คลังข้อมูลเมื่อเทียบกับ Data Lake หรือระบบทะเลสาบข้อมูล
Data Lake หรือระบบทะเลสาบข้อมูลที่ใช้เก็บไฟล์ข้อมูลในรูปแบบดั้งเดิมนั้น โดยพื้นฐานแล้วคือ “Schema on Read” หมายความว่าโปรแกรมใด ๆ ที่อ่านข้อมูลจาก Data Lake จะต้องกำหนดประเภทและความสัมพันธ์ของมันเองกับข้อมูล ในทางกลับกันคลังข้อมูลคือ “Schema on Write” หมายความว่าประเภท ดัชนี และความสำพันธ์ของข้อมูลถูกกำหนดไว้กับข้อมูลขณะที่ถูกจัดเก็บใน EDW
“Schema on Read” เหมาะสำหรับข้อมูลที่อาจถูกนำไปใช้ในหลากหลายบริบท และมีความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลน้อย แต่ทว่ามีข้ออันตรายก็คือ ข้อมูลนั้นอาจไม่ถูกใช้งานเลย (Qubole ผู้ค้าขายเครื่องมือคลังข้อมูลแบบ Cloud สำหรับ Data Lake คาดคะเนว่า 90% ของข้อมูลใน Data Lake นั้นไม่ถูกนำมาใช้งาน)
ส่วน “Schema on write” เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจุดประสงค์เฉพาะอย่าง และเหมาะสำหรับข้อมูลที่ต้องเกี่ยวพันอย่างเหมาะสมกับข้อมูลจากแหล่งอื่น แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ข้อมูลที่ผิดรูปแบบอาจถูกทิ้งขณะนำเข้าเพราะมันไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมต่อประเภทข้อมูลที่ต้องการ
คลังข้อมูลเมื่อเทียบกับตลาดข้อมูล (Data Warehouse vs Data Mart)
เมื่อไม่นานมานี้ คลังข้อมูลเริ่มมีการรองรับ ML ที่จะปรับปรุงคุณภาพของโมเดลและการคาดการณ์ ตัวอย่างเช่น Google BigQuery ได้เพิ่มประโยคคำสั่ง SQL เพื่อรองรับโมเดลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นและโมเดลการวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกไบนารีสำหรับการแบ่งประเภท นอกจากนี้คลังข้อมูลบางแห่งมีการผสานเข้าด้วยกันกับเครื่องมือ Deep Learning Libraries และ Automated ML อีกด้วย
คลังข้อมูลแบบ Cloud เมื่อเทียบกับคลังข้อมูลแบบติดตั้งภายใน (On Premise)
คลังข้อมูลสามารถถูกนำมาใช้ได้หลาย ไม่ว่าจะเป็นแบบติดตั้งภายใน แบบ Cloud หรือแบบผสม ที่ผ่านมาคลังข้อมูลส่วนใหญ่มักเป็นแบบติดตั้งภายใน (On-Prem Data Warehouse) แต่ก็มีปัญหาในเรื่องต้นทุนค่าลงทุนและการขาดความสามารถในการปรับขนาดได้ของเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งภายในศูนย์ข้อมูล