7 ก.ย. 2022 เวลา 05:06 • ธุรกิจ
เทเลนอร์ เอเชีย เผยผลการศึกษา 5 เทรนด์สำคัญ ที่ผู้คนใช้เวลากับมือถือพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
#dtac #ดีแทค
• กระแสการใช้งานดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังไม่มีสัญญาณของการชะลอตัว สามในสี่คาดว่าการใช้งานจะเพิ่มขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยเป็นผู้นำเทรนด์นี้
• Gen Z และ Millennials กังวลว่าตนเองใช้เทคโนโลยีมากเกินไป และขาดทักษะในการก้าวให้ทันกับดิจิทัลที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
• เกือบทั้งหมด (93%) มีข้อกังวลหลักเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แต่ประเทศไทยมีความกังวลในระดับต่ำสุดที่ 75%
• 3 ใน 4 มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับศักยภาพของการเชื่อมต่อมือถือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น
• 9 ใน 10 เชื่อว่าการเชื่อมต่อผ่านมือถือช่วยยกระดับการเข้าถึงด้านการเงิน การดูแลสุขภาพ และการศึกษา
จากผลการศึกษา "Digital Lives Decoded" ของเทเลนอร์เอเชีย พบว่าผู้คนทั่วเอเชียเชื่อว่า พลังของการเชื่อมต่อจากมือถือช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น ให้ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นมากขึ้น
ในวาระครบรอบ 25 ปีของเทเลนอร์ในเอเชีย ได้ทำการวิจัย โดยสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือกว่า 8,000 รายในแปดประเทศ (บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม) ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การสำรวจเผยให้เห็นถึงความตระหนักในประโยชน์ของชีวิต ซึ่งการเชื่อมต่อมือถือช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และมอบความสะดวกสบาย และทำให้ผู้คนมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลได้ง่ายขึ้น
ผลสำรวจของประเทศไทย
• คนไทยรู้สึกว่าโทรศัพท์มือถือช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (68%) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 58% สำหรับทุกตลาดที่ทำแบบสำรวจ
• คนไทยมีความกังวลน้อยที่สุดในเรื่องปัญหาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานมือถือ (27%) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 58%
• คนไทยยังแสดงความมั่นใจสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศอื่นๆ ว่าจะสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคต โดยมีเพียง 63% ที่มีความกังวลในด้านนี้ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 85%
• คนไทยเห็นประโยชน์และมีแนวโน้มที่จะใช้งานมือถือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า (49%) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ 37%
• มากกว่าครึ่งของคนเมือง (55%) คาดว่าจะใช้งานมือถือเพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ (55%) เทียบกับค่าเฉลี่ย 41% ของคนที่อาศัยอยู่นอกเมือง
ผู้ตอบแบบสำรวจ 93% เชื่อว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยรวมแล้ว ผู้หญิงเป็นผู้นำเทรนด์นี้ โดย 63% กล่าวว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้ใช้งานเพศชายที่ 52% แนวโน้มนี้ชัดเจนที่สุดในประเทศไทย (75%) และอินโดนีเซีย (71%) ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานเพศหญิงที่เชื่อมต่อกับ "ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ" ผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนสูงที่สุด
“หลายครั้งที่มีการรายงานว่าอุปกรณ์พกพา ทำให้ผู้ใช้เสียสมาธิจากคนรอบข้าง และสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์และทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล อย่างไรก็ตาม ความคิดเช่นนี้ได้หมดไป เมื่อเทียบกับก่อนเกิดการระบาดใหญ่ ยอดการใช้งานดาต้าบนมือถือนั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัวในตลาดเอเชีย และได้เปลี่ยนวิธีการสื่อสารของเราทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน
แบบสำรวจนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าผู้คนต้องการให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการใช้งานดิจิทัลและชีวิตประจำวันของพวกเขาคงอยู่ต่อไป และแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ด้านการเดินทางและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว แต่การใช้งานดิจิทัลนั้นยังคงอยู่ในระดับสูง
