11 ก.ย. 2022 เวลา 03:50 • ศิลปะ & ออกแบบ
อยู่ๆ สยามก็ดูคึกคักกว่าที่เคยรึเปล่านะ?
ชวนดูสยามสแควร์ในความทรงจำ และการออกแบบที่ทำให้ ‘สยาม’ ของเรา ๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง🏃‍♀️🏃🏃‍♂️🏃‍♀️
สำหรับใครที่เคยเห็นภาพบรรยากาศของสยาม หรือเคยไปเดินสยามหลังจากเปิดเมืองมาแล้ว คงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าตอนนี้ที่แห่งนี้มี ‘พลังงานวัยรุ่น’ พลุ่งพล่านกว่าที่เคย มันเกิดอะไรขึ้นนะ?
1
สยามสแควร์ หรือ ‘สยาม’ เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามผู้คนมาตลอด 60 ปี พัฒนา รุ่งเรือง ซบเซา ผ่านร้อนผ่านหนาว มีช่วงเวลาทั้งทุกข์และสุขไม่ต่างกัน
1
สยามจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำที่แตกต่างกันของวัยรุ่นหลายยุคหลายสมัย แม้จะผันแปรเปลี่ยนไปตามกระแสกาลเวลา แต่ยังดำรงบทบาทในการเป็นทั้งจุดท่องเที่ยว ย่านช้อปปิ้ง แหล่งเรียนพิเศษ ไปจนถึงสถานที่แห่งการนัดหมายรวมตัว
2
และการปรับปรุงครั้งล่าสุดก็เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยน ที่นำพาความคึกคักกลับมายังพื้นที่ และเป็นการสร้างภาพจำของสยามสแควร์ใน ‘ยุค 2020s’
3
วันนี้จะชวนมาดูสยามสแควร์ในความทรงจำของแต่คนแต่ละยุค และการดีไซน์ที่คิดถึง ‘ผู้คน’ ที่ปลุกชีวิตของสยามขึ้นมาอีกครั้ง
⭐ สยามยุคแรก
แรกเริ่มเดิมทีสยามเป็นย่านอาคารพาณิชย์แนวราบหรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า ‘ตึกแถว’ ชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่พักอาศัยและร้านข้าว ก่อนจะขยับขยายกลายเป็นพื้นที่รวมตัวกันของเหล่าวัยรุ่นที่มาเรียนพิเศษและพักผ่อน
ลักษณะของสยามจะถูกตัดแบ่งด้วยถนนเป็นบล็อกๆ หรือตั้งล้อมพื้นที่ว่าง 3 ด้าน เกิดเป็นลานโล่งตรงกลาง
ทว่าเจ้าลานโล่งนั่นก็ถูกเอาไปใช้เป็นลานจอดรถ ริมถนนก็ถูกปรับเป็นที่จอดรถ ฟุตบาทที่ทอดผ่านหน้าตึกแถวเป็นเพียงเส้นทางเดียวที่ทำมาสำหรับ ‘คนเดิน’
การออกแบบพื้นที่โดยรวมผลักให้คนเข้าไปใช้งานภายในอาคาร ภายนอกเป็นพื้นที่ของรถยนต์ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับคนเดินเท้าเท่าไหร่
⭐ ใครทัน Centerpoint… คุณคือเด็กยุค 90s
ปลายยุค 90s การเกิดขึ้นของ ‘เซ็นเตอร์พ้อยท์’ ทำให้สยามกลายเป็นแหล่งรวมอุตสาหกรรมบันเทิงและแฟชั่นของประเทศ
1
ชื่อ ‘เซ็นเตอร์พ้อยท์’ ได้มาจากลานน้ำพุที่อยู่ตรงข้ามจอ LED ยักษ์ที่เหมือนเป็นศูนย์กลางของสยาม โดยภายหลังได้สร้างอาคารเซ็นเตอร์พ้อยท์ และเปลี่ยนเป็นอาคาร Gateway ในเวลาต่อมา
1
ลานทางทิศใต้เริ่มถูกนำมาจัดกิจกรรมมากขึ้น เช่น ซุ้มร้านค้า จัดคอนเสิร์ตเปิดตัวนักร้อง นักแสดง
ยุคนี้แหละที่จะมี ‘แมวมอง’ มาค้นหาเด็กหน้าตาดีตามสยามไปเป็นดารา ความเฟื่องฟูในยุคเซ็นเตอร์พ้อยท์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของดารา นักร้อง คนในวงการบันเทิง และแบรนด์เสื้อผ้าดัง ๆ มากมาย
ยุคนี้เริ่มมีการปรับรูปแบบการใช้งานพื้นที่ภายนอกให้เป็นพื้นที่สาธารณะในการรวมตัวทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น
1
⭐จาก Center Point สู่ Main Street Siam
ช่วง 10 ปีหลังมานี้ สยามได้มีการเปลี่ยนจากอาคารแนวราบ(ตึกแถวเตี้ยๆ) เป็นอาคารสูงมากขึ้น
เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งราคาที่ดิน ความหนาแน่นของคน รวมถึงความต้องการพัฒนาสยามสแควร์ให้เป็นแหล่งช้อปปิ้งระดับโลกของสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ทำให้เกิดการแปลงโฉมครั้งใหญ่ในครั้งนี้
2
แค่ใหม่ขึ้น ก็น่าเดินขึ้นแล้วหรือ?
ดูผิวเผินเราจะพบว่าสยามนั้นมาในลุคใหม่ ตึกเก่าๆ ที่ดูทรุดโทรมถูกรื้อถอนออกไป แทนที่ด้วยตึกใหม่ดีไซน์ทันสมัย
แท้จริงแล้ว ตึกภาพลักษณ์ใหม่ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่ทำให้สยามกลายเป็นถนนที่คึกคักผิดหูผิดตา แต่คือการออกแบบที่คำนึงถึง ‘ผู้คน’ ต่างหาก
👩🏻‍🦽👨🏻‍🦯🧍🏻‍♀️การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เปิดกว้างสำหรับ ‘ทุกคน’ หรือ Universal Design
1
แรกสุดมีการขยายทางเท้าประกอบกับการออกแบบให้ถนนและทางเท้าอยู่ในระดับเดียวกัน สร้างให้เกิดความรู้สึกเชื่อมต่อ เกิดเป็นลานขนาดใหญ่ และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่ได้ เมื่อปิดถนนห้ามรถผ่านก็จะกลายเป็นถนนคนเดินหรือลานกิจกรรมได้
ทั้งมีการปลูกต้นไม้ตามแนวเป็นระยะๆ เพื่อให้ร่มเงา ลดความร้อนลง ถนนนี้จึงให้ความรู้สึก ‘น่าเดิน’ มากกว่าที่เคย กลายเป็นพื้นที่เดินเล่นชมดนตรีสดไปเลย
🌳 มีการออกแบบวางผังตำแหน่งอาคารใหม่ให้แทนลานจอดรถเดิม แต่ยังคงรักษาพื้นที่สาธารณะโดยดันขึ้นไปไว้บนอาคารกลายเป็นสวนดาดฟ้าแทน
1
รวมทั้งมีพื้นที่โล่งว่างสำหรับกิจกรรมอเนกประสงค์ และเชื่อมต่อพื้นที่ข้างล่างไปถึงพื้นที่สวนด้านบนอาคาร โดยยึดแนวถนนหลักเป็นการสร้างมุมมองใหม่ของสยามให้มีความเป็นย่านช้อปปิ้ง
2
การปรับพื้นที่ให้เกิดเป็นลานกิจกรรมภายนอก และลดความสำคัญของรถลง สะท้อนให้เห็นการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับคนที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่มากขึ้น
1
คน กำหนด พื้นที่
พื้นที่ กำหนด คน
3
คนเป็นผู้ออกแบบพื้นที่ และในขณะเดียวกันพื้นที่ก็ส่งเสริมการใช้งานของคน การออกแบบที่ดีช่วยเปลี่ยนแปลงจากถนนรถวิ่งให้กลายเป็นพื้นที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ได้
2
สยามมีความเป็นสาธารณะในตัวเองอยู่แล้วด้วยรูปแบบทางกายภาพของพื้นที่และการเข้ามาใช้งานของคน สยามถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของคน ในขณะเดียวกับก็เป็นตัวกำหนดรูปแบบการใช้งานพื้นที่ของคน
1
การพลิกโฉมในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดการออกแบบพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป
มันเป็นการออกแบบที่ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้งานของคนมากขึ้น เกิดเป็นพื้นที่ในการรวมกลุ่มผืนใหญ่ที่ช่วยกระตุ้นปฏิสัมพันธ์ของคน และฟื้นคืนความมีชีวิตชีวาให้แก่ย่าน
การใช้งานของคนจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่พื้นที่ภายในอาคารอีกต่อไป แต่เป็นพื้นที่ทั้งสยามสแควร์ที่ได้เปิดให้รองรับกิจกรรมอย่างอิสระและชวนให้ปลดปล่อยพลังความเป็นวัยรุ่นที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เล่าและเรียบเรียงโดย Refield Lab ไปติดตามอ่านเรื่องราว Landscape แบบดีพ ๆ กันต่อในเพจได้เลย
1
โฆษณา