Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทนายป้ายเหลือง
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2022 เวลา 10:22 • ความคิดเห็น
ปัญหาข้อกฎหมาย
วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ประเด็นเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วินจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
แม้จะได้มีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว
ก็ยังคงมีการแสดงความคิดเห็นกันไม่หยุดหย่อน ทั้งประเภทที่แสดงความคิดเห็นโดยมีวาระซ่อนเร้นและที่แสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ...หรือไม่ก็ “ไร้เดียงสา”....
ประเด็นร้อนที่สุดก็คือว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ควรมีผลย้อนหลังหรือไม่
ความจริงแล้วกรณีนี้ถ้าทุกฝ่ายคิดไตร่ตรองด้วยความมีสติอย่างจริงจัง ไม่มีนัยอะไรอื่นแอบแฝงก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจได้
เนื่องจากโดยหลักกฎหมายทั่วไปนั้น กฎหมายจะมีผลบังคับย้อนหลังไม่ได้ โดยเฉพาะบทบัญญัติที่เป็นโทษหรือเป็นบทบัญญัติตัดสิทธิของบุคคลใดบุคลหนึ่ง
เป็นหลักการที่ยอมรับกันโดยทั่วไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ...เป็นหลักสากล
ลองคิดกันง่ายๆว่า ถ้าเราสามารถบัญญัติให้กฎหมายมีผลบังคับย้อนหลังได้ สังคมมนุษย์จะวุ่นวายสับสนขนาดไหน
ปัจจุบันมีกฎหมายห้ามบุคคลทั่วไปสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และ/หรือในเขตหวงห้ามเช่นโรงพยาบาล สถานที่ราชการ ในรถยนต์โดยสารสาธารณะ ฯลฯ
ถ้ากฎหมายมีผลย้อนหลังได้ เราจะเอาผิดกับคนที่เคยกระทำความผิดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ได้หรือไม่
มันจะขัดกับหลักทั่วไปที่ว่า...... Nullum Cremen Sine Lege หรือไม่
ถ้าจะตีความว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับย้อนหลังไปถึงปี 2557 ด้วย มันควรจะมีผลย้อนหลังไปถึงปี 2475 ด้วยหรือไม่
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นต้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปีมาแล้วอย่างน้อย 3 ท่าน
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
จอมพล ป พิบูลสงคราม 14 ปี 11 เดือน
จอมพล ถนอม กิตติขจร 10 ปี 6 เดือน
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ 8 ปี 5 เดือน
อดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสามท่านดังกล่าวทำผิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ด้วยหรือไม่
ถ้ากฎหมายมีผลย้อนหลังก็ต้องผิดแน่นอน แล้วอะไรจะเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย
การใดที่อดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสามท่านดังกล่าวข้างต้นได้กระทำไปในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังจากการดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีแล้ว...มีผลเป็นโมฆะ...อย่างนั้นหรือ
อย่าลืมนะครับ เจตนารมณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญของ “กฎหมาย” ก็คือ เพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคม
การตีความบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องพิจารณาถึงความสงบเรียบร้อยในสังคมเป็นสำคัญ ไม่ใช่ตีความเอาตามความประสงค์หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
@@@@@@@@@@@@
ปรึกษาปัญหากฎหมาย
โทร. 0860400091
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย