคคุณมีฐานรายได้ ที่ช่วยค้ำจุน ให้มีการแบ่งสรร ผลตอบแทน ไหม? แจกจ่าย Token ถี่แค่ไหน? มีจุด Stop ในการแจกจ่ายไหม? ตลาดจะซึมซับ Token ที่ออกมาอย่างไร?
👌 มี Article น่าสนใจให้อ่านมากมาย เช่น: ⚙ Resources:
Digging Deeper on Supply
Buy back and burn token model
Token burning: what is it and its benefits
Buy back and make token model
Example of buy back and burn model
The optimal vesting schedule
Distribution / Vesting / Emission Schedule สนใจไฟล์นี้ ทักครับ!
6.3 Token Launch - 👈🏻
เปิดตัวแบบปัง!!
คุณจะแจกจ่ายแบบฟรีๆ (Give away) ช่วงต้นยังไง? ทำยังไงไม่ให้เหรียญเฟ้อเกินไป? FDV จะเป็นยังไง? Token จะจับคู่เทรดกับอะไร? สภาพคล่องของ Token จะมีมากน้อยแค่ไหน? มีราคาตั้งต้นในใจไหม? แนวทางเปิดตัวโปรเจค ทำอย่างไร? อยากให้ early adopters รู้จักโปรเจคเราได้อย่างไร?
***
ผมเคยเขียน บทความนี้:
ถ้าคุณมีโปรเจคคริปโต จะเปิดตัว Tokenomic อย่างไร ให้ปัง 🤟 ในภาวะตลาดแบบนี้? 📉
กับโมเดลการวางแผน 6️⃣ ข้อ ไปลองอ่านได้ครับ
***
7. #Litepaper 🧾
Aka. หนังสือชี้ชวนเสนอขาย #หลักทรัพย์ … นั่นละ!! จงเขียนโมเดลที่คุณคิดมา ให้ ผู้ใช้งานรู้จักได้ อย่างลึกซึ้ง และ เข้าใจแบบง่ายดายได้ด้วย ยิ่งดี >> และ ผมส่วนตัวแนะนำ ควรทำแบบ 1 pager Litepaper ให้คนขออ่านเกริ่นแบบรวดเร็ว ให้คน screen ให้สนใจภายใน 3 - 20 วินาที แรกให้ได้ครับ!!
***
ขอขอบคุณข้อมูลจากทาง: Tokenomics DAO
***
บทความนี้ ขอห้อยท้าย บริษัทที่ผมกำลังร่วมงานอยู่ Coinstore.com 🙌
หรือต้องการคำปรึกษาการออกแบบ Tokenomic ทักครับ!
ยังไง ถ้าชอบบทความนี้ ผมขอฝากกด Like 👍กด Share ↗️ บทความนี้ และ ฝากติดดามเพจ 👉 Coinstore Thailand ด้วยนะครับ ^^ ✅
ขอบคุณครับ
#EarthDeFIRE รายงาน 04/09/2022
#Coinstore #Crypto #Web3 #DeFi #DAO #Bitcoin #Token #Framework #คริปโต
โฆษณา