Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Parin Ja!
•
ติดตาม
11 ก.ย. 2022 เวลา 21:05 • การศึกษา
ซีรี่ย์ : การมาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางที่เยอรมนี 2
A Thai Doctor in Berlin 🇹🇭🇩🇪
🐻 part 2🐻
รีวิวคอร์ส FSP ของ Charité Berlin กย. 2021
การสอบ FSP ที่ Berlin ตค. 2021
การส่งเอกสารรอบที่ 3 ให้ LAGeSo
อันนี้รีบมาเขียนก่อนจะลืมเช่นกัน
::::คอร์ส FSP Charité Berlin::::
ชื่อคอร์สเต็มๆจะเป็น
Kommunikationstrainning für Ausländische Ärzte und Ärztinnen
เรียนใน Charité campus Mitte ที่อยู่ใกล้ๆ Hauptbahnhof เลย
คอร์สเรียนมี 2 แบบ
1. แบบจ่ายเอง - requirement: B2 จะสอบของเกอเธ่, TelC หรือ TestDaf ก็ได้ - ปีนึงจะเปิดประมาณ 5 รอบอันนี้ให้เมลไปสมัครกับ Charité เองเลย ที่เมล เค้าจะส่งใบสมัครมาให้กรอก ละก็ให้เราโอนเงินค่าคอร์ส หลังเราโอนเงิน เค้าจะออกใบยืนยันสมัครเรียนให้ เราก็เอาไปขอวีซ่าได้ จะ16d(เทียบวุฒิของหมอ)หรือ 16f (เรียนภาษา) ก็แล้วแต่ - รายละเอียดคอร์ส(ภาษาอังกฤษ)
https://academy.charite.de/en/agenda/
2. แบบขอคูปองเรียนฟรีจากรัฐ
-requirements : B2, Anmeldung(ใบแสดงที่อยู่ในเยอรมัน), Eingangbestätigung และ คูปองเรียนฟรีจาก BAMF(Bundesamt für Migration und Flüchtlinge แปลได้ประมาณ กรมการอพยพและลี้ภัย), Bundesagentur für Arbeit(แปลประมาณกรมการจัดหางาน) หรือ Jobcenter ก็ได้
- เรียนนานกว่าแบบแรก เพราะรัฐบาลสนับสนุน แต่ปีนึงก็เปิดคอร์สไม่บ่อยเท่าแบบแรก บางทีอาจจะต้องรอเป็นเดือน กว่าจะได้เริ่มเรียน
- อารมณ์แบบ เราอาศัยในแบลีนอยู่แล้ว(ด้วย national visa) และจบมหาลัยมีวุฒิวิชาชีพจากต่างประเทศ เลยยังไม่ได้ทำงาน อยากเทียบวุฒิเพื่อทำงานที่นี่ รัฐบาลเลยสนับสนุนออกเงินให้ เพราะจะได้เพิ่มแรงงานเข้าระบบ แล้วมาจ่ายภาษีให้รัฐ ผมอ่านเจอด้วยว่า ต้องอาศัยอยู่ในเยอรมันมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือนด้วย
- รายละเอียดคอร์ส(ภาษาเยอรมัน)
https://academy.charite.de/projekte/
- รายละเอียดคูปอง(ภาษาเยอรมัน)
https://www.arbeitsagentur.de/karriere-und-weiterbildung/bildungsgutschein
แต่อันนี้ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ขอคูปองนะครับ เพราะตอนมาถึงก็เรียนเลย ยังอยู่ในแบลีนไม่ถึง 3 เดือน และตอนยื่นวีซ่าที่ไทยผมก็ต้องยื่นใบลงคอร์สเรียนไปด้วย ก็เลยต้องจ่ายเองครับ🥲 ดังนั้นถ้าถามรายละเอียดเพิ่มเติม ผมจะตอบไม่ได้นะครับใครสนใจแนวทางนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตาม link ที่แปะให้ครับ
เนื้อหาในคอร์สหลักๆจะมี
- Anamnese : ซักประวัติ
- Körperliche Untersuchungen : ตรวจร่างกาย
- Dokumentation : บันทึก medical record
- Patient-Vorstellung und Arzt-Arzt-Gespräch : พรีเซ้นต์เคส
- Deutsche Gesundheitssystem : ระบบสุขภาพของเยอรมัน
หนังสือที่ใช้คือ Deutsch für Ärztinnen und Ärzte (Schrimpf, Lechner) สำนักพิมพ์ Springer มีแจกวันแรกในคอร์ส ไม่ต้องซื้อ
ครูที่สอนหลักๆ จะมี 3 คน
- Martin Lechner เป็น1 ในคนเขียนหนังสือนั่นเอง อันนี้สไตล์สอนจะเป็นแบบเกอเธ่ ฝึกพูดเยอะ มีแผ่นป้าย บัตรคำ เล่นเกม นู่นนี่ ซึ่งดีมาก ไม่ง่วง 55
- Magret เป็นดร. ด้านภาษาศาสตร์ สอนสไตล์เลคเชอร์ พูดไปเรื่อยๆ มี activity บ้างแต่น้อย หลักๆที่ดีคือจะมีสรุปชีทแกรมม่าให้ไว้ใช้เขียน ซึ่งสรุปไว้ดีมากๆ
- Ute เป็น ดร. ด้านจิตวิทยาการแพทย์ จะสอนเรื่องระบบสุขภาพ ประกัน ความสัมพันธ์หมอ-พยบ. วิธีจัดการ difficult patient ในเยอรมัน
- มีครูพิเศษอีก 3 คน เป็น staff ที่ Charité มาสอน EKG, ตรวจร่างกาย neuro, ตรวจร่างกายทั่วไป เป็น cardio, neuro, gen med
สัปดาห์แรกจะให้เราท่อง Anatomy กับคำศัพท์เป็นภาษาเยอรมันก่อน ก็สอนตามในหนังสือเลย
ภาษามันจะมี 3 ระดับ คือ ภาษาชาวบ้านเยอร ภาษาพูดหมอเยอร ภาษาเขียนหมอเยอร ซึ่งสิ่งที่พวกเราจะได้อยู่แล้ว คือ ภาษาเขียนหมอเยอร เพราะมันมักจะเป็นละตินนั่นเอง เช่น Emesis, Abort, Anemie, Palpitation ถ้าคำ anatomy ยาวๆ เช่น anterior superior iliac spine ก็กลายเป็น spina iliaca anterior superior สังเกตว่ามันแค่สลับที่เฉยๆ แต่เราเข้าใจอยู่แล้ว ว่ามันคืออะไร
ส่วนภาษาพูดหมอเยอร กับภาษาชาวบ้านเยอร ส่วนใหญ่มักจะคำเดียวกัน เช่น Erbrochen, Fehlgeburt, Blutarmut, Herzrasen แต่บางทีก็ต้องท่องเพิ่ม ถ้าคำที่ไม่มีภาษาชาวบ้าน ก็ต้องฝึกอธิบายให้คนไข้ฟังด้วยว่ามันคืออะไร
นอกจากนี้ก็ให้ดูคลิปการซักประวัติ แล้วก็ฝึกซักประวัติกัน สลับกันเป็นคนไข้กับเป็นหมอ
มีเรียนอ่าน EKG 1 คาบ ทุกอย่างเหมือนที่ไทยครับ แค่หมอเยอรมันแบ่ง normal Axis ละเอียดกว่าของเราเฉยๆ
ทุกสัปดาห์วันศุกร์จะมี mocking test ฝึกสอบ FSP จะมีนักแสดง มาเป็นคนไข้ปลอมให้เราซักประวัติครับ โดยสัปดาห์แรกจะไม่เก็บคะแนน เป็นสอบ Anamnese อย่างเดียว สัปดาห์แรกเจอแค่คนไข้เป็นคุณลุงปวดหลังมา คนไข้น่ารัก ถามอะไรตอบหมด
สัปดาห์2 ครูเลิกสอน anatomy แล้ว ให้เราไปท่องเองต่อจนจบ ละก็เริ่มสอนเขียน Dokumentation ซึ่งต้องปรับตัวหลักๆคือการเขียนด้วย Konjunktiv I (เทียบเป็นอังกฤษคือ indirect speech) เหมือนเราเขียนว่า คนไข้กล่าวว่า…… บอกว่า…. อ้างว่า…. ตอนเรียน B2 ครูมักจะบอกว่า ถ้าไม่ได้จะเป็นนักข่าว นักเขียน ก็ปล่อยๆไป เอาให้เราอ่านรู้เรื่องก็พอ ไม่ต้องเขียนเป็น แต่ ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนแพทย์ทุกคนครับ หมอเราต้องเขียนได้ครับ 🤣 ก่อนมา เรียนแนะนำ ทวนบท 7 ใน Sicher! B2.2 มาก่อนครับ จะได้ไม่ช็อก
