Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
258 M.21 ผู้รับใช้นาย
•
ติดตาม
11 ก.ย. 2022 เวลา 14:22 • ประวัติศาสตร์
วัดโคกพระยา สถานที่สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์และเจ้านายในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คือที่ไหนกันแน่?
ซึ่งในจดหมายเหตุฟานฟลีต หรือที่เราๆเรียกกันติดปากว่าจดหมายเหตุวันวลิตนั้น ได้ระบุในเหตุการณ์พระยากลาโหมสุริยวงศ์ สำเร็จโทษ สมเด็จพระเชษฐาธิราช ไว้ที่ วัดโคกพระยาใกล้กับวัดหน้าพระเมรุ สอดคล้องกับแผนที่แม่น้ำเก่าที่ Francois Valentijn เขียนไว้ เมื่อ ค.ศ.๑๗๒๖ (พ.ศ.๒๒๖๙) ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์
1
(สมเด็จท้ายสระ) ซึ่งแผนที่ของ ฟร็องซัวส์ วาเลนไทน์ ฉบับนี้จึงเป็นหลักฐานอย่างดีที่จะช่วยสนับสนุนน้ำหนักว่าวัดโคกพระยาที่ใช้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์และเจ้านายครั้งกรุงศรีอยุธยานั้น น่าจะอยู่โซนตรงทางวัดหน้าพระเมรุมากกว่าวัดโคกพญาราม ตรงใกล้วัดภูเขาทอง
วัดโคกพระยาในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงวัดโคกพระยาไว้หลายช่วง โดยส่วนมากจะกล่าวถึงในฐานะที่ใช้เป็นสถานที่ที่ใช้ในการสำเร็จโทษพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น
สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระรัษฎาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระยอดฟ้า พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระศรีเสาวภาคย์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๖ แห่งกรุงศรีอยุธยา
เจ้าพระขวัญ พระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชาที่ประสูติแต่กรมหลวงโยธาทิพ
เจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
พระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิด พระราชบุตรในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์
กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี (เจ้าสามกรม) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
วัดโคกพระยาเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งที่มีหลักฐานกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยเริ่มสถาปนา
พระนครศรีอยุธยา เพราะเป็นสถานที่ใช้ในการสำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์มา ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลที่ ๒ แห่งสมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นต้นมา
บาญชีวัดร้างในอำเภอรอบกรุงซึ่งสำรวจเมื่อครั้ง ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุชื่อวัดโคกพระยา อยู่ในตำบลบ้านลุมภาลี มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๑
งาน ๙๔ ตารางวา เป็นวัดที่อยู่ในกลุ่มตำบลเดียวกัน ๙ วัด คือ
๑. วัดสนามกราย
๒. วัดพระยาร่อง
๓. วัดสี่เหลี่ยม
๔. วัดโคกพระยา
๕. วัดโคก
๖. วัดรั้งพระยาแมน
๗. วัดดอนกระต่าย
๘. วัดตูมน้อย
๙. วัดจงกลม
ต่อมาในแผนที่กรุงศรีอยุธยา ฉบับพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล
สำเร็จราชการมณฑลอยุธยา และอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกโบราณคดี ตรวจสอบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ ห่างกัน ๒๒ ปี ปรากฏว่า ชื่อวัดในกลุ่มนี้ทั้งหมด
เปลี่ยนแปลงหรือหายไปรวมทั้งชื่อวัดโคกพระยา เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๑ ดร. สุเมธ ชุมสาย ได้ตรวจสอบและชำระแผนที่โดยอาศัยเค้าโครงของแผนที่ พระยาโบราณราชธานินทร์ เพื่อประกอบแผนการพัฒนาเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา วัดต่าง ๆ ที่หายไป หลายวัดในช่วง ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้กลับมามีชื่อปรากฏในแผนที่อีกครั้ง เช่น วัดโคกพระยา วัดสี่เหลี่ยม
วัดพระยาแมน และวัดจงกลม นอกจากนั้น ในกลุ่มของทุ่งภูเขาทองซึ่งแต่เดิมไม่มีวัดโคกพญา ได้ปรากฏ ชื่อวัด “โคกพญา” ขึ้นมาอีกวัดหนึ่ง ณ ตำแหน่งที่เคยเป็นวัดร้างใกล้กับภูเขาทอง ตามแผนที่ของกรมแผนที่ทหารบก สำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวัดโคกพระยาหลายตอน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาว่า วัดโคกพระยา ที่แท้จริงนั้นควรจะอยู่ ณ ที่ใดในระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่ ๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒) ในพงศาวดารระบุว่า “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรีเข้าในพระราชวัง กุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาตเสีย ณ วัดโคกพระยา”
ครั้งที่ ๒ ในแผ่นดินขุนวรวงศาธิราช พ.ศ. ๒๐๗๒ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดินคิดกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา
ครั้งที่ ๓ กล่าวถึง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญ ออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทองเสด็จยืนพระคชาธารประมวลพลแลคชพยุห โดยกระบวนตั้งอยู่ ณ โคกพระยา
ครั้งที่ ๔ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระศรีเสาวภาค พ.ศ. ๒๑๔๕ พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดระฆัง ได้สมณฐานันดรเป็นพระพิมลธรรม สึกออกเข้าพระราชวังได้ คุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปให้พันธนาการไว้มั่นคง รุ่งขึ้นให้นิมนต์พระสงฆ์บังสุกุล ๑๐๐ ให้ธูปเทียนสมา แล้วก็ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เอาพระศพไปฝัง ณ วัดโคกพระยา
แล้วเสด็จขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรม
ครั้งที่ ๕ บรรดาเหล่าเสนาพฤฒามาตย์ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นประธาน อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราช พระราชโอรส องค์ปฐมของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขึ้นราชาภิเษก พระพันปีศรีศิลป์ผู้เป็นพระอนุชาลอบหนีไปซ่องสุมผู้คนที่เมืองเพชรบุรี จะยกเข้ามาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตรัสทราบเหตุให้แต่งกองทัพออกไปจับกุมพระพันปีศรีศิลป์ได้ เอาตัวมาประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา
ครั้งที่ ๖ เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัติ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า คบคิดด้วยพระศรีสุธรรมราชา ส้องสุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาในพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา
ครั้งที่ ๗ เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าเข้าไปในพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระราชมณเฑียรพระวิหารสมเด็จ ในวันเดียวกันนั้น เสนาบดีก็ไปตามสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชได้ ณ วังหลัง ก็ให้ไปสำเร็จโทษ ณ โคกพระยาตามประเพณี
ครั้งที่ ๘ คักราช ๑๐๖๔ ปีวอก จัตวาศก (พ.ศ. ๒๒๔๕) สมเด็จพระเจ้าเสือให้ชาวที่เชิญเจ้าพระขวัญเข้ามาถึงตำหนักหนองหวาย แล้วก็ประหารเสียด้วยท่อนจันทน์ เสร็จแล้วก็ให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขันให้ข้าหลวงเอาออกไปฝังเสีย ณ วัดโคกพระยาเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารมีตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระราเมศวรเรื่อยลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเพียง ๘ ครั้ง ๗ ครั้งเป็นเรื่องการสำเร็จโทษ อีก ๑ ครั้งเป็นเรื่องการตั้งทัพ
แต่จากการสำรวจทำแผนที่วัดร้างในพระนครศรีอยุธยาในสมัยหลังต่อมา เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ได้ปรากฏชื่อวัดโคกพระยาขึ้นถึง ๒ แห่ง จึงได้สร้างความสับสนขึ้นแก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งว่า วัดใดคือวัดโคกพระยาที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่แท้จริง เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเองมาเป็นเครื่องประกอบในการพิจารณาเช่น เหตุผลที่ว่าวัดโคกพระยาที่ตามแผนที่กำหนดว่าอยู่เหนือวัดหัสดาวาส และวัดหน้าพระเมรุนั้น
เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองไม่มากนัก หากจะมีการนำพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์ไปสำเร็จโทษ ณ ที่นั้น ก็จะเป็นที่ปลอดภัยจากการแย่งชิงตัวนักโทษ แต่ถ้านำไปประหารที่โคกพระยาซึ่งอยู่ถึงกลางทุ่งภูเขาทอง ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะเสี่ยงกับการแย่งชิงตัวนักโทษ จึงน่าจะไม่สมเหตุสมผลที่กล่าวว่าวัดโคกพระยาอยู่ที่ทุ่งภูเขาทอง ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็อ้างถึงเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกกองทัพออกมาจากพระนครศรีอยุธยา
มาตั้งทัพรอฤกษ์อยู่ที่วัดโคกพญา ถ้าวัดโคกพระยา ตั้งอยู่เหนือวัดหัสดาวาส ก็น่าจะไม่สมเหตุสมผลเพราะขบวนกองทัพจำนวนมากจะมาตั้งทัพกระจุกกันอยู่ ณ ที่ ๆ ไม่ห่างไกลเมืองไปได้อย่างไร โคกพระยาที่กล่าวถึงในเหตุการณ์นี้จึงควรจะมีตำแหน่งอยู่ ณ กลางทุ่งภูเขาทองถึงจะเหมาะสมแก่เหตุผลที่จะรบกันได้ เป็นต้นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระสุริโยทัยพระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้าง
ในคราวตามเสด็จ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปดูกำลังข้าศึกครั้งนั้น ณ สมรภูมิทุ่งภูเขาทองไว้โดยละเอียด ดังนี้
“ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพข้ามกาญจนบุรีมาถึงพระนครศรีอยุธยา ณ วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๔ ตั้งค่ายหลวงตำบลกุ่มดอง ทัพพระมหาอุปราชาตั้งค่ายตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพสิมตั้งค่ายตำบลทุ่งวัดวรเชษฐ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง
จึงทรงเครื่องอลังการยุทธเสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิ สูงหกศอกคืบห้านิ้วเป็นพระคชาธาร ประดับคชาลังกาภรณ์เครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญพระสุริโยทัยผู้เป็นเอกอัครราชมเหสี ประดับพระองค์เป็นพระยามหาอุปราช ทรงเครื่องสำหรับราชณรงค์เสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์สูงหกศอกเป็นพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นเสร็จ มีกลางช้างและควาญ พระราเมศวรทรงเครื่องสิริราชปิลันธนาวราภรณ์ สำหรับพิชัยยุทธสงครามเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลจักรพาฬสูงห้าศอกคืบแปดนิ้ว ประดับกุญชรอลงกตเครื่องมั่น
มีกลางช้างและควาญ ครั้นได้มหาศุภวารฤกษ์ราชดฤถีพระโหราลั่นฆ้องชัยประโคมอุโฆษแตรสังข์อึงอินทเภรี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ยาตราพระคชาธารข้ามฟากไป พระอัครมเหสีและพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์โดยเสด็จเหล่าคชพยุหดั้งกันแทรกแซงค่ายค้ำพังคาโลดแล่น
มีทหารประจำขี่ กรกุมปืนปลายขอประจำคอทุกตัวสารควาญประจำ ท้ายล้อมเป็นกรรกงโดยขนัด แล้วถึงหมู่พยุหเสนากรโยธาหาญเดินเท้าถือดาบดั้งเสโลโตมรหอกใหญ่หอกคู่ ธงทวนธนูปืนนกสับคับคั่งซ้ายขวาหน้าหลัง โดยกระบวนคชพยุหสงคราม เสียงเท้าพลและเท้าช้างสะเทือนดังพสุธาจะทรุด สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยืนพระคชาธาร ประมวลพลและคชพยุหโดยกระบวนตั้งอยู่ ณ โคกพระยา
ฝ่ายกองตระเวนรามัญเห็นดังนั้น ก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าหงสาวดีโดยได้เห็นทุกประการ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าชะรอยจะเป็นทัพพระมหาจักรพรรดิยกออกมาจะกระทำคชพยุหสงครามกับเรา
พระองค์ตรัสให้ยกพลหลวงออกจากค่ายตั้งกระบวนสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงเกราะเครื่องพิชัยยุทธ ย่อมทับถมด้วยวิชาศัสตราเวทย์คาถา แล้วสอดพระมหาสุวรรณสังวาลประดับเพชรพื้นถม สรรพคุณเวทคาถาต่างๆ ทรงพระมาลา ลงเลขยันต์กันสรรพศัสตราวุธภยันตราย สำหรับราชณรงค์ยุทธเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลปราบทวีปสูงเจ็ดศอกเป็นพระคชาธารประดับคชาภรณ์เครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญเครื่องสูงสำหรับราชณรงค์แห่โดยขนัด มีหมู่ทหารถือดาบดั้งหมื่นหนึ่งล้อมพระคชาธาร
พระเจ้าแปรทรงอลังการเครื่องพิชัยยุทธ ทรงช้างต้นพลายเทวนาคพินายสูงหกศอกคืบเจ็ดนิ้ว เป็นพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่น มีควาญและกลางช้างยกเป็นกองหน้า มีทหารดาบสองมือพันห้าร้อยล้อมพระคชาธาร และช้างท้าวพระยารามัญคับคั่ง ทั้งกระบวนกรรกงเป็นขนัด เหล่าพยุหโยธาหาญเดินเท้าถือสรรพศัสตราดาดาษโดยกระบวน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ยกพยุหโยธาทวยหาญออกตั้งยังท้องทุ่งตรงหน้าทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ห่างกันประมาณร้อยเส้น
เสด็จยืนพระคชาธารคอยฤกษ์”๑ จากความในพระราชพงศาวดารที่ยกมานี้จะเห็นว่า ทัพหลวงของฝ่ายหงสาวดี ตั้งอยู่ ณ ตำบลกุ่มดอง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านกุ่ม วัดจุฬามณี อำเภอบางบาล ห่างจากกำแพงพระนครศรีอยุธยาตามเส้นทางตรงประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ทัพพระมหาอุปราชาตั้งอยู่ตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง และทัพพระยาพสิมตั้งค่ายอยู่ตำบลทุ่งวัดวรเชษฐ ซึ่งเมื่อตอนเดินทัพมานั้นทัพพระมหาอุปราชาเป็นทัพหน้า
ทัพพระเจ้าแปรเป็นกองเกียกกาย และทัพพระยาพสิมเป็นกองหลัง ตามลำดับ แต่เมื่อมาประชิดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ก็ได้แปรทัพทั้ง ๓ ออกกระจายล้อมลงมาจากตอนเหนือของเมือง มีระยะห่างจากกำแพงพระนครฯ ๑๐๐ เส้น
1
หรือประมาณ ๔ กิโลเมตร ในการรบครั้งนั้น การตั้งทัพรับของฝ่ายทัพกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพลน้อยกว่าพม่าข้าศึกถึง ๑๐ เท่า ดังนั้นการตั้งรบจึงจำเป็นที่จะต้องกระชับสมรภูมิทุ่งภูเขาทองให้แคบเข้า โดยพระมหานาควัดภูเขาทองได้สึกออกมารับอาสาตั้งค่ายกันทัพเรือ ตั้งค่ายแต่วัดภูเขาทองลงมาจนวัดป่าพลู พรรคพวกสมกำลังญาติโยมทาสชายทาสหญิงของพระมหานาค ช่วยกันขุคคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึงเรียกว่าคลองมหานาค ในขณะเดียวกัน
ก็ตรัสให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายตำบลลุมพลี ถือพลหมื่นห้าพันล้วนใส่เสื้อแดงหมวกแดงถ้าทัพพระมหาจักรพรรดิยืนช้างอยู่วัดโคกพระยานอกบริเวณวัดภูเขาทองแล้ว ทัพพระเจ้าหงสาวดีจะอยู่ในรัศมีบ้านท้ายไผ่ บ้านพุทรา แต่เมื่อทัพทั้งสองต่างฝ่ายต่างเคลื่อนทัพเข้าหากันแล้วทัพพระเจ้าหงสาวดีที่อยู่ที่ตำบลกุ่มดอง
จุดที่ยืนทัพห่างกันร้อยเส้น ก็น่าที่จะเป็นไปได้ที่ทัพของพระเจ้าหงสาวดีจะมาตั้งทัพรอพระฤกษ์อยู่ที่บ้านท้ายไผ่ บ้านพุทรา และทัพพระมหาจักรพรรดิยืนช้างอยู่ที่วัดโคกพระยา ณ บริเวณทุ่งภูเขาทอง ในพระราชพงศาวดารไม่ได้กล่าวถึงการปะทะทัพกันระหว่างทัพพระมหาจักรพรรดิกับทัพพระเจ้าหงสาวดี เพราะตั้งอยู่ห่างจากกัน ดังนั้นเมื่อได้ฤกษ์ปะทะทัพ
”สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองหน้าพระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรได้ท้ายข้าศึกดังนั้น ก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ” ทั้งนี้เพราะทัพ พระเจ้าแปรตั้งอยู่ใกล้กว่า คือตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ซึ่งฐานะของทัพพระเจ้าแปรได้ถูกปรับให้เป็นทัพหน้าไปโดยปริยาย การเสียทีเพลี่ยงพล้ำช้างของพระมหาจักรพรรดิเป็นไปได้หรือไม่ว่ามีเจตนาจะลวงทัพพระเจ้าแปรให้เข้าซองที่ถูกกระหนาบโดยทัพของพระมหานาค
และทัพพระยาจักรี เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นมานี้ ตำแหน่งที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประทับพระคชาธารรอพระฤกษ์อยู่ก่อนปะทะทัพพระเจ้าแปรตามที่พระราชพงศาวดารกล่าวถึงนี้จึงน่าจะอยู่ ณ ตำแหน่งใกล้วัดภูเขาทอง
หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่จะนำมาประกอบในการพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของวัดโคกพระยา คือจดหมายเหตุของ อิริมี ฟอนฟลีต หรือที่เรียกกันว่า วันวลิต (IEREMIE VAN VLIET) ซึ่งเขียนในปี ค.ศ. ๑๖๔๗
กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย
จำกัด, ๒๕๓๔. หน้า ๗๔–๗๕.
ประวัติศาสตร์
หนังสือ
ปรัชญา
4 บันทึก
9
2
4
9
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย