6 ก.ย. 2022 เวลา 05:06 • ข่าวรอบโลก
สหภาพยุโรปและประเทศไทยผนึกกำลังทางเศรษฐกิจในทศวรรษแห่งความปั่นป่วน หลังข้อตกลงทางเศรษฐกิจถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งหลังถูกแช่แข็งมานานตั้งแต่การรัฐประหารยึดอำนาจในปี 2014
ในที่สุด สหภาพยุโรปกับประเทศไทยก็สามารถหาข้อสรุปได้ในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (PCA) ซึ่งเป็นข้อตกลงลำดับที่ 6 ระหว่าง EU กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากถูกแช่แข็งมานานเพราะการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลประชาธิปไตยในปี 2014
ในเวลานี้ PCA ยังคงรอการลงนามอย่างเป็นทางการ ถือเป็นการปรับปรุงความสัมพันธ์ทวีภาคีในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนไปจนถึงการต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศไทย
คณะมนตรียุโรปไฟเขียวให้นำเรื่องดังกล่าวกลับขึ้นมาเจรจาใหม่อีกครั้งในปลายปี 2019 หลังการเลือกตั้งในประเทศเมื่อต้นปีนั้น แต่การเจรจาอย่างจริงจังเพิ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2021 และทั้งสองได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งที่ 7 เดือนมิถุนายน 2022
"PCA จะปรับปรุงการเจรจาทางการเมืองในประเด็นที่น่ากังวลทั่วโลกและจะขยายขอบเขตสำหรับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ในด้านนโยบายเป็นจำนวนมาก มันจะส่งผลในเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่าง EU กับไทยในปีต่อๆ ไป" ข้อความส่วนหนึ่งในแถลงการณ์
1
PCA เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการเจรจาในด้านเศรษฐกิจและการค้า การค้าทวิภาคีระหว่าง EU กับไทยเพิ่มขึ้นเป็น 35,160 ล้านดอลลาร์หสรัฐฯ ในปี 2021 ซึ่ง EU เองเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับสองในไทยรองจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ PCA ยังเสริมสร้างบทบาททางเศรษฐกิจของ EU ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์อีกด้วย ทั้งภาคธุรกิจและนักลงทุนจะได้รับการสนับสนุนจากการลงนามในข้อตกลงนี้
ประเทศไทยมีความพยายามกระจายความเสี่ยงทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจไปหาพันธมิตรหลายด้าน โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมิรกาและจีน ซึ่งต่างก็เป็นคู่แข่งคนสำคัญ ดังนั้น PCA และ EU จะเป็นเครื่องมือช่วยรองรับการกระจายความเสี่ยงอีกหนึ่งช่องทางให้กับกรุงเทพฯ เนื่องจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์และการระบาดของโคโรน่าไวรัส บีบให้ประเทศไทยต้องดิ้นรนหาทางเลือกใหม่
ข้อสรุปของ PCA อาจบ่งชี้ว่าทั้งสองฝ่ายกำลังขยับเข้าใกล้ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) มากขึ้นไปอีกชั้น อย่างไรก็ตามเอคอัครราชฑูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเน้นย้ำว่ายังไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ ระหว่าง PCA กับ FTA เนื่องจากยังมีอุปสรรคอื่นๆ อีกหลายประการให้ต้องเจรจาตกลงกัน
ไบรอัน เซ หัวหน้านักวิเคราะห์ Economist Intelligence ปรพจำประเทศไทยคาดว่า FTA จะลงนามได้จริงในระหว่างปี 2024 - 2026 เว้นเสียแต่ว่าจะมีเรื่อง "การเมืองภายใน" มาขัดขวาง
"สหภาพยุโรปและไทยไม่ได้มีความใกล้ชิดกันทางเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ จีน หรือสมาชิกอาเซียน ดังนั้นข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นกลวิธีในการสร้างความหลากหลายให้กับทั้งสองฝ่าย สะท้อนให้เห้นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในแง่ของการค้าโลก" ไบรอันกล่าวเสริม
โฆษณา