มีเรียนตรวจร่างกาย neuro 1 คาบ สิ่งที่ต่างจากไทยคือมีใช้ turning folk ที่ใช้ตรวจ vibration นอกนั้นก็เหมือนไทยครับ
สัปดาห์นี้เริ่มให้สอบ Anamnese กับเขียน Doku แล้ว แต่ว่าไม่จำกัดเวลาครับ เจอเคส UTI คนไข้ผู้หญิงธรรมดา ให้ความร่วมมือดีครับ
สัปดาห์ที่ 3
จะมีนักจิตวิทยามาสอนเกี่ยวกับระบบสุขภาพ เล่าว่าประกันชีวิตมีกี่แบบ คนไข้จ่ายเงินยังไง พยาบาลทำอะไรบ้าง ขอให้พยาบาลช่วยงานยังไง hierarchy ในร.ร.แพทย์ รพ.ศูนย์ คลีนิก สื่อสารกับอาจารย์ พี่เด๊นท์ เฟลโล่ยังไง วิธีจัดการ difficult patient ที่เป็นคนเยอรมัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่นี่ถ้าคนไข้ปฏิเสธการรักษา หมอคือห้ามรักษาครับ คนไข้มีสิทธิ์ในชีวิตของตนเองเสมอ สามารถเซ็นใบปฏิเสธได้เลย
อีกอย่างที่น่าสนใจ คือ การมีอยู่ของ Marburger Bund ซึ่งเป็นลักษณะ สหภาพแรงงานของบุคลากรการแพทย์ อันนี้เป็นสิ่งที่ไทยไม่มีครับ เค้าจะคอยช่วยเหลือเวลาหมอถูกกดขี่ ทำงานเกินเวลา(ที่นี่ถ้าทำงานเกิน คือผิดกฎหมายครับ) เหยียดเชื้อชาติ/เพศ ถูกทำร้าย ค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม หรือถูกกลั่นแกล้งโดยเพื่อนร่วมงาน/หัวหน้า
โดยองค์กรนี้เป็นเอกเทศจากแพทยสภาและสาธารณสุขอย่างสิ้นเชิงครับ จึงเป็นกระบอกเสียงให้บุคลากรการแพทย์ได้อย่างเต็มที่
สอบสัปดาห์นี้ก็ได้ difficult patient ครับ คนไข้ปวดท้อง 8/10 Cholecystitisมา ER หน้าบึ้งตึง ถามคำตอบคำ บ่นปวดท้องขอยาแก้ปวด เหมือนชีวิตจริงเด๊ะ อันนี้ก็ได้ฝึกเลยครับ ต้องปลอบคนไข้เป็นภาษาเยอรมันแล้วครับ
เขียน Doku จำกัดเวลาเหลือ 30 นาทีครับ
สัปดาห์ที่ 4
ครูจะเน้น ฝึก พรีเซ้นเคส แล้วครับ อารมณ์คล้ายๆรายงานเคสรับใหม่ตอนเช้าให้ staff ที่มาราวน์เช้า ก็อธิบาย PI, PH, U/D, med, review of system, famHx, socialHx จะละเอียดๆหน่อย เหมือนกลับไปเป็น นสพ.ปี4 อีกครั้งครับ
สอบปลายสัปดาห์ คนไข้มารับยาเบาหวาน ตรวจ FBS, A1C แต่บ่นปวดขา เราซักประวัติเพิ่มจะพบว่าไอเรื้อรังจากสูบบุหรี่ —> COPD และขาเป็น peripheral arterial disease
เขียน Doku จำกัดเวลา 25 นาทีครับ
สัปดาห์ที่ 5
ฝึกพรีเซ้นท์เคสต่อ ครูเอาคลิปการ breaking bad news มาให้ดู สอนการแจ้งข่าวร้าย เช่น Cancer HIV อันนี้เหมือนไทยเลย คือพูดเตรียมก่อน อธิบายว่าถ้าเป็นจะให้บอกใครบ้างหรือให้เก็บเป็นความลับ ถ้าเป็นจะทำยังไง อธิบายให้ครบก่อน ค่อยแจ้งข่าวร้าย
สอบปลายสัปดาห์ เจอเคส GERD, gastritis ชอบดื่มกาแฟ กินNSAID แก้ปวด คนไข้น่ารัก แต่จะคอยหยิบมือถือมาตอบแชท และก็รับสายคุยโทรศัพท์ต่อหน้าเรา โดยครูจะดูว่าเราจะรับมือกับสถานการณ์ยังไงครับ
เขียน Doku จำกัดเวลา 20 นาที เหมือนสอบ FSP ของจริงครับ
สัปดาห์สุดท้าย ครูทวนทุกอย่าง โดยรวมๆครับ
ละก็ให้เตรียมสอบ เหมือนจริงตอนเรียนวันสุดท้าย
วันสุดท้าย สอบ คนไข้ถูกส่งจากคลีนิค fam med มารพ. ด้วย HF แต่พอเราซักประวัติ คนไข้จะบอกว่า ไม่ได้เป็นอะไร ไม่รู้ว่าทำไมโดนส่งมารพ. 🥲 ซักดีๆ คุณป้าจะเผยว่า กิน HCTZ แล้วฉี่บ่อย ฉี่ทั้งคืนไม่ได้นอน เลยเอายาทิ้งไป ไม่ได้กิน ระหว่างซักประวัติคุณป้าจะไอตลอดเลย(น่าจะมี pulmonary edema แล้ว) ขาบวม นน.เพิ่ม อาการครบ
สุดท้ายคุณป้าจะถามว่าต้องนอนรพ.หรอ ไม่อยากนอน เราก็ต้องกล่อมว่ามันอันตรายนะ กลัวน้ำท่วมปอด ฯลฯ
เขียน Doku 20 นาที เท่าสอบจริง
หลังจากนั้นครูจะตรวจ Doku ให้คะแนนเลย แล้วประเมินตามเกณฑ์ของ Ärztekammer ว่าเราผ่านหรือเปล่า
พาร์ทสุดท้าย จะสุ่ม 3 คนในห้อง ให้พรีเซ้นเคส ครูจะรีวิวว่าดีไหม ควรแก้ตรงไหน ละก็ถามคำศัพท์ คำศัพท์ของแบลีน จะออกวนๆเดิม ล่าสุด ตค.2021 ก็ยังเป็น pool เดิมครับ
หลังสอบเสร็จจะแจกใบประกาศ จะมีให้เกรดด้วย โดยจะรวมคะแนนสอบ สัปดาห์2-5 แล้วตัดเกรด ใบประกาศนี้เพื่อนในห้องบอกว่า เอาไว้ใช้สมัคร elective ตามรพ. ได้ดีเลย เพราะ Charité ชื่อเสียงดีมากในเบอร์ลิน อันนี้ผมยังไม่เคยลองนะครับ แต่คิดว่าเป็นไปได้
ก่อนจบคอร์สควรจับกลุ่มตั้งกรุ๊ป Whatsapp กันไว้ แล้วใครที่ได้คิวสอบใกล้ๆกัน จะได้นัดติวกัน รอบที่ผมเรียน มีหมอจากสเปนได้คิวสอบวันเดียวกัน หลังจบคอร์สก็เลยติวด้วยกันเกือบทุกวันเลย ซักประวัติกันเอง Doku ก็สลับกันตรวจเอง จนสอบจริง ก็ผ่านทั้งคู่ครับ 😉
เพื่อนในห้องมีหลากหลายชาติมาก เกือบทุกคนเป็น Polyglot มักจะพูดภาษาแม่ตัวเอง+อังกฤษ+เยอรมัน+ภาษายอดฮิตในภูมิภาคตัวเอง บางทีก็จะพูดภาษาที่บังเอิญพูดได้เหมือนกัน ก็มีจับกลุ่มกันบ้าง เช่น กลุ่มอาหรับ(ซาอุ, ซีเรีย) กลุ่มสเปน(สเปน,เอกวาดอร์) กลุ่มรัสเซีย(จอร์เจีย,คีร์กีซสถาน) กลุ่มฝรั่งเศส(มอริเชียส,อัลจีเรีย)
ความหลากหลายในห้องเรียนมีค่อนข้างมาก แต่ทุกคนก็พูดเยอรมันกันเองเป็นส่วนใหญ่ เพราะต้องผ่าน B2 มาก่อนถึงจะมาเรียนคอร์สนี้ได้ รอบที่ผมเรียนมีผมเป็นหมอเอเชียคนเดียวเลยครับ 55 แต่ทุกคนก็น่ารักดี ช่วยกันเรียนครับ
Trick ที่อยากแชร์
สัปดาห์แรกผมคุยกับคนไข้ แบบที่คุยกับเพื่อนเยอรมัน/ครูเยอรมันที่ไทยเลยครับ แค่เปลี่ยนจาก du เป็น Sie เฉยๆ ซึ่งมันจะดูธรรมชาติมากๆ เป็นข้อดี แต่ทีนี้ มันจะมีปัญหาตรงคำถามเวลาซักประวัติ
ถ้าเราคิดประโยคเอง บางทีมันจะไม่ใช่คำที่หมอ-คนไข้พูดกันที่นี่ เช่น ผมชอบติดพูดว่า Wie lange rauchen Sie? ซึ่งจะแปลว่า คุณสูบบุหรี่มานานเท่าไหร่แล้ว คนไข้อาจจะตอบว่า สูบมา 2 นาที เพิ่งจุดตัวแรกเมื่อกี้ 😆 ที่ถูกคือ Seit wann rauchen Sie? อันนี้คนไข้จะตอบว่า สูบมา 10 ปีแล้ว ตั้งแต่อายุ 25 อะไรแบบนี้ครับ
พอสัปดาห์ที่ 2 ผมก็เลยท่องพวก Redemittel เอาไปพูดอย่างเดียว เลยกลายเป็นว่าตอนคุยกับคนไข้ เหมือนหุ่นยนต์พูดแข็งทื่อ แบบท่องมาเลย ดูไม่เป็นธรรมชาติ โดนประเมินคะแนนแย่อีก
