11 ก.ย. 2022 เวลา 14:40 • ประวัติศาสตร์
ภาชนะแบบโนนคูณ ชัยภูมิ
ภาชนะชั้นสุดท้ายจากบ้านโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ อยู่ห่างจากแหล่งที่มีการขุดค้นใหญ่ เช่นที่บ้านโนนเมือง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ไม่ถึง ๑๐ กิโลเมตร
พบพร้อมกับสัมฤทธิ์จำนวนหนึ่งที่มีการกล่าวกันว่า เครื่องประดับสัมฤทธิ์เหล่านี้พบทั่วไปหรือหลายแห่งในเขตชัยภูมิ จนเรียกว่าเป็นเป็นเครื่องสัมฤทธิ์แบบชัยภูมิ แน่นอนคล้ายกับวัฒนธรรมในกลุ่มทะเลสาบเตียนหรือดองเซิน แต่ด้วยทิศทางตำแหน่งที่ตั้ง
คิดว่าอาจจะสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีในจีนใต้แถบยูนนาน โดยเฉพาะรูปแบบการเขียนสีดำบนภาชนะเนื้อดินที่ค่อนข้างแกร่ง เนียนละเอียด แน่นนี้ ฝีมือการตวัดภู่กันนั้นชั้นครู ไม่ใช่ผู้ที่เพิ่งหัดวาดลวดลายแบบภู่กันลงบนภาชนะแน่ เป็นฝีมือชั่นครู และการวาดลวดลายนั้นมีลักษณะเฉพาะเป็นรูปแบบของตัวเองอย่างสูง
แหล่งโบราณคดีนี้เข้าใจว่ามีการสำรวจโดยกรมศิลปากรไปแล้ว แต่ยังไม่มีรายงานว่าพบชิ้นส่วนภาชนะเช่นนี้จากการศึกษาทางโบราณคดีแต่อย่างใด
เศษภาชนะเขียนสีดำ ขีดที่ทำเป็นสระต่อเนื่องดังที่ปรากฎ ทำขึ้นด้วยความชำนาญอย่างเห็นได้ชัด
คณะทำงานของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เดินทางเข้าไปสำรวจและขอถ่ายรูปมาจากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงที่เก็บเศษภาชนะเหล่านี้ไว้ได้เท่านั้น
ซึ่งควรมีการสำรวจและทำงานศึกษาในอาณาบริเวณลุ่มน้ำชีทางชัยภูมิและขอนแก่นเหล่านี้โดยละเอียดยิ่งขึ้น
โฆษณา