5 ก.ย. 2022 เวลา 18:53 • สุขภาพ
#การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์ หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่คุณสามารถ “ทำเอง” ได้ที่บ้าน มาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับ
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นวิธีการหนึ่งในการที่เราจะสามารถตรวจหาความผิดปกติของเต้านมและหน้าอกของเราได้ โดยเป้าหมายเพื่อให้สามารถเจอมะเร็งเต้านมได้ในระยะเริ่มต้น เพื่อเพิ่มอัตราการรักษาหายของโรคมะเร็งเต้านม และลดอัตราการสูญเสียอวัยวะจากการรักษามะเร็งเต้านม
โดยเครือข่ายสถาบันวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (NCCN : NATIONAL COMPREHENSIVE CANCER NETWORK) ได้แบ่งผู้หญิงออกเป็น2กลุ่ม ตามแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม คือ
1.กลุ่มความเสี่ยงระดับทั่วไป
2.กลุ่มความเสี่ยงระดับสูง
สำหรับกลุ่มผู้หญิงที่มีความเสี่ยงในระดับ “ทั่วไป” NCCNได้แนะนำว่า
-เมื่ออายุ 25 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยแพทย์ ทุกๆ 1-3 ปี และหมั่นตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ
-เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยแพทย์ และตรวจแมมโมแกรม ทุกๆ 1 ปี และหมั่นตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ
และกลุ่มผู้หญิงที่ระดับความเสี่ยง “สูง” ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงดังนี้ คือ
-เคยได้รังรับสีรักษาที่บริเวณทรวงอกช่วงอายุ 10-30 ปี
-มีประวัติคนเป็นมะเร็งในครอบครัว
-เคยผ่าตัดก้อนเต้านมชนิด ADH/ALH , LCIS
-เป็นโรคที่มีการส่งต่อมะเร็งเต้านมทางพันธุกรรม
ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่มีระดับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในระดับสูงนี้ คุณจะต้อง
-ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยแพทย์ตั้งแต่อายุ 25 ปี
-ถ้าเคยได้รับรังสีรักษาที่ทรวงอก ช่วงอายุ 10-30 ปี จะต้องเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมตอนอายุ 30 ปี
- ทำ MRI เต้านมตอนอายุ 25 ปี
-ถ้าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมก่อนอายุที่ญาติเป็นมะเร็งเต้ามนมเป็นเวลา 10 ปี เช่น แม่เป็นมะเร็งเต้านมอายุ 45 ปี ผู้ป่วยต้องเข้าตรวจตั้งแต่อายุ 35 ปี
การตรวจเต้านมตนเองที่บ้าน
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สามารถทำได้ดังนี้
-การคลำในแนวก้นหอย โดยเริ่มจากคลำส่วนบนของเต้านมตามแนวก้นหอยไปจนถึงฐานนมบริเวณรอบรักแร้
-การคลำในแนวรูปลิ่ม เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านม จนถึงฐานแล้วกลับขึ้นสู่ยอดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนทั่วทั้งเต้านม
-การคลำในแนวขึ้นลงจากใต้เต้านม เริ่มคลำจากใต้เต้านมจนถึงกระดูกไหปลาร้า แล้วขยับนิ้วทั้งสามนิ้ว คลำในแนวขึ้นและลงสลับกันไปเรื่อยๆ จนทั่วทั้งเต้านม
โดยช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ
***หลังจากหมดประจำเดือน ประมาณ 2-3 วัน***
เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่ม ซึ่งจะทำให้ตรวจได้ง่าย
และสำหรับผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง
โดยจากการศึกษาพบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ช่วงเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดจากโรคมะเร็งเต้านมถึง 93%
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่เต้านมหรือทรวงอก
รีบเข้าพบศัลยแพทย์ใกล้บ้านคุณนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
Reference
Allgood PC, Warwick J, Warren RM, Day NE, Duffy SW (2008). A case-control study of the impact of the East Anglian breast screening programme on breast cancer mortality. Br J Cancer, 98(1):206–9. doi:10.1038/ sj.bjc.6604123 PMID:18059396
Andersson I, Aspegren K, Janzon L, Landberg T, Lindholm K, Linell F et al. (1988). Mammographic screening and mortality from breast cancer: the Malmö mammographic screening trial. BMJ, 297(6654):943–8. doi:10.1136/bmj.297.6654.943 PMID:3142562
Andersson I, Janzon L (1997). Reduced breast cancer mortality in women under age 50: updated results from the Malmö Mammographic Screening Program. J Natl Cancer Inst Monogr, 22(22):63–7. PMID:9709278 Autier P, Héry C, Haukka J, Boniol M, Byrnes G (2009).
Advanced breast cancer and breast cancer mortality in randomized controlled trials on mammography screening. J Clin Oncol, 27(35):5919–23. doi:10.1200/ JCO.2009.22.7041 PMID:19884547

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา