Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
8 ก.ย. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
140 เยนต่อดอลลาร์!! ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังนิ่งเฉยต่อไปได้จริงหรือ?
การอ่อนค่าของเงินเยนในรอบล่าสุด ทำให้เกิดคำถามสำคัญตามมาว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังนิ่งเฉย และไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไปได้จริงหรือ?
เพราะระดับของเยนล่าสุดอ่อนค่าทะลุระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับจิตวิทยาที่สำคัญของตลาดไปแล้ว และก็ยังมีโอกาสที่จะอ่อนค่าลงไปได้อีก ถ้าไม่มีการปรับนโยบายมาตอบโต้
แต่การตัดสินใจปรับดอกเบี้ยของญี่ปุ่นไม่ใช่ว่าจะคิดถึงแต่เรื่องของค่าเงินอย่างเดียว ภายในใจของท่านผู้ว่าธนาคารกลางยังมีอีกหลายสิ่งต้องพิจารณาให้ดี ไม่งั้นการปรับดอกเบี้ยเร็วไปก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่าดีได้...
📌 เงินเยนอ่อนค่าที่สุดในรอบ 24 ปี
หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาบอกว่า การต่อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่จบ ก็เป็นการสะท้อนออกมาว่า ตนเองจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อพอสมควร
ไม่เพียงแต่สหรัฐฯ เท่านั้น ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกก็กำลังเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อตอบโต้กับปัญหาเงินเฟ้อ เช่น ECB ที่อาจกำลังต้องขึ้นดอกเบี้ยมากสุดเป็นประวัติการณ์ หรือ ธนาคารกลางอังกฤษที่เจอเงินเฟ้อเกิน 10% ไปแล้ว
แต่ในกรณีของญี่ปุ่น ผู้ว่าธนาคารกลางของเขา นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ส่งสัญญาณออกมาว่า “ญี่ปุ่นจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ค่อยๆ สูงขึ้นในประเทศ เป็นเรื่องชั่วคราวจากราคาพลังงานและอาหารเกือบทั้งหมด”
เมื่อประเทศอื่นปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ญี่ปุ่นยังคงดอกเบี้ยไว้ ก็มีส่วนสำคัญให้เงินทุนไหลออกจากญี่ปุ่นไปสู่ประเทศที่ดอกเบี้ยสูงกว่า
ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงสู่ระดับมากกว่า 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
เป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 24 ปี หรือก็คือตั้งแต่ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งทีเดียวทำให้ค่าเงินของญี่ปุ่นอ่อนค่ามากที่สุดในปีนี้ ในกลุ่มประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจ G-10 ด้วย
2
ระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังมีความสำคัญในฐานะเป็นระดับทางจิตวิทยาที่สำคัญ สังเกตได้จากก่อนหน้านี้ค่าเงินเยนยังทรงๆ ตัวไม่ทะลุระดับ 140 สักที แต่เมื่อทะลุมาแล้ว ก็อ่อนค่าได้ไปอีกพอสมควร
จนหลายคนเริ่มมองไปถึงตัวเลข 147 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐที่เป็นระดับค่าเงินเยนตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งกันแล้ว
📌 สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังเติบโตกลับมาไม่แข็งแกร่ง
แต่แม้ค่าเงินญี่ปุ่นจะอ่อนค่าไปถึงระดับนี้แล้ว ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็ยังไม่มีทีท่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ ซึ่งเหตุผลหลักมาจากเรื่องสภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ที่ยังลุ่มๆ ดอนๆ ยังเติบโตไม่แข็งแกร่ง และก็มีปัญหาเรื้อรังในเรื่องเงินฝืดมานานด้วย
โดยขนาด GDP ของประเทศญี่ปุ่น (เมื่อปรับผลของฤดูกาล) พึ่งจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดโควิดในไตรมาส 2 ปี 2565 นี้เอง