สุดท้าย solution ที่ผมเจอคือ เราท่อง Redemittel ให้ขึ้นใจไปเลย แล้วพูดด้วยจังหวะความเร็วเท่ากับประโยคปกติของเรา จากนั้นก็เติมประโยคทั่วๆไปที่เราคิดเอง improvise เองไปด้วย ให้มันดูธรรมชาติ พูดแบบสบายๆไม่ต้องเกร็ง คิดว่าเหมือนคุยกับเพื่อนเลยครับ กรรมการ/ครูจะชอบมาก ความเป็นธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญเลยครับ สำหรับ FSP
อีกอย่างถ้าเป็นไปได้ ผมรู้สึกว่า ถ้าสอบ B2 ผ่านปุ๊บ มาเรียนอันนี้เลย อาจจะพบความยากลำบากได้เป็นบางคน เนื่องจากบางคน schreiben กับ lesen เก่ง แต่ hören กับ sprechen อ่อน อันนี้จะมีปัญหามาก เพราะ Anamnese กับ Patient-Vorstellung คือวัดสกิล hören (ฟังคนไข้เล่าประวัติ+ฟังคำถามจากคนไข้/staff) กับสกิล sprechen (ตอบคำถามคนไข้/staff อธิบายmanagement) โดยตรง
1
ดังนั้น ก่อนมาเรียน ถ้าเป็นไปได้ ควรเรียน C1 ธรรมดามาด้วย ให้เราฟังความเร็วการพูดทั่วไปของคนเยอรมันได้ระดับนึง และตอบคำถามแบบทันทีได้ หรือ ไม่งั้นต้องเสพสื่อภาษาเยอรมัน(ฟัง Tagesschau, ดู Netflix พากย์เยอร)+ ฝึกพูดเยอรมันโต้ตอบกับคนเยอรให้มากๆ(อาจหา Tandem partner หรือไปกรุ๊ป Meetup ก็ได้ครับ) เพราะถึงเวลาเรียนครูสอนภาษาเค้าจะพูดช้ากว่า normal speed นิดนึง แต่เวลาสอบ คนไข้กับกรรมการ พูดเร็วปกติเลยครับ อันนี้สกิล hören ที่ดี จะช่วยเราได้มากๆ
ส่วนเรื่อง Doku นั้น ส่วนใหญ่ก็ทำได้หมด เพราะเรานั่งท่องศัพท์ใหม่อยู่แล้ว เริ่มพร้อมๆกับเพื่อน และก็ต้องเขียนเป็น Konjunktiv I ด้วย ซึ่งไม่มีใครเก่งกว่าใครครับ มาฝึกพร้อมๆกัน ไม่มีปัญหาอะไร
การออกเสียงกับสำเนียงสำคัญไหม การสอบนี้วัดความสามารถในการสื่อสารครับ ดังนั้นสำเนียง ถ้าไม่ strong มาก จนคนไข้เยอรมันไม่เข้าใจ ก็ไม่มีปัญหา แต่การออกเสียงสำคัญมาก เพราะถ้าออกเสียงผิด=ความหมายผิดครับ จะผิดจุดประสงค์ของการสอบไปเลย ถ้าเคยออกเสียงผิดคำไหนบ่อยๆ ควรพยายามแก้ให้ได้ครับ
::::FSP Berlin, Oktober 2021::::
ผมยื่นสมัคร FSP ไปตอนมี.ค. 2021 แต่เขียนไปว่าอยากสอบ ตค. 2021 ครับ พอก่อนถึงเวลาสอบ 1 เดือน(กย.2021) ก็ได้เมลจาก Ärztekammer มาเลย ว่ามีคิวสอบ วันนี้นะ จะสอบเลยไหม ถ้าเราเมลไปว่าตกลงจะสอบวันนี้ ก่อนวันสอบ 2 สัปดาห์เค้าจะเมล ใบเชิญสอบกับเวลาสอบมาให้เราครับ ก็ปริ๊นท์มาเก็บไว้เลย
ก่อนวันสอบควรไปดูสถานที่ก่อน Ärztekammer ไม่ตรงสถานี U-Bahn ซะทีเดียว ลงป้าย Kochstraße ออกฝั่งตรงข้ามกับ Checkpoint Charlie แล้วเดินต่ออีกพอควรครับ ควรไปดูก่อนจะได้ไม่ลนวันสอบครับ
วันสอบ ไปก่อนเวลา ครึ่งชม. ไปรอก่อน จนท. จะให้เรารอตรงล็อบบี้ จนก่อนสอบ 15 นาที จะมาพาเราไปอีกตึก สำหรับสอบโดยเฉพาะ ปิดมือถือ แขวนเสื้อโค้ท ฝากกระเป๋าไว้ที่จนท. ได้ มีห้องน้ำให้เข้า เตรียมตัวให้เรียบร้อยก่อนสอบ
part 1 : Anamnese 20 นาที
ห้องสอบ มีคนไข้ปลอม(นักแสดง) กับกรรมการ2 คน ปกติจะเป็นหมอ1 คน นักภาษาศาสตร์เฉพาะทาง1 คน แต่บางทีเป็นหมอ 2 คนเลยก็มี มีนาฬิกาจับเวลาให้ดูได้ ว่าเหลือกี่นาที เค้าจะบอกว่าเรามีเวลา 20 นาที ที่จะซักประวัตินะ แต่พอเราซักไป 15 นาที คนไข้จะหยุดตอบคำถาม แล้วถามคำถามเรารัวๆ แบบที่เค้าเตี๊ยมกันไว้
ดังนั้นตอนฝึกซ้อมควรจบ Anamnese ให้ได้ใน 15 นาที ของผมเจอคนไข้เป็น MDD ครับ anhedonia, weight gain มา ตอน 5 นาทีสุดท้าย คนไข้ก็ถามรัวๆเลย เค้าเป็นอะไร ทำไมถึงเป็น รักษายังไง หมอจะทำอะไรต่อ จะตรวจอะไร จะส่งเค้าไปรพ.ไหม เขียนใบรับรองแพทย์หยุดงานได้ไหม อันนี้ก็ตอบไปตามสมควรครับ ระหว่างเราตอบกรรมการจะคอยฟังตลอด และตัดสินทักษะทางภาษาของเราครับ
ถ้าหากคนไข้พูดเร็ว แล้วเราฟังไม่ทัน เราบอกให้เค้าพูดใหม่ได้ครับ ในเกณฑ์ให้คะแนนจะมีความเข้าใจของคนไข้อยู่ ถ้าเราถามเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง อันนี้สำคัญมาก ดีกว่าไม่ถามแล้วเข้าใจผิดครับ เคยมีคุณหมอต่างประเทศ ที่สอบตกมาเขียนเล่าไว้ครับ ว่าเค้าเข้าใจผิดว่าคนไข้ปวดขา 2 ข้าง แต่จริงๆปวดแค่ข้างซ้าย แล้วก็เขียนโดส Thyroxin ผิดจาก mcg เป็น mg อันนี้ถือว่าความเข้าใจผิดไปเลย ก็เลยตกครับ
ระหว่างซักประวัติ จะมีกระดาษโน้ตประวัติให้ อันนี้พยายามจดเป็น Fachbegriffe ไปเลยครับ จะได้เซฟเวลาตอนเขียน Doku
ที่ควรระวังคือ หัวกระดาษโน้ตจะไม่เหมือนกับตอนเรียนที่ Charité ซะทีเดียวครับ คือจะเป็น Name, Geburtsdatum, Größer, Gewicht, Allergien, Hausarzt ที่เพิ่มมาคือ Allergien(ของ Charité จะรวมอยู่กับ Medikamente,Noxen) กับ Hausarzt (อันนี้ของ Charité ไม่มีเลย เราต้องถามคนไข้เพิ่ม)
part 2 : Doku 20 นาที
พอจบ part แรก เราจะมีเวลานั่งพัก 5 นาที แนะนำว่าช่วงนี้ ให้เขียน Verdachtsdiagnose กับ DiffDx ไว้เลยครับ จะได้ประหยัดเวลา
ถึงเวลา จนท. จะพามาอีกห้องครับ เลือกได้ว่าจะเขียนหรือพิมพ์ครับ มีนาฬิกาอันใหญ่ตั้งไว้ให้เห็น พอผ่านไป10 นาทีกับ 19 นาที จนท. จะเตือนเราครับ ใจดีมากๆ ผมเลือกพิมพ์เอาครับ
อันนี้แนะนำให้ฝึกกับคีย์บอร์ดเยอรมันของ PC เพราะผมฝึกมากับ notebook มันจะต่างกันตรงปุ่ม shift ด้านซ้าย ที่มันจะเล็กกว่ามากครับ พอเสร็จ จนท. จะปริ๊นท์ Doku เราออกมา เอาไปให้กรรมการคุมสอบดู ใน part สุดท้ายครับ
อันนี้ตอนฝึก เตรียมสอบ แนะนำให้ เขียนให้จบใน 17 นาที ฝึกทุกวัน เพราะเวลาสอบจริง เรามักจะลน และเกินเวลา ถ้าฝึกมาได้ใน 15-17 นาที ก็จะเขียนทันแน่นอน มีเวลาตรวจทานได้ด้วย
part 3 : Patient-Vorstellung, A-A Geschpräch 20 นาที
กระดาษโน้ตจาก part 1 จะยังอยู่กับเรา เอาไว้ใช้รายงานได้ เข้ามาเราก็รายงานคนไข้ไปก่อน แต่ก็พยายามอย่าอ่าน ให้พูดสิ่งที่ซักประวัติมาได้ คิดถึงโรคอะไร เพราะอะไร DiffDx อะไร ทำไมถึงคิดถึงโรคนี้มากกว่า อะไรแย้งว่าไม่เหมือนโรคนี้ DiffDx เอาแค่ 2 โรคก็พอครับ ละก็บอกว่าจะทำไงต่อ เจาะ lab, xray หรือ refer/consult ก็ว่าไป จะให้ยาอะไรก่อน ต้อง NPO เตรียมผ่าตัดมั้ย ฯลฯ
