Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โรงพยาบาลเอกชัย
•
ติดตาม
6 ก.ย. 2022 เวลา 11:00 • สุขภาพ
วิธีการรักษานิ้วล็อค (Trigger Finger)
นิ้วล็อคในภาษาอังกฤษเรียกว่า Trigger Finger อาการเริ่มแรกจะมีอาการปวดโคนนิ้วมือ เวลากดจะรู้สึกเจ็บ ระยะต่อมาจะรู้สึกว่านิ้วมีการสะดุด (Triggering) เวลา งอ หรือ เหยียด
ถ้ามีอาการมากขึ้นจะมีอาการนิ้วล็อคไม่สามารถเหยียดมือเองได้ ต้องใช้มืออีกข้างมาดึงเหยียดออก เวลางอ หรือ เหยียดจะมีเสียงเหมือนการง้างไกรปืน แพทย์ศัลยกรรมกระดูกส่วนใหญ่จะบอกผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อคว่า เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ, การอักเสบของพังผืด หรือเส้นเอ็นอักเสบ คำเหล่านี้มักไม่ค่อยจะสื่อความหมายให้กับผู้ป่วยชัดเจนนัก
2
ดังนั้นแพทย์จึงมักจะใช้คำว่า “นิ้วล็อค” ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Locked Finger ทำให้คนไทย เข้าใจและรู้จักโรคนิ้วล็อคได้ดีมากขึ้น
วิธีการรักษาโรคนิ้วล็อค แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
★
วิธีที่ 1 การรักษาโดยการฉีดยา
การรักษานิ้วล็อค ในผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่ระดับที่ 1 – 3 จะแนะนำให้ฉีดยา สเตียรอยด์เฉพาะที่ จะได้ผลดี และหายกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ในรายงานบางแห่งได้ผลดีและหายถึงกว่าร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 30 – 40 อาการล็อคจะกลับมาเป็นอีกได้
ในกลุ่มที่กลับมาเป็นใหม่นี้ จะให้มีการฉีดยาสเตียรอยด์ซ้ำได้ 2 – 3 ครั้ง โอกาสที่จะดีขึ้น และหายจะมีบ้างแต่น้อยมาก แพทย์ศัลยกรรมกระดูกจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดรักษาจะดีกว่า เพราะการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ซ้ำ ๆ หลายครั้งจะไม่ทำให้อาการดีขึ้น
★
การรักษาโดยการผ่าตัดในห้องผ่าตัด
1
ในกรณีที่นิ้วล็อคได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่มีอาการดีขึ้นชั่วระยะหนึ่ง แล้วยังคงมีอาการ ล็อคอยู่ การทำผ่าตัดโดยวิธีนี้จะทำในห้องผ่าตัดใหญ่ ต้องฉีดยาชา มีแผลผ่าตัดและมีไหมเย็บด้วย
★
การรักษาแบบปิดโดยการเจาะ ( Percutaneous Trigger Finger release)
เป็นการสะกิดปลอกหุ้มเอ็น ออกผ่านผิวหนัง ซึ่งไม่มีแผล ซึ่งอาจมีอันตรายต่อเส้นประสาทและเอ็นที่อยู่บริเวณข้างเคียง อาจทำให้มีอาการปวดขณะขยับนิ้วมือ ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ที่ลดผลข้างเคียง และให้ผลดี
โดยใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า A-Knife (Percutaneous Trigger Finger release with A-knife) เป็นนวัตกรรมการรักษาอาการนิ้วล็อคได้ในเวลาประมาณ 1 นาที แผลกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร โดยไม่ต้องทำที่ห้องผ่าตัด ลดผลข้างเคียงต่อเส้นเอ็น และเส้นประสาท เจ็บน้อย ไม่ต้องเย็บแผล มือที่ผ่าตัดสามารถใช้งานได้ทันที สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเร็วขึ้น
1
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค
1. ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
1
2. ควรใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
1
3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
1
4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบา ๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง
โรงพยาบาลเอกชัย "สัมผัสจากใจ ห่วงใย ดูแลคุณ"
Website :
https://www.ekachaihospital.com/
Facebook :
https://www.facebook.com/ekachaihospital/
12 บันทึก
8
1
19
12
8
1
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย