5 ก.ย. 2022 เวลา 06:00 • สิ่งแวดล้อม
รู้จัก “Alien Species” สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานระบบนิเวศ
ทำความรู้จัก “Alien Species” หรือ “Alien Aquatic Species” ในแหล่งน้ำไทย "สัตว์น้ำต่างถิ่น" จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศได้หลายด้าน ที่ส่วนหนึ่งมาจากการตั้งใจ "ปล่อยปลาเพื่อทำบุญ"
รู้จัก “Alien Species” สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานระบบนิเวศ
ปล่อยปลาแล้วได้บุญ !? ไม่ใช่การตั้งคำถามคัดค้านความเชื่อทางศาสนา แต่การปล่อยปลาลงในแหล่งน้ำต่างๆ มีหลายเรื่องที่ควรเข้าใจมากกว่าแค่การปล่อยปลาให้เป็นอิสระ
เพราะหากหลังจากที่เราปล่อยปลาลงไปในแหล่งน้ำแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือสัตว์เหล่านั้นไม่สามารถอยู่รอดได้อย่างที่เราจินตนาการ หรือปล่อยลงไปแล้วปลาเหล่านั้นกลับเป็น “Alien Aquatic Species” หรือ “Alien Species” ที่รุกรานสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในแหล่งน้ำ และกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำเสียอย่างนั้น
“Alien Species” คืออะไร ?
เอเลียนสปีชีส์ เป็นคำเรียกของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ถูกนำเข้ามาจากถิ่นอื่น ซึ่งอาจจะสามารถดำรงชีวิตอยู่และสืบพันธุ์ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัจจัยแวดล้อมและการปรับตัวของชนิดพันธุ์นั้นๆ
2
ข้อมูลจาก "กรมประมง" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงสัตว์น้ำกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “Alien Aquatic Species” หรือสัตว์น้ำต่างถิ่นในประเทศไทย ที่บางชนิดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสูง
นอกจากนี้สัตว์ต่างถิ่นยังสามารถแบ่งได้ตามบทบาทที่มีต่อระบบ นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ประเภทที่ไม่รุกราน (Non invasive)
สำหรับกลุ่มนี้เป็นพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือระบบนิเวศโดยตรง หรือชัดเจนนัก เพราะใช้ชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อการดำรงชีพของสัตว์ชนิดอื่นหรือสมดุลของระบบนิเวศ มักเป็นชนิดพันธุ์ที่พบน้อยหรือไม่แพร่พันธุ์ในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสภาพของนิเวศที่เปลี่ยนไปอาจมีผลให้ชนิดพันธ์ดังกล่าวเจริญแทนที่ และขัดขวางการฟื้นตัวของสมดุลนิเวศ
1
ในบางครั้งสัตว์น้ำในประเภทนี้ เช่น ปลานิล ปลาไน และปลาจีน รวมถึงปลาเศรษฐกิจต่างๆ ที่ถูกปล่อยลงแหล่งน้ำทั่วไป
2. ประเภทที่รุกราน (Invasive alien species, IAS)
เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้เร็วและมีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี แถมยังมีการดำรงชีวิตที่ขัดขวางหรือกระทบต่อสมดุลนิเวศ ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิดพันธุ์พื้นเมือง หรืออาจเป็นศัตรูต่อผลผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการเกษตรได้ ตัวอย่างเช่น ปลากดเกราะ ปลาดุกอัฟริกัน (ดุกรัสเซีย) และลูกผสม และหอยเชอรี่
โฆษณา