4 ก.ย. 2022 เวลา 08:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มองประเทศไทยผ่านหนี้สิน วันนี้เป็นอย่างไร
มองตัวเลขหนี้สินคนไทย อาการน่าเป็นห่วง
เศรษฐกิจไทยช่างเปราะบางและมีความท้าทายหลายประการ ทั้งภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และกลายเป็นภาระต่อผู้ขอสินเชื่อ ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่ากรอบของธนาคารแห่งประเทศไทย จากที่กำหนดให้อยู่ในช่วง 1-3% (แต่เงินเฟ้อปัจจุบันมันอยู่ที่ระดับ 7-8%ไง)
ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่ากว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่ภาวะปกติ ก็คงเป็นช่วง Q1-Q2 ปี2023 นอกจากนี้มาตราการพักชำระหนี้ที่ตอนแรกมีให้กับทุกกลุ่มไม่ได้เลือกปฏิบัติ กลายเป็นการต่ออายุให้แก่บางกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นหากเศรษฐกิจประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ แถมเจอภาวะความไม่สงบของภูมิภาคโลก ตัวเลขเศรษฐกิจไทยคงโงหัวไม่ขึ้น
ถ้ามาดูเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2550 จนถึง 2564 มันขยายตัวเฉลี่ย 2.54%เอง ในปี 2020 เศรษฐกิจไทยติดลบ 6.1% จนมาถึงปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถขยายตัวชดเชยการติดลบในปีที่เกิด Covidได้ (หากเทียบจนถึง Q2 ปี 2022 เศรษฐกิจไทยโตกลับมาแค่ 5.6%เอง)
แล้วประเทศไทยมันจะฟื้นไหมว่ะ ต้องลุ้นอยู่สองเรื่อง 1) จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2022 จะถึง 6 ล้านคน ตามคาดการณ์ของธปท.หรือไม่ และในปี2023 นักท่องเที่ยวจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 19ล้านคนได้หรือเปล่า(เทียบกับจุดสูงสุดเมื่อปี 2019 ที่ 39.8 ล้านคน) 2) ภาวะเงินเฟ้อจะมีการลดความร้อนแรงลงหรือไม่ เราจะเห็นว่าดัชนีราคาของตะกร้าสินค้า ทั้งในส่วนที่เป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสดต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับ 7.7-8.0% เมื่อเทียบกับราคาปีที่แล้ว
จากตัวเลข Statistic Household debt by the bank of Thailand แสดงให้เห็นว่าหนี้ภาคครัวเรือนไทยปัจจุบันสูงถึง 14.6 ล้านล้านบาท ขณะที่ GDPประเทศไทยอยู่ที่ 16.4 ล้านล้านบาท (คิดเป็น 89.2% ของ GDP ประเทศไทย) ข้อมูลจากฝั่งของ เครดิตบูโรเปิดเผยว่า NPL ไตรมาสที่2 ปี 2022 ในฝั่งของเครดิตบูโรคิดเป็น 8.5% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด (ตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตัวเลขจากฝั่งธนาคาร เนื่องจากใช้วิธีการกำหนดผู้ที่จะคิดเป็น NPL ไม่เหมือนกัน โดยเครดิตบูโรคิดจากผู้ที่ค้างชำระเกิน 3 เดือนจะนับเป็น NPL ทันที)
ลูกหนี้ในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากวิฤตโควิทแล้วกลายเป็นหนี้เสียมีตัวเลขที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จาก ม.ค.ปี 65 2.3 ล้านบัญชี มูลค่ารวม 2แสนล้าน กลายเป็น 4.3 ล้านบัญชี มูลค่า 4 แสนล้านภายในมิ.ย. สอดคล้องกับตัวเลขที่ฝั่ง Bank โอนหนี้เสียให้แก่บริษัทติดตามหนี้ จาก ในปี 2020 มียอดโอนมูลค่าราว 40,000 ล้านบาท ปี2021 ยอดโอนมีมูลค่าราว 56,000 ล้านบาท
สุดท้าย 6 เดือนแรกในปี 2022 มียอดโอนราว 40,000 ล้านบาท โดยประเภทของหนี้เสียที่มีการโอนมา ฝั่งที่มีมูลค่าหนี้เสียที่โอนมาสูงขึ้นเรื่อยๆได้แก่ หนี้สินเชื่อบ้าน หนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล เป็นสัญญาณในเชิงลบ เนื่องจากโดยปกติผู้ขอกู้จะส่งดอกเบี้ยต่อไม่ไหว จะตัดใจไม่ส่งดอกเบี้ยบ้านต่อเป็นอันดับหลังๆ
ในส่วนของหนี้เสียฝั่งของ SME มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยอุตสาหกรรมที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มขายส่งขายปลีก กลุ่มการผลิต กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มที่พักโรงแรม ใน NPL ฝั่งที่เป็น SME 3.27 แสนล้านบาท เป็นส่วนของ 5 อุตสาหกรรมแรกถึง 2.77 แสนล้านบาท จากที่กล่าวมาทั้งหมด
ทำให้เห็นว่าภาวะหนี้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีความน่ากังวลใจ เนื่องจากต้องพยายามเพิ่มค่าแรงเพื่อชดเชยภาวะเงินเฟ้อ พร้อมทั้งนำค่าแรงเหล่านั้นมาชำระหนี้สินที่มีอยู่ แต่ในภาวะสัง่คมผู้สูงอายุ การขาดแคลนแรงงานฝีมือ และการลงทุนจากภาคเอกชนที่ต่ำ ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินที่สูงขึ้นเรื่อยๆได้
อ้างอิง : หนี้เสียระเบิดทะลุ 1 ล้านล้าน ของแพง-ค่าแรงถูก...รอด?- Money Chat Thailand / สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติจำกัด เครดิตบูโร
โฆษณา