Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KT's Diary
•
ติดตาม
11 ก.ย. 2022 เวลา 06:18 • ไลฟ์สไตล์
ตอนที่ 16: ว่าด้วยเรื่อง “ความกลัว” - ความรู้สึกที่ฉันเองก็ไม่ค่อยชอบ…แต่ก็พยายามเข้าใจและโอบอุ้มมันอยู่นะ
Fear (ความกลัว) - Inside Out (2015) https://wall.alphacoders.com/tag/fear-%28inside-out%29-wallpapers
สวัสดีค่ะทุกคน! กลับมาเจอกันอีกครั้งจนได้นะคะ
ก่อนอื่นอยากบอกก่อนเลยว่า จริง ๆ อยากจะเขียน topic เรื่องนี้กับตนเองมานานมาแล้วแหละ แต่ก็ยังรู้สึกไม่ฟิลที่จะเขียนสักที จนล่าสุดตนเองเพิ่งเจอเหตุการณ์หนึ่งไป แล้วก็รู้สึกว่า…. เขียนหน่อยดีกว่า เพื่อจะได้ค่อย ๆ ทำความเข้าใจเรื่องราว remark สิ่งนี้เอาไว้เป็นเครื่องเตือนใจตนเอง แล้วก็ค่อย ๆ work on กับมันต่อไปในอนาคตกับตนเอง :)
ความกลัว - ทำความเข้าใจ (แบบเชิงทฤษฎีจิตวิทยา ที่ผสมความเข้าใจของเราเองลงไปด้วยนะ)
ถ้าให้ลองมองในเชิง biological มาก ๆ ความกลัวนี้ มันก็คืออารมณ์พื้นฐานหนึ่งในมนุษย์ที่ถูกสรรสร้างมาเพื่อทำให้เราอยู่รอดบนโลกใบนี้ได้นั่นแหละ โดยลักษณะวิธีการการทำงานของมัน (เพื่อสุดท้ายทำให้เราอยู่รอด) ก็คือว่า มันจะทำให้เรา “ระวัง” กับสิ่งบางอย่างที่อาจนำพามาซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อะไรก็ตามที่อาจนำมาซึ่งความเจ็บ อะไรก็ตามที่น่าจะนำมาซึ่งความตายได้ กลไกของร่างกายก็จะสรรสร้างความกลัวนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้เราไปเจอสิ่ง ๆ นั้น
ในฉากนี้ fear ทำให้ riley หลบสายไฟ เพราะนางมองว่าสายไฟสามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
และอาจเป็นเพราะคนเรามีการเรียนรู้ และมีความหวังดีต่อตนเองมาก ๆ (มั้งนะ) การ “ระวัง” นี้มันก็เลยสามารถอัพเลเวลได้ด้วยการที่เราพยายามเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์ที่เราเผชิญมา ส่งผลทำให้เราไม่ได้ระวังกับแค่อะไรก็ตามที่ทำให้เราเจ็บแบบ “ตรง ๆ” ต่อร่างกายเพียงอย่างเดียว
อะไรก็ตามจากประสบการณ์ที่เราเจอมาแล้วทำให้เราเห็นว่ามันสามารถสร้างความเจ็บได้ เราก็จะเรียนรู้ผ่านการนำมันมาเชื่อมโยงกับความเจ็บแบบตรง ๆ ต่อร่างกายนั้น จดจำมัน และเริ่มขยับขยาย (generalize) การเชื่อมโยงนั้นไปสู่สิ่งอื่น ๆ ที่มีลีกษณะคล้ายกัน เพื่อ protect ตัวเองไปอีกขั้นหนึ่ง เพื่อทำให้เราอุ่นใจกับการใช้ชีวิตต่อไปได้มากขึ้น
การทดลองของ Baby Albert - เป็นการทดลองทางจิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจความกลัว โดยงานวิจัยพบว่า Baby Albert มีปฏิกิริยาร้องไห้ (เพราะความกลัว) กับสิ่งอื่น ๆ ที่มีสีขาวปุกปุยเช่นเดียวกัน จากตอนแรกที่การทดลองสร้างเงื่อนไขให้ Baby Albert มีความกลัวต่อหนูขาวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น (https://www.verywellmind.com/what-is-stimulus-generalization-2795885)
แต่บางที การขยับขยายขอบเขตการสร้างการเชื่อมโยงเพื่อปกป้องตนเอง มันก็กลับทำร้ายตนเองได้เหมือนกัน เพราะบางทีมันก็ “มากเกินไป” จนสุดท้ายทำให้เราไม่กล้าทำอะไรเลย….
