12 ก.ย. 2022 เวลา 08:33 • การตลาด
การเลี้ยงเหยี่ยวที่เริ่มจากความชอบเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน กลายมาเป็นอาชีพทำเงินเดือนละหลายแสนถึงหลักล้านได้
Facebook: Yala Hawk Falconry
การฝึกเหยี่ยวพบว่ามีมากว่า 4,000 ปี ซึ่งตรงกับยุคโลหะที่มนุษย์เริ่มรู้จักการนำทองแดงมาหลอมเป็นเครื่องมือ แล้วก็ยังเป็นเรื่องบังเอิญที่พบการเลี้ยงเหยี่ยว เริ่มต้นในพื้นที่เดียวกันกับการเริมต้นยุคโลหะ ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำ ไทกริสและยูเฟรทีส ปัจจุบันอยู่ที่ประเทศอิรัก โดยอ้างอิงจากบทกวีโบราณ “มหากาพย์กิลกาเมช (The Epic of Gilgamesh)”
ด้วยลักษณะความสง่างามของเหยี่ยว ในประเทศไทยจึงมีการเริ่มต้นเลี้ยงจากใจรักเน้นเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม แต่ก็ยังอยู่ในกลุ่มคนจำนวนไม่มากนัก นอกจากเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูงแล้ว เฉลี่ยราคาหลายหมื่นบาท/ตัว อีกทั้งยังไม่สามารถเลี้ยงสายพันธ์ไทยได้
เนื่องจากเหยี่ยวเป็นสัตว์อนุรักษ์ ต้องนำเข้าพันธ์เหยี่ยวจากต่างประเทศมา ต้องยื่นขออนุญาตนำเข้าก่อนจึงจะเลี้ยงได้ เป็นเหยี่ยวที่เพาะพันธุ์มาจากฟาร์มที่มีใบรับประกัน หลังจากนั้นให้นำมาแจ้งขออนุญาตกับกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์–CITES หรือที่เรียกว่า ‘อนุสัญญาไซเตส’)
คุณโอกับเจ้าหน้าที่พร้อมปฏิบัติงาน
จากการให้ข้อมูลของ คุณโอ–สิริชัย วัฒนวรรณ ผู้ก่อตั้งชมรม Thai Hawk Master เพื่อเอาไว้แลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมทั้งเป็นศูนย์ฝึกและเพาะพันธุ์เหยี่ยวให้สมาชิกในกลุ่ม ได้ระบุว่า
ด้วยความที่เหยี่ยวเป็นสัตว์ผู้ล่าแห่งท้องฟ้า มีกรงเล็บที่แข็งแรงมาก บรรดานกต่างต่างก็เกรงกลัว นกหลายชนิดได้ก่อปัญหาให้กับผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่วไป ทั้งปัญหาจากการสร้างความรำคาญ ปัญหาเรื่องการความสกปรกที่เกิดจากมูลนก ปัญหาจากโรคระบาดที่มากับนก และอีกหลายหลายปัญหา
นกพิราบคือนกที่สร้างปัญหาให้คนไทยมาก เพราะเป็นนกที่สามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมากและปราศจากการควบคุม ก่อให้เกิดมูลนกและการทำรังที่สร้างความสกปรก รวมทั้งเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคเช่นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วยเหตุผลนี้จึงกลายเป็นที่มาของอาชีพเลี้ยงเหยี่ยวเพื่อไล่นกของคุณโอ
1
ที่มา เครื่องไล่นก
“ยุคใหม่ฯ” เองก็ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมด้านอาหาร ปัญหาที่พบคือบรรดานกที่เข้ามาสร้างความเดือดร้อนรำคาญ ที่ไม่ว่าจะป้องกันอย่างไรก็ไม่สามาถทำได้ อีกทั้งในแต่ละโรงงานก็ต้องมีมาตรฐานรับรองระดับสากล หนึ่งในข้อห้ามก็คือการป้องกันสัตว์พาหะ การไล่นกหรือกำจัดนกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
การใช้เหยี่ยวในการไล่นกเหล่านี้โดยเฉพาะนกพิราบ ทั้งที่โรงงานผลิตอาหารต่างๆ โรงสีข้าว หรือแม้แต่สนามบินที่นกมีโอกาสสูงมากที่ทำความเสียหายให้กับการบิน จึงเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของคุณโอ–สิริชัย เพราะว่าเหยี่ยวสามารถไล่นกพิราบและนกต่างๆได้ ในเวลานั้นในเมืองไทยยังไม่มีบริการด้านนี้ จึงได้เปิดบริษัทขึ้นมาซึ่งก้าวสู่ปีที่ 9 แล้ว
1
ที่มา สร้าง โกดัง
ค่าบริการในแต่ละโรงงานอยู่ระหว่าง 50,000-60,000 บาท/เดือน ทั้งยังต้องมีการไล่หลายครั้งต่อเนื่อง เพราะนกจะกลับมาอีก จึงเป็นแหล่งที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็ยังมีรายได้จากการไล่นกในพื้นที่ๆที่ไม่ใช่แหล่งอาหาร ที่มีค่าบริการครั้งละ 20,000-60,000 บาท
รายได้ที่ได้ต่อเดือนอยู่ที่หลักหลายแสนคาดว่าจะมากกว่าล้านบาทต่อเดือนแน่นอน เพราะประเทศไทยมีการขยายการส่งออกอาหารมากขึ้นด้วย
อาชีพการเลี้ยงเหยี่ยวจึงเป็นอาชีพที่สามารถสร้างได้ที่น่าสนใจและต่อเนื่อง
ที่มา LINE TODAY
สามารถติดตามข้อมูล “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ได้ที่
Tiktok: @modernizationmarketing
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Modernization Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา