6 ก.ย. 2022 เวลา 14:08 • ความคิดเห็น
1) “ภาพในมุมกว้าง”
เมื่อเหลียวมองไปที่ประเทศญี่ปุ่น จะเห็นการลดลงของจำนวนทารกแรกเกิด และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่มีอายุ 65ปีขึ้นไปซึ่งมีจำนวนมากกว่า 25% ของจำนวนประชากรทั้งหมดไปแล้ว
ซึ่งมีผลให้การกระจายตัวของประชากรตามวัยเป็นรูปพีระมิดกลับหัว (inverted pyramid)
ด้วยเหตุนี้เราสามารถมองเห็นแนวโน้มของปัญหาระดับชาติได้คือ เมื่อมีคนหนุ่มสาววัยทำงานน้อยลง รัฐก็จัดเก็บภาษีได้น้อยลง แต่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
2) “จากประสบการณ์ตรงของผม”
ผมเองดูแล “พระในบ้าน” ซึ่งอยู่ในวัยผู้สูงอายุ ผมจึงเข้าใจความยากลำบากในการใช้ชีวิตในวัยนี้
1
2.1) “อาหาร”
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะแทบไม่มีฟันสำหรับการบดเคี้ยว และการใช้ “ฟันปลอม” อาจไม่เป็นที่ชื่นชอบของผู้สูงอายุบางท่าน
ผมจึงฝึก “แล่ปลา” เพื่อนำมาทำ “ข้าวต้มปลา” ถวายพระในบ้านของผม
1
ผมเริ่มจากการศึกษาเทคนิคการแล่ปลาจากเชฟชาวตะวันตกและเชฟชาวญี่ปุ่นบน Youtube จนผมสามารถแล่ปลาตัวโตๆขนาด 5 กิโลกรัมขึ้นไปได้อย่างชำนาญ และมียอดการแล่เนื้อปลารวมๆมากกว่า 100 กิโลกรัมในช่วงระยะเวลาสองปี
ในช่วง Covid-19 pandemic ตลาดที่ผมมักไปซื้อปลาทะเลมาแล่ถูกปิดอย่างน้อยสองครั้ง ผมจึงหาช่องทางการซื้อปลาใหม่ๆโดยการซื้อปลา Salmon แช่แข็งที่แล่มาแล้ว มาใช้ทำข้าวต้มปลาแทนปลากะพงและปลาเก๋าที่
เคยแล่เอง
แน่นอนว่าปลา Salmon เป็นปลานำเข้าจากต่างประเทศ ราคาจะสูงกว่า แต่ผมก็พยบอกกับตัวเองว่า “อาหารคือยา” ดังนั้นผมจึงลงทุนกับอาหารน่าจะคุ้มค่ามากกว่าการกินยาหรือ
อาหารเสริม
เท่าที่ผมลองค้นดู เนื้อปลา Salmon มีทั้ง Omega-3 ที่ดีต่อสมอง และ วิตามิน D ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้าง Calcium ให้กระดูก ผมเลยคิดว่านี่น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
และถ้าท่านใดสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกซื้อปลา Salmon ผมขอแนะนำคลิปจากทาง Thai PBS คลิปนี้ครับ
2.2) นอกจากนั้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
จากการที่ผมลองค้นข้อมูลดู ผมพบว่า
“แก้วมังกร”
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และช่วยลดริ้วรอยต่างได้ ๆ
“สับปะรด” ช่วยย่อย
ในขณะที่ “มะละกอ” ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
2.3) และผู้สูงอายุเองจะมีปัญหาในการกลืนอาหาร
ผมจึงค้นพบว่า มันมีเทคนิคฝึกการกลืนให้ดีขึ้นได้ คล้ายการทำกายภาพบำบัดในการกลืน
3) “ทางกายภาพ”
3.1) ผู้สูงอายุมักมีปัญหา “ปวดเข่า”
ผมจึงค้นหาวิธีการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อช่วยพยุงร่างกายไม่ให้หัวเข่าต้องรับนำ้หนักตัวมากเกินไป
3.2) “ไม้เท้า”
ส่วนไม้เท้านั้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักใช้ไม้เท้าที่มีขายกันตามสถานพยาบาลที่มีด้ามงอตรงปลายไม้เท้า
ผมเองอยากลองอะไรใหม่ๆ โดยการมอบไม้เท้าแบบ Trekking poles ให้กับพระในบ้านที่มีนำ้หนักเบามากๆ ด้ามตรงตลอด และด้ามยืดและปรับความยาวได้ละเอียดและง่ายดาย สามารถใช้สองอันในเวลาเดียวกันได้
1
4) “ทางจิตใจ”
ผมแนะนำให้พระในบ้าน ฟังพระเทศน์ที่มีอยู่มากมายบน Youtube
1
5) “สิ่งแวดล้อมในบ้าน”
การ “ล้ม” ในผู้สูงอายุเป็นเรื่องใหญ่มากครับ และลูกหลานต้องดูแลเรื่องนี้อย่างเต็มที่
ข่าวการล้มของผู้สูงอายุท่านหนึ่งที่ผมเพิ่งรับรู้จากโทรทัศน์ในช่วงหัวค่ำของคืนนี้ ย้ำเตือนถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี
ข้อมูลจากข่าวระบุว่า
“การหกล้มในผู้สูงอายุ”
- 50% ของตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการหกล้มเป็นผู้สูงอายุ
- ทุกปีมีผู้สูงอายุหกล้มมากกว่า 3 ล้านคน
- เสียชีวิตจากเหตุนี้เฉลี่ยวันละ 3 คน
- สาเหตุจากการหกล้ม
66% มาจากการ ลื่น, สะดุด, ก้าวพลาด และ 5.6% คือการตกบันได
”ห้องน้ำ”
นี่น่าจะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้สูงอายุ
นอกจากความเปียกชื้นแล้ว “คราบสบู่” คืออันตรายที่ไม่สามารถมองข้ามได้
โดยส่วนตัวผมจะใช้ “เกียงพลาสติก” ในการขูดพื้นเพื่อขจัดคราบสบู่ในห้องน้ำ
นอกจากนั้น การติดตั้ง “ราวจับกันล้ม” คือสิ่งสำคัญที่ทุกบ้านที่มีผู้สูงอายุต้องทำโดยทันที
นอกจากนั้น เรื่องระบบไฟแสงสว่างและการจัดสภาพแวดล้อมอื่นๆในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุนั้น เป็นเรื่องที่ควรให้เวลาในการออกแบบและปรับปรุง
ผมได้รวบรวมข้อมูลบางส่วนให้ดังนี้ครับ
6) “รถยนต์”
ครับ คุณควรดูแลยานพาหนะในบ้านให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
เพราะหากมีเหตุเร่งด่วนที่ต้องนำผู้สูงอายุไปพบแพทย์ การใช้ยานพาหนะส่วนตัวน่าจะสะดวกรวดเร็วที่สุด
7) “ชุดคนแก่”
วิธีที่ช่วยให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น คือ การลองใส่ชุดที่จำลองความสามารถของร่างกายผู้สูงอายุและใส่แว่นพิเศษที่ช่วยให้เข้าใจว่าการมีสายตาฝ้าฟางนั้นคุณจะรู้สึกอย่างไร
8) “แก่แล้วก็ยังเรียนได้”
9) “อานิสงส์แห่งการดูแลบุพการี”
โฆษณา