ในยามที่การเชื่อมต่อนั้นทำให้อำนาจอยู่ในมือของผู้คน การศึกษานี้ยังเผยให้เห็นว่าช่องว่างทางดิจิทัลยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรในชนบทและผู้สูงอายุ เมื่อการเชื่อมต่อทางมือถือนั้นเปลี่ยนสถานะจากสิ่งที่ “ควร” มี ไปเป็นสิ่งที่ “ต้อง” มี
การทำความเข้าใจช่องว่างเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในระดับผู้กำหนดนโยบาย องค์กรธุรกิจ และปัจเจกบุคคล ข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษานี้ทำหน้าที่เป็นเสมือนแผนที่ที่ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างทางดิจิทัลในจุดใดบ้างที่ควรได้รับการเติมเต็มมากที่สุด” นายเยอเก้น โรสทริป หัวเรือใหญ่แห่งเทเลนอร์เอเชียกล่าว
1. ไถฟีดไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่ง
ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบทั้งหมดพกโทรศัพท์มือถือติดตัวเป็นเวลาอย่างน้อยครึ่งวัน และหนึ่งในห้าพกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเองสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสมดุล (76%)
ผู้คนในฟิลิปปินส์และไทยมีชีวิตที่พึ่งพาอยู่กับโทรศัพท์มือถือมากที่สุด โดย 29% และ 26% ตามลำดับกล่าวว่าพวกเขาพกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา การใช้ชีวิตที่พึ่งพาโทรศัพท์มือถือนี้คาดว่าจะเติบโตขึ้น โดยเกือบสามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถาม (74%) คาดว่าการใช้งานมือถือของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนั้นสูงที่สุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (82%)
2. ชีวิตดิจิทัลที่ล้ำหน้า
ความแตกต่างระหว่างวัยเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้คนต่อการใช้เวลาบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นนั้นชัดเจน โดยคน Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจที่อายุน้อยที่สุด มีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าพวกเขากำลังใช้เทคโนโลยีมากเกินไป ผู้ตอบแบบสำรวจ Gen Z ยังมีความกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการมีทักษะที่เหมาะสมในการก้าวให้ทันเทคโนโลยี
เช่นเดียวกับคนวัยมิลเลนเนียล นี่เป็นข้อกังวลที่เกิดขึ้นร่วมกันในทุกวัย โดย 85% ของผู้ตอบแบบสอบถามกังวลว่าทักษะด้านดิจิทัลของพวกเขาจะก้าวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจ ประเทศไทยนั้นมีความกังวลในเรื่องนี้น้อยที่สุด (63% ของผู้ตอบแบบสอบถาม)
3. (ขาด) ความไว้วางใจในโลกดิจิทัล
ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 93% จากทั่วทั้งภูมิภาคมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยจากการใช้งานมือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่ ท่ามกลางอัตราการใช้งานดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบรรดาผู้ที่ลดการใช้มือถือลงในปีที่ผ่านมา
หนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามชาว Gen Z ในมาเลเซียกล่าวว่าความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้พวกเขาใช้งานมือถือลดลง ในทางกลับกัน คนในประเทศไทยนั้นมีความกังวลน้อยที่สุด โดยเกือบหนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถาม (27%) ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
4. เข้าถึงการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน
การศึกษายังเผยให้เห็นถึงมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีมือถือในการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สามในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการเข้าถึงดิจิทัลนั้น “สำคัญมาก” สำหรับพวกเขาในการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำที่สุด (63%) มาเลเซีย (57%) และสิงคโปร์ (41%)
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการใช้งานเทคโนโลยีมือถือก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการลดการใช้กระดาษ ขยะ และไฟฟ้า (70% ของผู้ตอบแบบสอบถาม) สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (67%) และช่วยให้เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ดีขึ้นด้วยข้อมูลที่มากขึ้น (55%)