ทางธนาคารกลางญี่ปุ่นจึงมีความต้องการจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อไปได้ไม่ติดขัด
นอกจากนี้ ค่าเงินที่อ่อนค่าก็ยังช่วยส่งเสริมภาคการส่งออก เพิ่มรายได้ให้บริษัทญี่ปุ่นที่มักไปลงทุนในต่างประเทศ ให้แลกกันมาเป็นเงินเยนได้มากขึ้น และก็ยังจะกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว ซึ่งรอการกลับมาหลังจากญี่ปุ่นเปิดประเทศเต็มตัว
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินที่อ่อนค่าลงมากก็ส่งให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าแพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ากลุ่มพลังงานและอาหาร ที่เป็นสัดส่วนหลักของเงินเฟ้อญี่ปุ่นอยู่ในขณะนี้
ซึ่งถึงแม้อัตราเงินเฟ้อเดือนล่าสุดของญี่ปุ่นจะยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับในหลายๆ ประเทศที่ 2.6%
1
แต่ค่าจ้างในญี่ปุ่นก็ปรับตัวขึ้นช้ากว่าเงินเฟ้อเสียอีก โดยค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่น (ค่าจ้างที่ปรับผลของเงินเฟ้อ) หดตัวลง 4 เดือนติดต่อกันแล้ว
บีบให้ผู้คนต้องปรับลดการใช้จ่ายลง ทั้งๆ ที่เป็นช่วงของเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ที่ผู้คนควรจะออกมาใช้จ่ายกันมากขึ้น
1
เมื่อสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังลุ่มๆ ดอนๆ และการปรับขึ้นของเงินเฟ้อยังไม่ส่งผ่านไปสู่ส่วนการค่าจ้าง อุปสงค์อย่างยั่งยืน ก็ทำให้ยากที่ธนาคารกลางจะรีบผลีผลามขึ้นดอกเบี้ยได้
แต่อันที่จริง ญี่ปุ่นก็ยังเหลือเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่สามารถใช้ได้อยู่เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าเงินอ่อนค่าเกินไป คือ “การแทรกแซงค่าเงินผ่านตลาด”
ซึ่งญี่ปุ่นก็มีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่งที่ว่า ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ มิใช่ผู้ว่าแบงก์ชาติ แต่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ท่านปัจจุบัน คือ คุณชูนิชิ ซูซูกิ
ที่พึ่งออกมาเตือนผ่านการให้สัมภาษณ์ว่า “The necessary response is the necessary response” บอกเป็นนัยๆ ว่า อะไรที่มันจำเป็นต้องทำ เขาก็พร้อมที่จะทำ
2
แต่แค่คำพูดของท่านเหมือนจะยังไม่เพียงพอในตอนนี้ ตลาดการเงินต้องการการกระทำที่เป็นรูปธรรมจริงๆ สำหรับการแก้ปัญหาเงินค่าเงินเท่านั้น
ซึ่งถ้าผลสุดท้ายมันมาลงเอยผ่านการแทรกแซงตลาดโดยตรงจริงๆ ก็จะนับเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 20 ปีที่ญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือนี้...
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
●
https://www.boj.or.jp/en/announcements/education/oshiete/intl/g19.htm/#:~:text=In%20Japan%2C%20foreign%20exchange%20intervention,the%20instruction%20of%20the%20minister
.
●
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-09-06/yen-set-for-worst-year-on-record-as-traders-eye-intervention
●
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-09-06/yen-set-for-worst-year-on-record-as-traders-eye-intervention
●
https://www.ft.com/content/cff160e6-f462-4cb6-bcd0-cc9fc896b562
●
https://www.washingtonpost.com/business/why-the-yen-is-so-weak-and-what-that-means-for-japan/2022/09/04/323c2240-2ccd-11ed-bcc6-0874b26ae296_story.html
#เงินเยน #เศรษฐกิจ #ญี่ปุ่น #BOJ #ธนาคารกลางญี่ปุ่น #รัฐบาลญี่ปุ่น #APEC2022Thailand #APEC2022COMMUNICATIONPARTNER
#Bnomics #Economics #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่น
เงินเยน
2 บันทึก
16
2
2
16
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย