5 ก.ย. 2022 เวลา 12:59 • ประวัติศาสตร์
ยกย่องให้เป็นหนึ่งในสามมหาปราชญ์ร่วมกับพระโพธิธรรมตั๊กม้อ และพระจื้อกง (จี้กง - พระอรหันต์นิกายเซนฝ่ายใต้ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้)
ค.ศ. 546 พระเจ้าเหลียงอู่ตี้ ทรงให้การต้อนรับในพระราชวังแก่ ปรมัตถะ พระภิกษุนิกายโยคาจาร ผู้มี ชื่อเสียงจากอินเดีย ที่เดินทางเข้ามาที่เมืองกวางตุ้ง พระปรมัตถะได้แปลพระสูตรที่ทำให้ชาวจีนได้รู้ถึงคำสอนแบบจิตนิยม ของพระอสังคะและวสุพันธุ (นิกายโยคาจาร) อันเป็นการปูทางไปสู่สำนักจิตนิยมในสมัยราชวงศ์ถัง
ค.ศ.549 โหวจิ่งก่อกบฏเข้ายึดอำนาจราชวงศ์เหลียง จับพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ขังคุกและปล่อยให้อดตาย
ค.ศ.551 โหวจิ่งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ทำการสังหารราชนิกูลตระกูลเซียงเหลียง และส่งกองกำลังบุกแคว้นเจียงหนาน เผาทำลายทุกที่ที่ไปถึง เขตชานอู๋ที่เคยอุดมสมบูรณ์และมีประชากรมากกลับ กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ผู้คนตายเกลื่อน
ค.ศ.552 เฉินเป้าเซียน และหวังเชิงเปี้ยน นายพลแห่งราชวงศ์เหลียงและอีกหลายคนนำทัพบุกประชิด เมืองเจี้ยนคัง โหวจิ่งพ่ายแพ้ การกบฏครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจ
ราชวงศ์เฉิน (ค.ศ.557-589) ขึ้นแทนที่ราชวงศ์เหลียง จักรพรรดิทำการก่อสร้างปราสาทราชวังมากมาย ขูดรีดประชาชน ทำให้นับวันยิ่งยากจนและอ่อนแอ ขณะที่ราชวงศ์สุยทางตอนเหนือนับวันยิ่งแข็งแกร่ง
สมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ.581-618) และราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907)
พระเจ้าสุยเหวินตี้ (ค.ศ. 581-604) ทรงกำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำแผ่นดินจีนอย่างเป็น ทางการครั้งแรก ราชวงศ์สุยยังคงสืบทอดพุทธศาสนาของราชวงศ์เหนือ และมีการก่อสร้างวัดวาอาราม และพระพุทธรูปตามที่ต่างๆ มากมายยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ วัดกั๋วชิง บนเขาเทียนไถ ก็สร้างขึ้นในสมัยนี้คือใน ค.ศ.598
พระเจ้าสุยหยาง (ค.ศ.604-618) ทรงดำเนินการเกณฑ์แรงงานขนานใหญ่เพื่อขุดคลอง ก่อสร้างเมืองตงตู สร้างกำแพงเมืองจีน และให้มีการรับสมัครทหารและเก็บภาษีอย่างไม่หยุดหย่อน นอกจากนี้ยังก่อสงคราม ปราบปรามดินแดนทางตะวันออก ซึ่งทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตทหารไปอย่างเปล่าประโยชน์ แต่พระองค์กลับยิ่งใช้ชีวิตหรูหรา และมั่วสุรานารีมากขึ้นทุกวัน แม้จะขุดคลองสำเร็จแต่ราชวงศ์สุยก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ เพราะเกิดกบฏ ผลประโยชน์จากคลองนี้ตกเป็นของราชวงศ์ถังที่ครองอำนาจต่อมา
สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 -907) มีการขยายตัวของการผลิตและการค้ากับต่างประเทศ มีพ่อค้าเดินทางเข้าออกไม่ขาดสาย มีนักท่องเที่ยว พระและทูต ซึ่งล้วนนำของใหม่ๆ เข้ามาสู่แผ่นดินจีน
ในยุคสมัยต้นราชวงศ์ถังพุทธศาสนาในจีนเจริญรุ่งเรืองมาก ทำให้มีพระสงฆ์จำนวนมากจากเกาหลีและญี่ปุ่นเดินทางมาเรียนพุทธศาสนาในจีน
ค.ศ.624 ถังเกาจูโปรดให้มีปุจฉาวิสัชนาเรื่องศาสนาเป็นการใหญ่ ฝู่อี้ (ค.ศ.559-639) เขียนบันทึกความ ทรงจำโจมตีพุทธศาสนาอย่างรุนแรงทั้งด้านชาตินิยม เศรษฐกิจ และแนวความคิด เช่นว่า “พระทำให้ประชาชนเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นองค์เดียวที่ตัดสินได้ในเรื่องความเป็นความตาย ในเรื่องลาภเคราะห์ ใน เรื่องความรวยความจน
พระเจ้าถังเกาจู
ดังประหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้มิได้ขึ้นกับธรรมชาติ มิได้ขึ้นกับพระราชามหากษัตริย์ หรือขึ้นแก่ความขยันหมั่นเพียรของแต่ละคน พระพวกนี้ถือว่าตนมีสิทธิที่จะสอนประชาชน แย่งเอาสิทธิซึ่งควรเป็นของพระจักรพรรดิไปเสีย...” ทางฝ่ายพุทธศาสนาแต่งหนังสือแก้เป็นพิเศษยาว 10 บท รวมเข้าอยู่
(ยังมีต่อ)
015
โฆษณา