5. เทคโนโลยีมือถือกำลังปิดช่องว่างทางดิจิทัล
การศึกษายังชี้ว่า ผู้หญิงเห็นศักยภาพในการใช้มือถือมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงกล่าวว่าการเชื่อมต่อผ่านมือถือได้เพิ่มทางเลือกในการทำงานและสร้างรายได้ และทำให้เข้าถึงข้อมูลและโอกาสทางการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย โดยที่ผู้หญิงสามในสี่ (75%) กล่าวว่าการใช้มือถือทำให้ชีวิตดีขึ้น เมื่อเทียบกับผู้ชายที่ครึ่งหนึ่ง (49%)
ผู้ตอบแบบสอบถามยังตระหนักด้วยว่าการเชื่อมต่อมือถือนั้นเป็นตัวช่วยสร้างความเท่าเทียม ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้มากขึ้น ซึ่งช่วยยกระดับชีวิตประจำวันของพวกเขา เช่น การศึกษา (88%) และบริการด้านสุขภาพ (88%)
อย่างไรก็ตาม บริการทางการเงินเป็นจุดที่โทรศัพท์มือถือนั้นช่วยสร้างความเท่าเทียมอย่างมีนัยสำคัญ โดย 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการมีอุปกรณ์มือถือช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน ในขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่ง (57%) เชื่อว่าการเข้าถึงบริการทางการเงินพวกเขานั้น “ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจในข้อนี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างด้านมุมมองในการเข้าถึงระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง (60%) และพื้นที่ชนบท (50%) ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นอย่างต่อเนื่องในการขยายการเข้าถึงบริการเหล่านี้ไปยังผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตเมือง
“เนื่องจากการเชื่อมต่อผ่านมือถือกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานในชีวิตประจำวันของเรา การขาดทักษะและความตระหนักรู้ที่เหมาะสม รวมถึงปัญหาด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว หรือการอยู่นอกเครือข่ายการใช้งาน อาจจำกัดการเข้าถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ เศรษฐกิจ และโอกาสในการจ้างงานอย่างรุนแรง ความจำเป็นในการทำความเข้าใจช่องว่างทางดิจิทัลและการลดช่องว่างดังกล่าวนั้นมีความสำคัญมากขึ้น ในยามที่เราทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่การเชื่อมต่อผ่านมือถือจะเสริมสร้างศักยภาพและความยั่งยืนสำหรับทุกคน” นายเยอเก้น กล่าว
เกี่ยวกับรายงาน
การศึกษาเรื่อง "Digital Lives Decoded" ของเทเลนอร์เอเชียเป็นซีรีส์สามตอนที่ศึกษาบทบาทของความสัมพันธ์ของอุปกรณ์เคลื่อนที่กับการดำรงชีวิต การทำงาน และความบันเทิงของเรา รายงานฉบับแรกนั้นศึกษาถึงบทบาทและผลกระทบที่โทรศัพท์มือถือมีต่อวิถีชีวิตของผู้คน โดยมุ่งเน้นที่เรื่องคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ การเข้าถึงและความเท่าเทียม และแนวโน้มในอนาคต
การศึกษาซึ่งดำเนินการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้สำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ 8,227 คนที่มีอายุมากกว่า 18 ปี และกระจายไปทั่วแปดตลาดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งบังคลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ผู้ตอบแบบสอบถามถูกแบ่งตามเพศเท่าๆ กัน โดยมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และข้ามรุ่น สี่รุ่น: Gen Z (เกิดปี 2540 – 2555); คนรุ่นมิลเลนเนียล (เกิด พ.ศ. 2524 - 2539); Gen X (เกิด พ.ศ. 2508 – 2523); และเบบี้บูมเมอร์ (เกิด พ.ศ. 2489 – 2507)
เกี่ยวกับเทเลนอร์ เอเชีย
เทเลนอร์ เป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก โดยให้บริการลูกค้า 172 ล้านรายในกลุ่มนอร์ดิกและเอเชีย (Q1 22) ในเอเชีย เราได้เชื่อมโยงผู้คนกับสิ่งที่สำคัญที่สุดมาเป็นเวลา 25 ปีแล้ว เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการใช้งานดิจิทัลระดับประเทศของตลาดเอเชียที่เราดำเนินการอยู่ โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการในการเพิ่มขีดความสามารถของสังคม เทเลนอร์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสโลภายใต้สัญลักษณ์ TEL ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.telenor.com/asia
โฆษณา