7 ก.ย. 2022 เวลา 10:30 • ประวัติศาสตร์
ที่มาของคำว่า"ประมง"
ฟื้นฟูประมงพื้นบ้านระยอง
ผู้อ่านทุกท่านคงเดาได้ไม่ยากว่าคำนี้ต้องมีรากจากภาษาเขมรเป็นแน่ เพราะจากบทความที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็มีแต่คำที่เป็นภาษาเขมร ซึ่งก็ไม่แปลกเลยที่เรายืมภาษาเขมรจำนวนมากมาใช้ในภาษาไทยเพราะบริเวณประเทศไทยแห่งนี้บางส่วนเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเขมรอันยิ่งใหญ่และรุ่งโรจน์ ดังนั้นอิทธพลและวัฒนธรรมเขมรจึงฝังรากลึกลงในตัวตนของความเป็นไทยในทุกวันนี้
คำว่า"ประมง" แผลงมาจาก"บง" ซึ่งแปลว่า ทอดแห. ฉนั้น ประมง จึงแปลว่าผู้ทอดแห ซึ่งต้องขออธิบายว่าในภาษาเขมร คำกริยา สามารถ แผลงเป็น คำนาม โดยการเติม "ม" ลงกลางเข้าแทรก แต่ถ้าตัวพยัญชนะต้นเป็น บ และ ผ จะต้องเปลี่ยนเป็น"ปร". ดังนั้น บง(คำกริยา) จึงแผลงเป็น ประมง(คำนาม)
ซึ่งในสมุทรโฆษคำฉันท์เจอคำทำนองนี้ในกาพย์ที่ว่า "กาดำน้ำคือปมง".
อ้างอิง: "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม" ของ จิตร ภูมิศักดิ์
โฆษณา