พอเรารายงานจบ กรรมการก็จะถามคำถามเรารัวๆ ช่วงนี้เค้าจะวัดความสามารทางภาษาเราจริงๆ เพราะว่ามันไม่มี Redemittel และเค้าก็รู้อยู่แล้วว่าหมอทุกคนก็ท่อง Redemittel มา เค้าจะดูการโต้ตอบแบบทันที การด้นสด improvise ของเรา ว่าสื่อสารได้ เข้าใจ ไม่สื่อสารผิดพลาด ผมคิดว่าตรงนี้มีส่วนมาก เพราะตอนผมสอบเผลอลืมบทพูดตอนรายงานเคสกะทันหัน brain block เงียบยาวไป 2-3 รอบ แต่สุดท้ายก็สอบผ่าน เพราะตรงตอบคำถาม โต้ตอบได้ในระดับที่กรรมการพอใจ ระหว่างเราตอบเค้าก็จะโน้ตให้คะแนนตลอดเวลา
พอจะจบ ก็เป็น part Fachbegriffe กรรมการจะให้เราเลือกแผ่นป้าย 5 แผ่น แต่ละแผ่นมีคำศัพท์ 5 คำ เราก็ต้องแปลศัพท์เขียนหมอเยอร เป็นภาษาชาวบ้านเยอร กรรมการจะพูดเฉยๆ ให้เราตอบปากเปล่าเลย อันนี้ถ้าท่องมาดี ก็ไม่มีปัญหา สุดท้ายเค้าจะให้เราแนะนำตัวเอง ว่ามาจากประเทศอะไร อยู่แบลีนมานานเท่าไหร่แล้ว จะเรียนเด๊นท์สาขาอะไร เราก็เตรียมๆไปหน่อยก็ดี ถ้าพูดคล่องๆน่าจะเป็นแต้มต่อ
สอบเสร็จกลับมานอนรอที่บ้าน ประมาณ 2 สัปดาห์จะได้ผลสอบส่งมาทางอีเมลครับ ปริ้นท์ผลสอบแล้วเอาส่งไป LAGeSo ได้เลย
ผมจด Anamnese เท่าที่จำได้ไว้ด้วย (เป็นภาษาเยอรมัน) ถ้าใครกำลังจะเตรียมสอบ FSP ที่แบลีน ก็ DM มาได้ครับ เดี๋ยวส่งให้
ส่วนเคสอื่นของเพื่อนที่สอบวันเดียวกัน ที่รู้ มี Grave‘s disease กับ pancreatitis ครับ
ข้อมูลของรัฐอื่น เท่าที่ทราบจากเพื่อนหมอที่เรียน Charité ด้วยกันมีคนยื่น Berlin, Thüringen กับ Brandenburg ครูจะไม่เชียร์ Brandenburg เลยเพราะบอกว่า Doku ต้องเขียนเป็นประโยคเต็มในทุกพาร์ทของ Doku และตอน Patient-Vorstellung ต้องพูดเป็น Konjunktiv I ด้วยซึ่งยากกว่ามาก
3
ในขณะที่ Berlin กับ Thüringen เหมือนกัน คือ มีแค่พาร์ท Aktuelle Anamnese, Dx, Therapieใน Doku ที่ต้องเขียนเต็มประโยค นอกนั้นเขียนเป็น keyword สั้นๆได้ เช่น
Sozialanamnese - Vater: Lungenkarzinom อะไรแบบนี้ และตรง Patient-Vorstellung ให้พูด Präsen/Perfekt ปกติได้เลย ไม่ต้องพูด Konjunktiv I ซึ่งง่ายกว่ามากๆ
เดิม Thüringen จะรอสอบนานกว่า Berlin มาก แต่ปัจจุบัน (ตค.2021) คิวสอบ FSP พอกันทั้งคู่คือ 3-4 เดือน
Thüringen จะรู้ผลสอบ FSP เลยตอนสอบเสร็จ รับใบประกาศเลยถ้าสอบผ่าน ส่วน Berlin ต้องรอผลส่งทางเมล 2 สัปดาห์อย่างที่บอก
ผมทราบแค่ 3 รัฐนี้นะครับ อย่างที่บอกว่ามีเพื่อนในห้องยื่น 3 รัฐนี้กัน เลยถามๆมาเทียบกันครับ รัฐอื่นนอกจากนี้ ต้องหาข้อมูลดูนะครับ
:::: ส่งเอกสารที่เหลือให้ LAGeSo ::::
ถ้าทำตาม timeline ที่ผมเขียนอธิบายไว้ในตอนที่1 จะเหลือเอกสารดังนี้ครับ
