6 ก.ย. 2022 เวลา 14:27 • ประวัติศาสตร์
วัดเนินพระ(ร้าง) โบราณสถานพันปี ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
(มีคำบรรยายใต้ภาพเพิ่มเติม)
วัดเนินพระหรือโบราณสถานเนินพระ เป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากรบรรยายว่าน่าจะเป็นโบราณสถานประเภทเจดีย์ที่สร้างในสมัยทวารวดี มีอายุไม่น้อยกว่า 1,000 ปี
โดยแรกเดิมมีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีเศษอิฐกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ หลวงพ่อเงินได้ให้คนมาขุดดินเพื่อนำอิฐไปสร้างโบสถ์ราวปี 2490 เมื่อขุดไปเจอกองอิฐจำนวนมาก และยังได้ขุดพบเสาหินมีลวดลายลักษณะคล้ายเสาพระเจ้าอโศก จำนวน 2 ต้น ทั้งยังพบธรรมจักรและกวางหมอบ รวมถึงยังได้พบพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีอีก 1 องค์ ทางกรมศิลป์จึงขุดแต่งแต่ไม่ได้ปรับปรุงพื้นที่มากนัก
กวางหมอบและพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนธรรมจักรมอบให้วัดดอนยายหอมเก็บรักษาไว้ โดยหลวงพ่อเงินได้สร้างมณฑปเพื่อประดิษฐานธรรมจักรเก็บรักษาไว้อย่างดี ส่วนเสาหินทั้งสองไม่ได้ระบุ
ส่วนตัวเคยไปบ่อยๆ สมัยเด็กเพราะจะมีงานประจำปี มีงิ้ว มีหนังกลางแปลง แต่ไม่สู้สนใจตัวโบราณสถานนี้ รู้แค่ว่าตำนานบอกกันว่าเป็นบ้านของยายหอมที่เลี้ยงพระยาพานมาแต่เด็ก เมื่อพระยาพานทำบาปฆ่าผู้เลี้ยงดูตนมาจึงสร้างเจดีย์ครอบบ้านยายหอมไว้ ก็รู้เรื่องเท่านั้น จะเก่าแก่อย่างไรมีศิลปะอย่างไรไม่ใคร่จะรู้ จนแม้กระทั่งหลังๆ มาวัดบ่อยๆ ก็ขับผ่านเลยไป
พอวันนี่ได้โอกาสแวะกลับเข้าไปดูก่อนไปที่วัด ค่อนข้างรู้สึกว่าเป็นโบราณสถานที่น่าเสียดาย เพราะถูกละเลยทั้งจากภาครัฐและชุมชนพอสมควร ทั้งที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่มาก คือแม้แต่ป้ายอธิบายของกรมศิลป์ก็มีแต่แท่นปูนแต่ป้านไม่มีแล้ว
จากความรู้แบบงูๆ ปลาๆ พอจะบอกได้ว่าน่าจะเป็นโบราณสถานสมับทวารวดี ปัจจุบันเหลือเป็นฐานรองรับและชั้นประทักษิณ 3 ชั้นที่ไม่ค่อยสมบูรณ์มองเหมือนกองอิฐมากกว่าโบราณสถาน และมีการตั้งศาลปูย่าเล็กๆ แบบสมัยใหม่บนยอดบนสุด และมีการดัดแปลงทางเดินกันเอง ฝีมือช่างชาวบ้าน
เท่าที่ดูบอกได้คร่าวๆ เพียงว่าเป็นเจดีย์ที่มีทรงจตุรัส กว้างราว 15-17 เมตร โดยมีชั้นฐานรองเจดีย์เป็นฐานเขียงเตี้ยๆ สูง ราว 1 ฟุต กว้างประมาณ 1 เมตรกว่าๆ น่าจะไม่ได้ใช้ฐานนี้ในการเดินประทักษิน เนื่องจากทั้ง 4 ด้านมีบันไดพาเดินขึ้นไปด้านบนเจดีย์ขวางอยู่ โดยตรงบันไดและมุมของเจดีย์จะยกเกร็ด (ส่วนยื่นออกจากแนวตรงของกำแพงฐาน)
ถัดไปเป็นชั้นฐานเหมือนชั้นหลอก เพราะเป็นชั้นบัวคว่ำและบัวหงายในท้องไม้ คงเป็นชั้นประดับฐานประทักษิณชั้นแรกมากกว่า โดยจุดน่าสังเกตคือบัวคว่ำจะใหญ่กว่าบังหงายและมีการฝนอิฐบัวคว่ำให้มีลักษณะมนเลียบแบบกลีบบัว ต่างจากเจดีย์ทวารวดีช่วงแรกที่บัวคว่ำและบัวหงายเป็นทรงเหลี่ยมปกติ
ชั้นประทักษิณชั้นแรกน่าสนใจว่าแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนมุมเป็นพื้นที่โล่งๆ เหนือบัวคว่ำบัวหงาย กินพื้นที่ตรงบริเวณผังยกเกร็ด ทางกรมศิลป์บูรณะเป็นพื้นที่โล่งๆ อยากสันนิฐานว่าเดิมจะมีเจดีย์ทรงหม้อคว่ำขนาดเล็กๆ แบบสถูปิกะที่นิยมในสมัยทวารวดีตรฃพื้นที่มุมนี้หรือไม่ เพราะนอกจากลักษณะจะคล้ายเจดีย์บุโรพุทโธที่อินโดนีเซีย การยกเกร็ดตรงมุมน่าจะมีความสำคัญพอสมควร
ส่วนด้านแนวตรงยกสูงต่อจากชั้นบัวคว่ำบังหงายราวครึ่งเมตร มีการทำเสาหลอกขั้นระหวางชั้นแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ คล้ายฐานของโบราณสถานเขาคลังนอก เพชรบูรณ์ เป็นไปได้ที่อาจจะสร้างร่วมยุคกันก็เป็นได้
เสียดายที่ชั้นประทักษิณเสียหายไปมาก โดยเฉพาะชั้นที่ 2 และ 3 จึงไม่อาจบอกอะไรได้มากกว่านี้ แต่เชื่อว่าเดิมบนฐานบนสุดน่าจะมีเจดีทรงหม้อคว่ำอยู่ตรงกลางแลฝบบเจดีย์สมัยทวารวดีทั้วไป และชั้นประมักษิณอื่นๆอาจจะประดับเสาหลอกคล้ายกับชั้นแรกหรืออาจจะมีช่องจะรนไซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปที่ขุดพบก็เป็นได้
ทั้งนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 ก่อนการขยายอำนาจของเขมรโบราณ เพราะไม่พบศิลปะแลบเขมรโบราณผสมอยู่เลย
ทั้งหมดนี้บอกเล่าตามแบบความรู้งูๆปลาๆ ผิดพลาดประการใดขออภัยครับ
โฆษณา