5 ก.ย. 2022 เวลา 12:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"น้ำมัน $150" KTAM Weekly Strategy 5-9 ก.ย. 65
G7 จ่อกำหนดเพดานน้ำมันรัสเซีย มุ่งบั่นทอนพลังทำสงครามของปูติน เริ่มใช้กับน้ำมันดิบ 5 ธ.ค. ปีนี้ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 5 ก.พ. 2023
1
รัสเซียขู่ไม่ขายน้ำมันให้ประเทศที่ใช้เพดานราคา แถมเขย่าขวัญโดย Gazprom ปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ต่อไปไม่มีกำหนด
JPMorgan เคยเตือนราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งแตะ $380/บาร์เรล หากรัสเซียลดผลิตตอบโต้ชาติตะวันตก นักวิเคราะห์ค่ายใหญ่อเมริกันประเมินไว้ตั้งแต่ต้น ก.ค. ว่ารัสเซียฐานะการคลังแข็งแกร่งจนสามารถลดปริมาณผลิตลง 5 ล้านบาร์เรลต่อวันโดยไม่น่าจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของตนเองมากเกินไป JPMorgan ณ เวลานั้นคาดการณ์ Brent มีโอกาสแตะ $190 ถ้ารัสเซียผลิตน้อยลง 3 ล้านบาร์เรล/วัน ส่วนกรณีเลวร้ายสุด (รัสเซียลดผลิต 5 ล้านบาร์เรล/วัน) ราคาอาจพุ่งเลยชั้นบรรยากาศโลก (stratospheric) $380 ต่อบาร์เรล
1
น้ำมัน $150 เราชี้ราคาประมาณซึ่งปัจจัยการผลิตตัวหลักของโลกมีโอกาสไปถึงได้ไม่ยากนักไว้ในบทสัมภาษณ์หลายรายการ
ทำไมต้องซื้อ "Commodity" ?? https://youtu.be/oXvTg8VAvIg?t=120
$147.27 ต่อบาร์เรล จุดสูงสุดตลอดกาลของสัญญา WTI ทำไว้เมื่อ 11 ก.ค. 2008 (กว่า 14 ปีที่แล้ว) ราคาเคยแกว่งตัวแถวร้อยดอลลาร์อยู่ตั้งนานระหว่างปี 2011-2014 ก่อนโดน US shale revolution จุดไฟ price war ดันอุปทานพุ่ง
Oversupply กดราคาลงมา $40-$60 แทบตลอดช่วงเวลากว่าครึ่งทศวรรษก่อนโควิด วิกฤตล็อกดาวน์สร้างประวัติศาสตร์ “น้ำมันติดลบ” ก่อนพบวัคซีน Q4/2020 ฟื้นดีมานด์ตามธีม reopening เปิดฉาก commodities supercycle “อภิมหาวัฏจักรโภคภัณฑ์” ซึ่งดำเนินมาเกือบ 2 ปี โดยมีหลายปัจจัยเข้ามารับไม้ต่ออายุขาขึ้น อาทิ อุปทานชะงัก สงครามยูเครน เงินเฟ้อ ฯลฯ
น้ำมันหมดรอบ? นักลงทุนจำนวนไม่น้อยคงคิดว่า เฟดขึ้นดอกเบี้ย/ลดขนาดงบดุล เศรษฐกิจโลกชะลอ/ถดถอย น่าจะเข้ามายุติวัฏจักรขาขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ...แต่เราไม่เชื่อเช่นนั้น
ราคาน้ำมันดิบ “ต่ำเกินไป” (2 ก.ย.) WTI $87.25, Brent $93.28 ห่างไกลจาก all-time high ต่ำกว่า 10 ปีก่อน แถมไล่ไม่ทัน CPI สหรัฐในช่วงทศวรรษล่าสุด! ดังนั้น หากราคาน้ำมันดิบจะขึ้นไปใกล้จุดสูงสุดเดิมก็เป็นเพียง catch up กลับเข้าสู่แนวโน้มระยะยาวเท่านั้นเอง
Goldman Sachs ย้ำซื้อโภคภัณฑ์ (29 ส.ค.) โอกาสเกิดภาวะถดถอยนอกยุโรปใน 12 เดือนข้างหน้ายังต่ำ มองภาคผลิตอ่อนแรงแต่ภาคบริการยังแกร่งส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐแค่ชะลอ (deceleration) แต่ไม่ถึงกับหดตัว (contraction) และอยู่ใน late-cycle ต่อไปพักใหญ่
แม้ตลาดหุ้นเผชิญแรงเสียดทานจากเงินเฟ้อสูงและเฟดดำเนินนโยบายเข้มงวด ทว่าปัจจัยมหภาคปัจจุบันสนับสนุนการลงทุน “โภคภัณฑ์” ซึ่งมักเป็นแชมป์ปลายวัฏจักร ดีมานด์ > ซัพพลาย สต็อกโภคภัณฑ์เหลือน้อย นอกจากนี้ “ปัจจัยฤดูกาล” น่าจะช่วยเพิ่ม upside แก่สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่ม energy และ agriculture ในช่วงที่เหลือของปี
ดีลนิวเคลียร์อิหร่าน การเจรจาโค้งสุดท้ายเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้น เพราะถ้าตกลงกันได้จริงแล้วชาติมหาอำนาจทยอยเลิกมาตรการคว่ำบาตรเป็นเฟสๆก็จะเปิดทางให้อิหร่านส่งออกเพิ่มขึ้นโดยขายน้ำมันจากเรือที่ลอยรอในทะเลและเร่งผลิตตามความสามารถ
ซึ่งตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตาม อิหร่านเรียกร้องให้สหรัฐการันตีว่าจะไม่ถอนตัวจากข้อตกลงอีก แต่ไบเดนคงยืนยันไม่ได้ เงินลงทุนใหม่จำนวนมหาศาลจากต่างชาติซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มปริมาณผลิตก็คงยังไม่หลั่งไหลเข้าสู่อิหร่านจนกว่าจะรู้ผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปลายปี 2024 นอกจากนี้ ซาอุฯขู่ว่าอาจหั่นปริมาณผลิตหากซัพพลายจากอิหร่านเข้ามาจริง สรุปว่าดีลนิวเคลียร์ยังไม่ชัวร์แต่ถึงตกลงกันได้ตลาดน้ำมันก็คงไม่พลิกกลับไป oversupply และยังตึงตัวอยู่ดี
จีนล็อกดาวน์ กี่วันกี่สัปดาห์คงกดดันดีมานด์แค่ระยะสั้นเพราะสุดท้ายก็ปลดล็อก เศรษฐกิจจีนถูกสั่งให้ฟื้น ถ้ายังฟุบก็แปลว่าต้องอัดมาตรการกระตุ้นเพิ่มอีก เป็นปัจจัยหนุนราคาโภคภัณฑ์
Underinvestment “การลงทุนไม่เพียงพอ” เพื่อจัดหาพลังงานดั้งเดิม เป็นปัญหาเรื้อรังจน ดีมานด์-ซัพพลาย เสียสมดุล เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานเก่ายังคงเพิ่มขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน (อันยาวนาน) สู่พลังงานใหม่ เปิดโอกาสลงทุนน้ำมันและหุ้นกลุ่มพลังงาน (ดั้งเดิม)
KT-OIL ลงทุนในหน่วยของ Invesco DB Oil Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI ณ 2 ก.ย. 2022 ถือสัญญารุ่น JAN 2023 (CLF3 หมดอายุ 20 ธ.ค. 2022)
KT-ENERGY กองทุนหลัก BGF World Energy Fund ลงทุนหุ้นพลังงานทั่วโลก ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราคาน้ำมัน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ลงทุนผ่านกองทุนรวม ด้วย KTAM Smart Trade
ง่าย สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว คลิก
โหลดเลยที่ IOS และ Android
โฆษณา