1. Ärztliche Bescheinigung ใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยหมอที่เยอรมัน อันนี้ผมกูเกิลง่ายๆเลย หาหมอใกล้ๆที่เราอยู่ แล้วก็โทรไปทำนัดเลยครับ ว่าจะตรวจสุขภาพขอใบรับรองแพทย์ ถึงเวลาก็พิมพ์ฟอร์มเลยจากในเว็บ LAGeSo ไป หมอก็ถามโรคประจำตัว ยา ผ่าตัด ทั่วไปๆ ประวัติวัคซีน ฟัง heart/ lung แค่นั้นเองครับ ราคา vary แล้วแต่หมอเลย ถึงจะทำประกันมา ก็ไม่รวมอยู่ดี เพราะไม่ถือว่าป่วย มีเพื่อนผมจ่าย 15€ เอง ส่วนผมโดนไป 37€ 🥲 แล้วแต่ดวงเลยครับ อันนี้ส่งตัวจริงไปเลยครับ
2. Nachweis der Fachsprachentest ผลสอบ FSP ของเรานั่นเอง ก็พิมพ์จากเมลไปส่งได้เลยครับ ไม่ต้อง beglaubigung
3. Meldebestätigung สำเนาว่ามีที่อยู่ที่แบลีน หลังจากเราย้ายเข้าหอพักที่แบลีนแล้ว เจ้าบ้านจะออกเอกสารให้เรา เอาไปลงทะเบียนบ้านที่เขตครับ อันนี้เราต้องกดจองคิวลงทะเบียนบ้านในเว็บของแบลีน แนะนำให้กดดูช่วง 8.00-8.30 น. วันจันทร์-ศุกร์ กด refresh ทุก 5 นาทีครับ จะมีคิวปล่อยมาเรื่อยๆ เราก็จองแล้วก็ไปที่เขตเลย จะเขตไหนก็ได้ ทำฟรีครับ พอทำเสร็จจะได้ใบทะเบียนบ้านมา ก็เอาไปถ่ายเอกสาร
ทีนี้ก็ step เดิม คือต้องเอาไป beglaubigung แต่ทีนี้เราอยู่ในเยอรมันแล้ว ไม่ได้ทำที่สถานทูตแบบที่ไทยแล้วครับ ต้องไปทำที่เขต เหมือนตอนลงทะเบียนบ้าน ให้กดจองคิวตอน 8 โมง เหมือนเดิม แต่ๆๆ มันจะมีค่าธรรมเนียม 2.5-5€ ครับ และสำนักงานเขตที่แบลีน 90% รับแต่บัตร EC card(บัตรเดบิตของเยอรมันโดยเฉพาะออกโดยธนาคารเยอรมัน)
เท่าที่ดูมา ผมเห็น 2 เขตครับที่รับเงินสด คือ Neukölln กับ Köpennick ผมเองไปทำที่ Neukölln มาครับ จ่ายเงินสดได้ อันนี้จนท. จะปั้มรับรองตรงใบถ่ายเอกสารของเราครับ เราจะเอาใบสำเนาส่งให้ LAGeSo ส่วนตัวจริงเราก็เก็บไว้
พอได้ครบ ก็เอาเอกสาร 3 อันใส่ซอง ไปไปรษณีย์ส่งไปหา LAGeSo เลยครับ ตอนจ่าหน้าซอง อย่างลืมเขียนรหัสเคสของเรากับชื่อจนท.ที่ดูแลเคสเราไปด้วยนะครับ รหัสเคสกับชื่อจนท. จะอยู่มุมขวาบนของ Eingangbestätigung และ Feststellungbescheid ครับ
ร้านปริ้นท์ ปริ้นท์ที่ DM ได้เลยครับ สะดวกมาก ต่อ wifi มือถือกับเครื่องปริ้นเตอร์ของ DM ค่าปริ้นท์หน้าละ 10c ครับ บางเครื่องจะถ่ายเอกสารได้ด้วย
ถ้าจะถ่ายเอกสารเยอะๆถูกๆ แนะนำ ร้าน Copyplanet ตรง Brunnenstraße 149 ครับ ถ่ายเอกสารหน้าละ 2.5c ตกหน้าละไม่ถึง 1 บาท
ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับ Berlin ก็เหมือนเดิมครับ ขอให้ถามในคอมเม้นนะครับ เผื่อมีคนสงสัยเหมือนกันจะได้อ่านไปด้วยกันเลยครับ
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนโชคดีครับ 😉
ปล. ภาพเป็นรูปปั้นของ Paul Langerhans ที่ Charité ครับ เป็นคนค้นพบ langerhans cell ที่ skin กับ islets of Langerhans ใน pancreas ครับ
แพทย์ใช้ทุน
นักศึกษาแพทย์
การแพทย์
3 บันทึก
2
6
3
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย