Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วราพร ศรีสุพรรณ
•
ติดตาม
8 ก.ย. 2022 เวลา 07:51 • ประวัติศาสตร์
ในพระไตรปิฎกภาษาจีน แต่พระเจ้าถังไท่จงทรงเห็นด้วยกับฝู่อี้ ทําให้ทางการรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อพุทธศาสนา แต่ความนิยมในพุทธศาสนายังคงขยายตัวต่อไปได้
ค.ศ.630 พระเจ้าถังไท่จง ทรงฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อโดยมีพระราชโองการให้สร้างศาลขงจื๊อขึ้นทั่วราชอาณาจักร และขุนนางข้าราชการต้องเซ่นไหว้ตามประเพณี เมื่อถึง ค.ศ.647 โปรดให้ตั้งหลักศิลาตามศาลต่างๆ เหล่านั้น จารึกชื่อวีรบุรุษในลัทธิขงจื๊อไว้ถึง 22 คน วิธีนี้เท่ากับทรงยกย่องนักอักษรศาสตร์และหลักคุณธรรมของขงจื๊อ
ค.ศ. 641 องค์หญิงเหวินเฉิง แต่งงานเข้าไปอยู่ในทิเบต พระนางมีบทบาทสำคัญในการนำพุทธศาสนาจาก แผ่นดินจีนสู่ทิเบต
ค.ศ. 645 พระเสวียนจ้าง (ค.ศ.602-664) เดินทางกลับจีนหลังการเดินทางออกจากจีนไป 15 ปี ท่าน กลับมาพร้อมด้วยพระสูตรต่างๆ ในพุทธศาสนาและพระบรมสารีริกธาตุ พระเสวียนจ้างเป็นผู้นำของพุทธศาสนานิกายฟา-เสียง ยึดแนวทางนิกายโยคาจาร ของพระวสุพันธุซึ่งเห็นว่า จิตเท่านั้นที่เป็นจริง
พระเสวียนจ้างหรือถังซำจั๋ง
นิกายโยคาจาระ มีคำสอนเรื่อง ตรีกาย หมายถึง กายเนื้อ (เรียกว่านิรมาณกาย)
กายธรรม (เรียกว่า ธรรมกาย)
และกายทิพย์ (เรียกว่า สัมโภคกาย)
และพระวสุพันธุ์ ขยายคำอธิบายตรีกายในนิกายโยคาจาระให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น
ธรรมกาย กลายเป็นความจริงปรมัตถ์เป็นธรรมชาติอันเที่ยงแท้โอบอุ้มสรรพชีวิตให้ดำเนินไปตามกฎแห่งกรรม (นิกายโยคาจาระออกห่างจากสูญญตา และยกให้ธรรมกายเป็นความจริงสูงสุด)
สัมโภคกาย หรือกายทิพย์ หมายถึง พุทธเกษตรหรือโลกธาตุทิพย์ เป็นผลลัพธ์แห่งปณิธานและคุณธรรม อันแผ่ไพศาลของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ เป็นพื้นที่ซึ่งโอบอุ้มคุ้มครองผู้อาศัยให้สามารถขัดเกลาจิตตนในสภาพสุขสบายไปจนกว่าจะหลุดพ้นโดยไม่ต้องหวาดหวั่นต่อสังสารวัฏ
ในมหายานเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจำนวนมากมาย พุทธเกษตรที่รองรับการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็ย่อมมีจำนวนมากมายด้วย
พุทธเกษตร ซึ่งเป็นที่นิยมอ้างถึงคือ พุทธเกษตรนามสุขาวดีของพระอมิตภพุทธเจ้า (มี พระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์)
พุทธเกษตรในสวรรค์ชั้นดุสิตอภิรดีของพระโพธิสัตว์เมตไตรยะ
พุทธเกษตรของพระอักโษภยพุทธเจ้า (มีพระวัชรปาณี เป็นพระโพธิสัตว์)
และพุทธเกษตรของพระไวโรจนะพุทธเจ้า (มีพระสมันตรภัทร เป็นพระโพธิสัตว์)
แนวคิดเรื่องกายทิพย์ (สัมโภคกาย) และพุทธเกษตร ซึ่งหมายถึงอาณาเขตแห่งธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ ละองค์ เปิดทางให้พุทธมหายานสร้างสรรค์จินตนาการที่งดงามตื่นตาตื่นใจ และให้ความรู้สึกว่ามีสิ่งที่จะพึ่งพาอาศัยได้อย่างอบอุ่น
ในพุทธเถรวาทไม่ยอมรับแนวคิดสัมโภคกาย และตีความคำว่า “โลกธาตุ” โดยหมายรวมไปถึงจักรวาลซึ่งมากกว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ รวมกันทั้งหมดอยู่ในโลกธาตุเดียวกัน
แต่ในพุทธมหายานมองโลกธาตุในกรอบที่แคบกว่าแต่มีอยู่อย่างมากมายนับไม่ถ้วน และบางโลกธาตุก็ซ้อนทับกับโลกธาตุนี้
เต้า-ชวน (Tao-Hsuan, ค.ศ. 597-667) พระภิกษุที่มีชื่อเสียงพำนักอยู่บนภูเขาซุง-นาน ในเมืองฉางอัน ท่านเป็นผู้นำนิกายหลู่-จุง ถือเอาพระธรรมวินัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ก็ยังคงเน้นการช่วยเหลือสรรพสัตว์ อันเป็นลักษณะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
● พระอี้จิ้ง (ค.ศ.635-713) เป็นพระภิกษุอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเดินทางทางเรือจากเมืองกวางตุ้งสู่อินเดีย ท่านอยู่ที่คันธาระและกัษมีระ ระหว่าง ค.ศ. 671-690 ท่านมีผลงานการแปลพระสูตร
(ยังมีต่อ)
016
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย