6 ก.ย. 2022 เวลา 03:03 • ปรัชญา
"ชาวยิวผู้ทิ้งร่างในสยาม"
อีมานูเอล เชอร์แมน เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายเซน
เป็นชาวอเมริกันยิวซึ่งเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขาได้เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา และได้บวชเปนพระภิกษุในนิกายเซน สุดท้ายได้เดินทางมาถึงเมืองไทย ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจนถึงเขาข้าว
แห้ง ณ ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านพำนักและปฏิบัติธรรมอยู่ภายในถ้ำบนภูเขาแห่งนั้น
.....ท่านมรณภาพลงอย่างสงบเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ณ ที่แห่งนั้นเอง
ก่อนมรณภาพ ท่านป่วยเป็นไข้หนัก แต่ทว่ามิได้แสดงทุกขเวทนาให้เห็นแต่อย่างใด ท่านปฏิเสธการรักษาจากหมอ ก่อนจะละสังขารไม่กี่วัน ท่านลงเขาไป
บิณฑบาต ทว่าวันนั้นตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเกาะพงัน ประชาชนทุกบ้านต่างพากันออกไปรอรับเสด็จฯจนหมด ท่านเดินผ่านบ้านใดล้วนแต่ปิดประตูไร้ผู้คน นับแต่หลังแรกถึงหลังสุดท้ายฯ
ท่านอุ้มบาตรค่อย ๆ เดินกลับ แลในระหว่างทางนั้น ก็เหลือบเห็นสายน้ำเล็ก ๆ ไหลจากยอดมะพร้าวตกลงสู่ดิน ท่านพิจารณาว่าเกิดจากกระรอกเจาะลูกมะพร้าว
นั้น จึงเดินเข้าไปใต้ต้นมะพร้าว เปิดฝาบาตรออก รับบิณฑบาตน้ำมะพร้าวกระรอกเจาะนั้นเอง จนกระทั่งน้ำหยุดไหล จึงปิดบาตรเดินขึ้นเขาไปฯ
.....และในวันนั้นเอง ท่านได้ลงมือสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์ไม้แกะขึ้นเปนรูป "บิณฑบาตรน้ำมะพร้าวกระรอกเจาะ" ซึ่งเปนงานศิลปะชิ้นสุดท้ายของท่าน
จากนั้นมาไม่กี่วันท่านก็มรณภาพลงอย่างสงบ ภายในหลืบหินที่ถ้ำเขาข้าวแห้งนั้นเองฯ
ทว่าเปนที่น่าเสียดายว่าภาพปริศนาธรรมภาพสุดท้ายดังกล่าวนั้นได้หายสาปสูญไปหลังจากท่านมรณภาพ เหลืออยู่แต่ภาพก่อนหน้าจำนวน ๑๕ ภาพ คุณหมอที่ดูแลรักษาท่านอยู่ได้มาค้นพบเมื่อภายหลัง แล้วนำภาพเหล่านั้นไปถวายท่านพุทธทาสภิกขุที่สวนโมกขพลาราม เมื่อท่านพุทธทาสพิจารณาแล้ว เห็นว่าเปนภาพปริศนาธรรมที่ลึกซึ้งทรงคุณค่า ได้ให้ช่างคัดลอกภาพเหล่านั้นวาดลงบนผนังโรง
มหรสพทางวิญญาณ ที่สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสได้ตีความและอธิบายความหมายของภาพทั้ง ๑๕ ภาพ เผยแพร่ออกไปจนเปนที่รู้จักทั่วกันฯ
ท่านเชอร์แมนกล่าวปริศนาธรรมเรื่องทางสายกลางไว้ว่า
"ทางสายกลางของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับท่อนไม้ซึ่งมีรูปร่างต่างกัน เช่นไม้ท่อนยาวขนาดสม่ำเสมอกันตลอด จุดกึ่งกลางที่จะรักษาให้ปลาย
ทั้งสองไม่เอียงไปข้างใด จะอยู่ตรงกึ่งกลางของท่อนไม้นั้นพอดี แต่สำหรับท่อนไม้ที่มีหัวโตข้างหนึ่ง ปลายเล็กเรียวข้างหนึ่ง จุดกึ่งกลางที่รักษาให้ท่อนไม้ท่อนนั้นมิเอียงไปข้างใด ก็จะอยู่เลยไปทางปลายหัวโต คนเราก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีทางสายกลางแตกต่างกันเช่นเดียวกับท่อนไม้ และในทางสายกลางนี่แหละที่รวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ นิพพานก็อยู่ตรงทางสายกลางนี่เอง"
ป.ล. ภาพ : ภิกขุอีมานูเอล เชอร์แมน ถ่ายร่วมกับพระอาจารย์ประเดิม โกมโล ซึ่งเปนพระสหธรรมมิก และได้เปนผู้จัดการฝังศพให้ท่านเชอร์แมนเองในวาระสุดท้ายฯ หมายเหตุ นายกฤษณ์ พุทธกูล : เจ้าของภาพ
โฆษณา