เหตุการณ์นี้เพิ่งเกิดกับเราสด ๆ ร้อน ๆ เลยค่ะ วันก่อนเราเพิ่งไปสมัครงานใหม่มา ซึ่งภาพโดยรวมก็ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดีและง่ายกว่าที่เราคิดไว้มากเลยค่ะ อาจจะมีความผิดหวังนิดหน่อยในเรื่อง environment การทำงานที่เรามองว่าอาจดูอึดอัดไปนิดนึง แต่ถ้าให้ดูสิ่งอื่น ๆ โดยภาพรวม มันก็ไม่มีอะไรติดขัดเลยแหละ พอเราลองคุยในเชิงเนื้องาน ทัศนคติการทำงานบางอย่าง มันก็ไปด้วยกันได้กับทางบริษัทและคนที่ทำงานด้วย
จนกระทั่งพี่ที่สมัครงานเขาได้ส่งภาพการทำงานเพื่อ recheck ความเข้าใจเนื้องานมาให้เราอีกทีในวันถัดมาเท่านั้นแหละ! บอกเลยว่าอารมณ์ความกลัวนี้มันเพิ่มปริมาณขึ้นสูงปรี๊ด เพราะพอเราได้เห็นภาพการทำงานนั้น สัญชาตญาณลึก ๆ ข้างในมันก็บอกเราว่า “เราดูไม่เหมาะกับงานนี้เลย” หรือ “นี่ไม่ใช่ภาพที่เราอยากให้เป็นเวลาทำงานสายนี้”
ความรู้สึกนี้มันทำให้เราสับสนชั่วขณะ เราไม่แน่ใจเลยว่าเราจะปฏิเสธหรือจะอยู่ดี ยอมรับเลยว่าตอนนั้นกังวลและรู้สึกไม่มั่นใจในตนเองเลยแม้แต่น้อย เวลาจินตนาการว่าตนเองจะต้องไปทำงานแบบนั้นมันคงรู้สึกฝืนน่าดู บรรยากาศมันคงล้อมรอบไปด้วยความไม่มั่นใจเต็มไปหมดจนทำให้เราไม่แฮปปี้กับการทำงาน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ เราก็อุตส่าห์ออกจากงานเก่าเพื่อมาหางานใหม่ที่น่าจะทำให้เรารู้สึกแฮปปี้
และด้วยความกลัวจากภาพการทำงานนั้นยังคงทำงานอยู่อย่างต่อเนื่อง มันก็เลยทำให้เราควบคุมคำพูดบางอย่างของตนเองไม่ได้ และสุดท้ายก็พูดปฏิเสธงานไป พร้อมกับเตรียมหางานใหม่รอไว้เลย ซึ่งโชคก็เข้าข้าง พอเราทักไปหาที่ใหม่ปุ๊บ เขาก็ตอบรับเรากลับมาทันที เตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการการสมัครงานขั้นต่อไปเรียบร้อย
แต่พอยังเคลียร์กับที่ทำงานเก่าไม่จบดี บวกกับเราปฏิเสธไปแบบนั้น พี่ที่ทำงานก็รู้สึกงงงวยแหละค่ะ เขาก็ไม่เข้าใจเราแล้วหนึ่งว่าแล้วที่ผ่านมาคืออะไร เพราะตอนที่เราสัมภาษณ์กับเขา เราก็ค่อนข้างชัวร์ว่าอยากจะทำงานกับเขามาก
คำพูดบางอย่างที่เขาพูดมามันก็ทำให้เราจึ้กอยู่เหมือนกันแหละ ยอมรับเลยว่าเราเครียดมาก ไม่รู้เลยว่าจะต้องทำอย่างไร อารมณ์มันเหมือนคนเจ้าชู้ ที่ไปหักอกคนรักคนหนึ่งเพื่อไปหาอีกคนหนึ่ง ซึ่งมันก็ทำให้เรารู้สึกแย่กับตนเองอีกเพราะเราไม่อยากทำให้ใครต้องผิดหวังทั้งสองฝ่าย และเราก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นคนเจ้าชู้แต่แรกด้วย… (แต่ก็ดันกลับมาเป็นเสียเอง)
ตอนนั้นเราเลยวิ่งเข้าหาใครสักคนที่เป็น safe zone ของเราทันที ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เจ้าคุณแม่ของเรานั่นเอง 55555 เราก็ไปเล่าให้นางฟัง นางก็ช่วยตบ ๆ สติของเรากลับมา ทำให้เราได้ทบทวนเป้าหมายที่เราลาออกจากงานแต่แรก มันก็ทำให้เราใจเย็นลงได้นิดนึง
แล้วเราก็เพิ่งคิดได้ว่า…. ภาพการทำงานที่ทางบริษัทส่งมาให้ดูนั้น มันเป็นหนึ่งใน 3 ส่วนของงานที่ทางโรงเรียนมีให้ทำ และ “มันเลือกได้” เพราะสาเหตุที่เขาส่งมาให้เราดู ก็คือเพื่อ recheck ว่าเราไหวกับงานส่วนนั้นไหม ซึ่งถ้าเราไม่ไหว มันก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถพูดคุยกับพี่เขาได้
สุดท้ายเราเลยรวบรวมความกล้าอีกครั้งเพื่อบอกความต้องการของเราใหม่อีกครั้ง ด้วยการขอปฏิเสธการทำงานในส่วนนั้นไป และทำงานในส่วนที่เรารู้สึกไหวและพอทำได้ ซึ่งตัวเนื้องานในส่วนนั้นก็เป็นสิ่งที่ตรงกับ vision ของเราที่มีตั้งแต่แรก ซึ่งเขาก็โอเคกับข้อตกลงนั้น และก็เข้าใจในสิ่งที่เราทำไปมากขึ้น ส่วนกับที่ทำงานใหม่ที่เราเพิ่งดีล เราก็สามารถบอกปฏิเสธไปได้อย่างนุ่มนวลเช่นกัน ซึ่งเขาก็เข้าใจเหมือนกัน ทุก อย่างเลยผ่านไปได้ค่อนข้างดี
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ มันก็เลยทำให้เราเห็นว่า ความกลัวที่มากเกินไป มันก็เกือบทำลายอะไรหลาย ๆ อย่างไปมากเหมือนกันนะ
ซึ่งเราก็มาลองพิจารณาความ massive ของมันว่ามันมีมากขนาดนี้เป็นเพราะว่าอะไร สุดท้ายเรามองว่ามันอาจเป็นเพราะเราจินตนาการได้ถึงความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” เวลาทำงานที่เรารู้สึกไม่เข้ากับเรามั้ง มันทำให้เรากลัวว่าจะทำงานไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและความสุขแบบที่อยากได้ ผนวกไปกับความรู้สึกที่เราไม่อยากตัดสินใจพลาดด้วย เพราะเราไม่อยากผิดหวัง สมองเลยสรรสร้างความกลัวที่ยิ่งใหญ่แก่เราออกมา ทำให้เรารีบหลีกเลี่ยงมันไปให้ไวที่สุด ทำให้เราไม่ได้พิจารณาความเป็นจริงบางอย่างที่เกิดขึ้นเลย
“ไม่ชอบที่ตนเองเป็นแบบนี้เลยว่ะ” - นี่เป็นความรู้สึกหลังจากที่เรา realize เรื่องราวเหล่านี้ได้
เราจมอยู่กับความไม่ชอบตนเองในเรื่องนี้ไปอยู่นานเหมือนกันหลังจากวันนั้น แม้แต่ขณะตอนที่กำลังเขียน reflect ตนเองนี่ก็ยังมีความรู้สึกนี้อยู่เลย 5555555
แต่มันก็เพราะเราหวังดีกับตนเองนั่นแหละ เราเลยสร้างการเชื่อมโยงกับความรู้สึกเจ็บไว้หลายโยงใยมาก ขยับขยายมันไปสู่สิ่งอื่นเยอะมาก ๆ เพื่อ protect ไม่ให้เรารู้สึกทรมานหรือเจ็บปวด (เหมือนที่เราเคยเจอ หรือ ทำให้ถึงอันตรายแก่ชีวิตได้) เพราะไม่มีใครอยากรู้สึกเจ็บปวดหรอก ไม่ว่าจะเป็นทางกายก็ดี หรือทางจิตใจก็ดี ส่วนหนึ่งที่มันเกิดขึ้นก็เพราะความเป็นธรรมชาติของอารมณ์นี้นั่นแหละ
ขอบคุณตัวเองที่หวังดีกับตนเองได้มากถึงเพียงนี้นะคะ 555555 แต่ครั้งหน้า ไม่ต้องขนาดนี้ก็ได้แม่ :)
และสำหรับการวาง intervention กับตนเอง… บอกเลยว่าเขียนมาจนถึงตอนนี้เราเองก็ยังนึกไม่ค่อยออกเหมือนกันว่าจะค่อย ๆ ลดความรุนแรงของความกลัวที่มากเกินไปนี้ของตนเองอย่างไรถึงจะถูกจุด หรือจะอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ต่อไปอย่างไรดี 555555 แต่ถ้าอิงตามหลักทฤษฎี มันก็อาจต้องแก้ด้วยการลดโยงใยที่เราเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้ากับอดีตกาลบางอย่างของเราที่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งวิธีการมันคงมีหลายทางเพื่อทำให้เราลดโยงใยต่าง ๆ นั้นได้…
โดยวิธีการหนึ่งที่สามารถนำพามาซึ่งการลดโยงใยนั้นที่เราว่าน่าสนใจก็คือ “การเผชิญหน้ากับความจริงที่เกิดขึ้น”
ใช่แหละ กับคนที่มีความกลัวต่อสิ่งนั้นอยู่แล้ว การที่อยู่ดี ๆ เราจะไปเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัว ไม่ว่าจะเป็นตัวเงินตัวทอง คุณครู การโดนด่า หรือเหตุการณ์ที่อาจนำมาซึ่งความผิดหวัง มันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความกล้าหาญมิใช่น้อย แต่จากประสบการณ์ของเรา (เองอีกเหมือนกัน) เราก็ค้นพบว่า การที่เรา “ได้ลองทำมันจริง ๆ” มันทำให้เราเห็นถึงศักยภาพบางอย่างที่ทำให้เราเห็นว่าเราเองก็ทำได้เหมือนกัน และมันก็คงเสริมสร้างความมั่นใจบางอย่างข้างในตัวเราด้วย
ตัวอย่างเช่นการสมัครงานนี้เลย ตอนแรกเราก็กลัวเหมือนกัน เราเลยซ้อม เราฝึกฝนมากที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่เราก็พบว่ากับแค่การซ้อมมันไม่มีทางทำให้เราอุ่นใจจนกว่าเราจะไปเจอสถานที่จริง
แล้วเมื่อเราพบว่าความเป็นจริงมันไม่ได้ยากเหมือนกับที่เราคิดไว้แต่แรก มันก็โล่งใจละ 55555
แล้วพอคุยไปคุยมาพี่ที่ทำงานก็ให้เราลอง pretend การทำงานจริงนั้นดู เราก็ลองทำในแบบที่เราเข้าใจ ยอมรับว่าก็เก้ๆ กังๆ และกลัวอยู่เหมือนกัน แต่พอเราได้รับการ affirm จากพี่เขามาว่าเราก็มีศักยภาพเหมือนกันจากการอธิบายถึงสิ่งที่เราทำอย่างเป็นรูปธรรมว่ามันเป็นอย่างไรบ้าง บวกกับแนะนำสิ่งที่เราต้องเพิ่มเติม เราก็เลยมั่นใจขึ้น เริ่มมองภาพของตนเองในอนาคตต่อไปว่ามันน่าจะเป็นอย่างไร มันก็เริ่มดูน่าสนุกขึ้นมาละ เราก็เลยเริ่มอยากทำและไม่ติดอะไรเลยในตอนแรก (ก่อนที่จะมาเจอภาพการทำงานต่อจากนั้นนั่นแหละ 555555)
การได้ลองทำ การได้เผชิญหน้ากับความจริง เลยอาจเป็นคำตอบสำหรับเราในตอนนี้มั้ง แต่การ prepare ตัวเองที่จะพร้อมเผชิญหน้ากับความจริงก็อาจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำพามาซึ่งการลงสนามนั้นอย่างไม่กังวลจนเกินไปเช่นกัน เราเลยคิดว่าการเสริมสร้างความมั่นใจให้ตนเอง การที่เราเห็นตนเองว่าเราก็มีดี (แม้ว่าคนอื่นอาจไม่เห็นและนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่ถูกใจเราก็ตาม) มันก็คงเป็นสิ่งที่ค่อย ๆ ช่วยทำให้เรากล้าเผชิญหน้ามากขึ้นด้วยมั้ง เราก็คงอาจลองมองในมุมนี้ให้มากขึ้น
“สร้างความมั่นหน้า เพิ่มความมั่นใจ ฉันรู้ดีว่าฉันเก่ง ฉันเรียนรู้ไว ฉันมีไหวพริบ ฉันมีของ” :)
Well done for today! พักผ่อนได้แล้วตัวฉัน และขอบคุณทุกคนมาก ๆ ที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะคะ มาดูกันต่อไปว่าชีวิตดิฉันจะเป็นอย่างไร 5555555555
(พักผ่อนแบบจริงจัง 55555)
ไดอารี่
พัฒนาตัวเอง
จิตวิทยา
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย