7 ก.ย. 2022 เวลา 08:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ
❤ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation)❤
ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ โรคนี้อาจรักษาให้หายได้โดยใช้ยาและการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม รวมทั้งการใส่อุปกรณ์บางชนิดเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ลิ้นหัวใจรั่วอาจแบ่งตามตำแหน่งของลิ้นที่มีการรั่ว ได้แก่
 ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย จนทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนหลังจากสูบฉีดเลือด
 ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดเอออตาร์ ทำให้เลือดที่ไหลไปยังหลอดเลือดเกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หัวใจห้องล่างซ้าย
 ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาบนและล่าง ทำให้เลือดไหลย้อนกลับขึ้นไป และทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอดลดลง
 ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว (Pulmonary Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจพัลโมนารีที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องขวาล่างและปอด เป็นเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องล่างขวา จนปอดได้รับออกซิเจนที่ถูกลำเลียงไปกับเลือดไม่เพียงพอ
💜อาการลิ้นหัวใจรั่ว
โดยส่วนใหญ่แล้วหากรอยรั่วเกิดขึ้นไม่มากนักก็จะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น แต่หากเริ่มรุนแรงขึ้น ก็อาจมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วลิ้นหัวใจรั่วแสดงอาการให้เห็นดังนี้
ลิ้นหัวใจรั่ว
ความหมาย ลิ้นหัวใจรั่ว
 
ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ โรคนี้อาจรักษาให้หายได้โดยใช้ยาและการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม รวมทั้งการใส่อุปกรณ์บางชนิดเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ
 
ลิ้นหัวใจรั่วอาจแบ่งตามตำแหน่งของลิ้นที่มีการรั่ว ได้แก่
 ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย จนทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนหลังจากสูบฉีดเลือด
 ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดเอออตาร์ ทำให้เลือดที่ไหลไปยังหลอดเลือดเกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หัวใจห้องล่างซ้าย
 ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาบนและล่าง ทำให้เลือดไหลย้อนกลับขึ้นไป และทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอดลดลง
 ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว (Pulmonary Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจพัลโมนารีที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องขวาล่างและปอด เป็นเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องล่างขวา จนปอดได้รับออกซิเจนที่ถูกลำเลียงไปกับเลือดไม่เพียงพอ
อาการลิ้นหัวใจรั่ว
โดยส่วนใหญ่แล้วหากรอยรั่วเกิดขึ้นไม่มากนักก็จะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น แต่หากเริ่มรุนแรงขึ้น ก็อาจมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วลิ้นหัวใจรั่วแสดงอาการให้เห็นดังนี้
 เหนื่อยง่าย ในช่วงแรกอาจไม่รุนแรง โดยอาจมีอาการในระหว่างออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากรุนแรงขึ้นจะทำให้เหนื่อยง่ายแม้จะอยู่ในช่วงพัก อาการนี้มีสาเหตุเกิดจากการคั่งของเลือดและของเหลวภายในหลอดเลือดที่อยู่ในปอด
 วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
 ปวดที่บริเวณหน้าอก ลามไปที่แขนข้างซ้าย หรือที่หน้าท้อง ซึ่งเกิดขึ้นจากการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดหัวใจลดลง
 รู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ คล้ายกับอาการใจสั่น
 มีอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า เนื่องมากจากการบวมน้ำ
ทั้งนี้ อาการลิ้นหัวใจรั่วแต่ชนิดก็ยังมีอาการอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน เนื่องจากลิ้นหัวใจแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
 ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว อาการที่อาจเห็นได้ชัดจะเกิดขึ้นเมื่ออาการเริ่มรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการใจสั่น โดยเฉพาะเวลาที่นอนตะแคงซ้ายจะมีอาการใจสั่นมากขึ้น
 ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว อาจมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหงาย มีอาการอ่อนแรง มีอาการบวมที่ข้อเท้า และเท้า หากอาการรุนแรงขึ้นจะทำให้ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้นจนไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และนำมาสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
 ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจส่วนนี้รั่ว จะทำให้สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ และเกิดการบีบตัวของหลอดเลือดดำที่คอ ตับโต รวมทั้งอาการบวมที่ผิดปกติที่บริเวณหน้าท้อง ขา เท้า และข้อเท้า
 ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว ลิ้นหัวใจรั่วชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ เพราะมักตรวจพบจากการตรวจร่างกายในลักษณะมีเสียงหัวใจที่ผิดปกติ หรือตรวจพบอาการรั่วของลิ้นหัวใจส่วนนี้จากการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ
นอกจากนี้ยังอาจพบอาการชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะ ไอ มีปัญหาในการนอนหลับเนื่องจากหายใจไม่สะดวกและปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากอาการรุนแรงมาก ๆ จะทำให้หัวใจห้องล่างทำงานไม่เต็มที่ และเสี่ยงกับภาวะหัวใจวายได้อีกด้วย โดยอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของหัวใจวายได้แก่ รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ หายใจสั้น และของเหลวคั่งอยู่ที่บริเวณเนื้อเยื่อในร่างกายจนทำให้ร่างกายบวม
❤สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว
โรคลิ้นหัวใจรั่วมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากความผิดปกติของหัวใจที่อาจเกิดจากโรคหรือความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
 สาเหตุปฐมภูมิ (Primary Cause) คือสาเหตุของลิ้นหัวใจรั่วที่เกิดจากโครงสร้างของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ ทำให้ลิ้นหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ และปิดไม่สนิทขณะสูบฉีดเลือด นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่ลิ้นหัวใจมากผิดปกติ หรือผู้ที่มีลิ้นหัวใจยาว เป็นต้น
 สาเหตุทุติยภูมิ (Secondary Cause) เป็นสาเหตุของโรคที่เกิดมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งส่งผลให้ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ ลิ้นหัวใจยาว เนื้อเยื่อที่ไขสันหลังเสียหาย โรคไข้รูมาติก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ การใช้ยา และการรักษาด้วยรังสี เป็นต้น
นอกจากนี้ หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดลิ้นหัวใจผิดปกติ อันเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ ซึ่งได้แก่
 ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงลิ้นหัวใจรั่วชนิดลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงอาจทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด และเกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมาได้
 โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Valve Disease) ผู้ที่เกิดมาพร้อมกับความพิการที่หัวใจจะมีความเสี่ยงลิ้นหัวใจรั่วมากกว่าคนอื่น ๆ เนื่องจากความผิดปกติของหัวใจจะส่งผลกระทบถึงการทำงานทั้งหมดของหัวใจอย่างเลี่ยงไม่ได้
 โรคไข้รูมาติก เป็นการติดเชื้อที่ส่งผลต่อหัวใจได้โดยตรง และทำให้ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหาย
 ประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ สำหรับคนในครอบครัวที่มีประวัติว่าเคยป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจ จะมีความเสี่ยงลิ้นหัวใจรั่วมากขึ้น แต่ถ้าควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้ก็จะทำให้ความเสี่ยงลดลง
 โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่ว
 หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ปัจจัยหลักที่ทำให้หัวใจเกิดความเสียหายซึ่งส่งผลกระทบถึงลิ้นหัวใจได้เช่นกัน
 การใช้ยา ยารักษาโรคไมเกรนบางชนิดจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคลิ้นหัวใจรั่วได้
 อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็ยิ่งมากขึ้น เนื่องจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของลิ้นหัวใจ
❤การวินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่ว
ผู้ป่วยสามารถสังเกตได้จากอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อาการหายใจสั้น ปวดหน้าอก รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ และมีอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า หากมีอาการเหล่านี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยหลากหลายวิธี ได้แก่
 การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจด้วยอุปกรณ์คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง โดยอุปกรณ์จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปและจำลองภาพของหัวใจ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจ และระบุได้ว่ามีความรุนแรงมากเพียงใด
 การตรวจทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจโดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ วิธีนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่าหัวใจของผู้ป่วยทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่
 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจโดยบันทึกการทำงานของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ โดยติดเครื่องมือที่ใช้บริเวณหน้าอก จากนั้นผลจะแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีอาการหัวใจโตหรือไม่
 การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Cardiac Magnetic Resonance Imaging) การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ เพื่อฉายให้เห็นภาพรายละเอียดของหัวใจ วิธีนี้จะทำให้เห็นการทำงานและความผิดปกติของหัวใจได้ชัดมากขึ้น
 เอกซเรย์ทรวงอก วิธีการตรวจวินิจฉัยนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจโตหรือไม่ ซึ่งภาวะดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์ทราบถึงความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจจะมีโรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือปัญหาเกี่ยวกับปอด
 การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) โดยการสอดท่อและฉีดสารทึบแสงผ่านทางข้อพับและขาหนีบ จากนั้นจึงถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ
ผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจวินิจฉัยข้างต้นจะช่วยให้แพทย์ระบุความรุนแรงของโรค ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาในขั้นต่อไปได้
💞การรักษาลิ้นหัวใจรั่ว
แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วจากความรุนแรงของโรค โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น และฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ ซึ่งในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้นดังนี้
 ควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับความดันโลหิตที่เป็นปกติจะช่วยให้หัวใจทำงานไม่หนักจนเกินไป และทำให้ลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติไม่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ การเอาใจใส่ในอาหารที่รับประทานมากขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคืออาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็มจัด และอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เป็นต้น
 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยที่ยังสามารถออกกำลังกายได้ ควรออกกำลังกายเป็นประจำเพราะจะช่วยให้หัวใจทำงานได้มากขึ้น แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป
 ควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว การควบคุมน้ำหนัก จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะนำไปสู่โรคอันตรายต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
 ป้องกันภาวะลิ้นหัวใจอักเสบ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงจนต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อลิ้นหัวใจเมื่อต้องเข้ารับการทำทันตกรรม
 ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยเสริมสร้างให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น แต่สำหรับผู้ป่วยโรคล้นหัวใจรั่วก็อาจทำให้อาการยิ่งหนักขึ้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมปริมาณการดื่มให้ลดลงเหลือเพียงตามความเหมาะสม หรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์ไปเลยจะดีที่สุด
 พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แพทย์สามารถควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น เพราะแพทย์จะสามารถติดตามอาการและความผิดปกติต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด
ขณะที่การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่แพทย์มักใช้ในการควบคุมและรักษาอาการของโรคลิ้นหัวใจมีดังนี้
💛การใช้ยา หากอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจให้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยาที่ใช้ในการรักษาส่วนใหญ่ ได้แก่
 ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ใช้เพื่อขับของเหลวส่วนเกินที่สะสมอยู่ในปอดและส่วนอื่น ๆ ในร่างกายออกมา ทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลง ช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการบวมได้
 ยาเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitor) เป็นยาที่ใช้เพื่อปรับสภาพการทำงานของหัวใจ เพื่อชะลอการเกิดอาการหัวใจโต รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตไม่ให้หัวใจทำงานหนักมากเกินไป
 ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation Medication) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation) ร่วมด้วย การใช้ยาชนิดนี้จะช่วยป้องกันลิ่มเลือดที่เกิดจากอาการดังกล่าวได้
นอกจากนี้ผู้ป่วยก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะด้วยเพื่อป้องกันอาการลิ้นหัวใจอักเสบ ซึ่งแพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยก่อนทำทันตกรรม ซึ่งก่อนจะเข้ารับการรักษา เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยจะต้องแจ้งทันตแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
💚การผ่าตัด หากอาการของผู้ป่วยรุนแรง แพทย์จะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ เพราะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
 การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติ ให้กลับมาทำงานได้ เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในบางกรณีเท่านั้น
 การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หากลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมาทำงานตามเดิมได้อีก ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจที่นำมาใช้มีทั้งชนิดที่ผลิตจากไทเทเนียม หรือเป็นลิ้นหัวใจของสัตว์ เช่น หมู บางกรณีก็อาจใช้ลิ้นหัวใจของคนที่ได้รับการบริจาคมา
หลังจากผ่าตัดแล้ว แพทย์จะยังคงติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจนกว่าหัวใจจะกลับมาทำงานเป็นปกติโดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation: TAVI) เป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยการสวนท่อเข้าไปในหลอดเลือดเอออร์ต้าเพื่อใส่ลิ้นหัวใจเทียม วิธีนี้จะใช้กับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการผ่าตัดสูง และมีอาการเกี่ยวกับลิ้นหัวใจที่รุนแรง แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหายเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา
การสวนหัวใจด้วยสายสวน (Cardiac Catheterization) เป็นการรักษาปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โดยการสอดสายสวนเข้าไปที่หลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือและขาหนีบ เพื่อขยายหลอดเลือด และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของลิ้นหัวใจรั่ว
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้า หรือการรักษาไม่ต่อเนื่อง จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่าง ๆ ได้ เช่น
 หัวใจวาย เมื่อลิ้นหัวใจทำงานได้น้อยลง จะส่งผลให้เกิดอาการลิ้นหัวใจเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะน้ำท่วมปอด หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้
 ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) เกิดขึ้นได้ในรายที่มีอาการลิ้นหัวใจรั่วอย่างรุนแรง โดยหัวใจจะเต้นเร็วและผิดปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้อาการดังกล่าวยังอาจส่งผลให้หายใจได้ไม่สะดวก
 ลิ่มเลือดอุดตัน เมื่อผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่วเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจทำให้เลือดจับตัวกลายเป็นลิ่มเลือด และหากลิ่มเลือดเหล่านั้นรั่วไหลเข้าไปภายในกระแสเลือด ก็จะนำมาสู่ภาวะหลอดเลือดอุดตัน ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน
 การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (Endocarditis) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หากลิ้นหัวใจผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีและทันท่วงที ก็อาจนำมาสู่อาการที่รุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 ความดันเลือดแดงในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) หากผู้ป่วยปล่อยปละละเลย ไม่ยอมทำการรักษาเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดความดันในปอด และนำมาสู่ภาวะหัวใจห้องขวาวายได้
💙การป้องกันลิ้นหัวใจรั่ว
เช่นเดียวกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ลิ้นหัวใจรั่วสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือมีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากมีสัญญาณของลิ้นหัวใจรั่ว อีกทั้งยังควรระมัดระวังความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติหรือสร้างความเสียหายที่ลิ้นหัวใจได้ เช่น
 โรคไข้รูมาติก หากเริ่มมีอาการเจ็บคออย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากไม่รักษาอาการคออักเสบนี้ จะทำให้เป็นโรคไข้รูมาติกได้
 ควบคุมความดันโลหิต ระดับความดันโลหิตที่ปกติจะส่งผลดีต่อแรงดันภายในหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วได้
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด และหากเข้ารับการทำทันตกรรมควรแจ้งทันตแพทย์ถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจด้วยก่อนรักษา เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะหลังจากการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ข้อมูลจาก
POBPAD
สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ
โฆษณา