8 ก.ย. 2022 เวลา 01:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Apple เปิดตัว iPhone 14 มาพร้อมกับฟีเจอร์ "Emergency SOS via Satellite" หรือการแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านดาวเทียม ทำไมเทคโนโลยีนี้ถึงน่าตื่นเต้น ?
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเทคโนโลยีดาวเทียมกับอุปกรณ์กลุ่ม Consumer Electronic ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็น GPS, GNSS ต่าง ๆ ก็ถูกนำมาใช้อยู่บนมือถือ, นาฬิกา, อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเราอยู่แล้ว หรือแม้กระทั่งการชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (จาน PSI, True Vision ต่าง ๆ) ทำให้คำว่าดาวเทียมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
1
แต่ การใช้งานสัญญาณดาวเทียมที่กล่าวไปนั้นเป็นการสื่อสารทางเดียว กล่าวคือ อุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้ส่งสัญญาณกลับไปที่ดาวเทียม เหมือนเป็นการฟังอย่างเดียวแต่ไม่ได้พูดโต้ตอบกลับไป
2
เราเรียกการรับสัญญาณดาวเทียมว่า "Downlink" และเรียกการพูดโต้ตอบกลับไปว่า "Uplink"
สาเหตุที่ไม่มีการพูดโต้ตอบกลับไปก็หลายเหตุผลด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องขนาดของอุปกรณ์ที่ไม่สามารถติดตั้ง "Transciever" หรืออุปกรณ์ที่สามารถทั้งรับและส่งสัญญาณ ลงไปได้ ไปจนถึงเรื่อง Bandwidth ในการให้บริการ ซึ่งการใช้งานการสื่อสารดาวเทียมนั้นมีราคาแพงมาก
ทำให้เราจะไม่ค่อยเห็น Consumer Product ที่มีการ Uplink กลับไปที่ดาวเทียมเท่าไหร่ ยกตัวอย่างนับกรณีได้ เช่นอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink หรือมือถือดาวเทียมพวก Iridium (เก่ามาก)
1
ส่วนพวกอินเทอร์เน็ตดาวเทียมบนเครื่องบิน, เรือเดินสมุทร ขอไม่นับเนื่องจากไม่ใช่ Consumer Product
ทีนี้ พอ iPhone 14 มาพร้อมกับฟีเจอร์ Transciever ในการพูดคุยกับดาวเทียมเพื่อขอความช่วยเหล่อ จึงเป็นที่น่าจับตามองมาก และนำมาซึ่งคำถาม
- Apple สามารถพัฒนาตัว Transciever ที่มีขนาดเล็กมากพอที่จะติดตั้งลงใน iPhone ได้อย่างไร
- Apple เลือกใช้บริการจากดาวเทียมกลุ่มไหน ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในประกาศ บอกเพียงแค่ว่าเป็นดาวเทียมสื่อสาร (Communication Satellite) ซึ่งดาวเทียมกลุ่มนี้จะอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit) ที่ห่างออกไปมากกว่า 35,786 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก
- Apple ใช้คลื่นอะไร ความถี่เท่าไหร่ ถึงสามารถสื่อสารได้ในลักษณะนี้
2
ซึ่งเทคโนโลยีที่น่าจะเอื้อให้เกิด Transciever ในลักษณะดังกล่าว เราจะเรียกมันว่า Phased Array เป็นแผ่นจานรับสัญญาณเรียบ ๆ ไม่มีส่วนโค้งเหมือนกับจานดาวเทียมที่เราจะรู้จักกัน และใช้หลักการทางฟิสิกส์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ในการยิงคลื่นแบบทางตรง (Single Directional Beam) ขึ้นไปหาดาวเทียม
2
เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในยานอวกาศ, Rover สำรวจดาวอังคาร หรือเครื่องรับสัญญาณ Starlink
1
การที่ Apple สามารถพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช่บนมือถือที่วางไว้บนฝ่ามือได้จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และน่าจะนำไปสู่การคิดใหม่ว่าเราจะนำเอาเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้อุปกรณ์ Consumer Product ได้อย่างไรอีกบ้าง
3
สุดท้าย แม้ว่าฟีเจอร์ SOS นี้ จะห่างไกลจากการเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมกับมือถือ (เพราะ Bandwidth ต่ำมาก และความเร็วก็ต่ำมาก ๆ ด้วย อาจจะในหลักไม่กี่ Bit หรือ Byte ต่อวินาที) แต่ก็เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ที่น่าชื่นชม และน่าติดตามจริง ๆ
โฆษณา