27 ก.ย. 2022 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หนี้ท่วมหัว” ปัญหาที่หลายคนต้องเจอ ไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ายังใช้จ่ายเกินตัว ไม่รู้จักเก็บออม และขาดวินัยทางการเงินอย่างรุนแรง อาจทำให้เงินหมดตัว เมื่อถึงวันนั้นก็ต้องหาทางออกด้วยการกู้หนี้ยืมสินแก้ปัญหาไปก่อน แต่ถ้าใครที่แก้หนี้ไม่ไหวมันก็จะสะสมพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็เกิดอาการหนี้สินล้นพ้นตัว และมักแสดงอาการดังนี้
1. กระสับกระส่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ ทานอาหารไม่ลง คิดแต่จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายหนี้
2. จิตใจห่อเหี่ยว ไม่อยากคุยเรื่องเงินกับใคร และถ้ามีหนี้สินท่วมหัวจะชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว
3. เริ่มจ่ายหนี้ช้า จ่ายไม่ครบตามจำนวน และเริ่มเอาเงินเก็บมาจ่ายหนี้
4. ยิ่งจ่ายหนี้ยิ่งเพิ่ม เกิดจากการจ่ายหนี้ แต่ก็ยังไม่หยุดสร้างหนี้ ทำให้เงินต้นและภาระดอกเบี้ยยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หนี้ท่วมหัวจะเคลียร์ยังไงดี?
เช็ก Debt Burden ก่อนหนี้ท่วมหัว
เมื่อมีหนี้ อย่าปล่อยให้หนี้สะสมพอกพูน ลองมาทำความรู้จัก Debt Burden ก่อนหนี้จะท่วมหัวกัน
Debt Burden คือ ความสามารถในการชำระหนี้ หรือ ภาระหนี้ ว่ายังกู้ไหวมั้ย มีเงินพอจ่ายหรือไม่โดยภาระหนี้ (Debt Burden) = (อัตราส่วนชำระหนี้ต่อเดือน/ รายได้ทั้งหมดต่อเดือน) x100
โดยผลที่ออกมาจะเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ถ้าคำนวณแล้ว debt burden สูงถึง 60-70% หมายถึงภาระหนี้สูงเกิน ควรหยุดสร้างหนี้! และเริ่มหาทางแก้ไข
ตั้งสติ อย่าหนีปัญหา และเริ่มแก้ไขกันทีละขั้นดังนี้
1. หยุดก่อหนี้ใหม่ : เป็นการหักดิบ สัญญากับตนเองว่าถ้าหนี้ก้อนเดิมยังไม่หมด ห้ามก่อหนี้ใหม่เป็นอันขาด
2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย : จะทำให้เห็นภาพรวมทางบัญชีว่ามีเงินเข้ามาเท่าไหร่ จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง และยังมีเงินเหลือเก็บบ้างมั้ย ซึ่งจะช่วยลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลงได้
3. เช็กหนี้สินทั้งหมด : ถ้ามีหนี้หลายก้อน ให้ลองเช็กเงินต้น ดอกเบี้ย ยอดผ่อนต่อเดือน เพื่อให้เห็นสภาพหนี้โดยรวมว่ามีอยู่เท่าไหร่บ้าง และลองจัดลำดับหนี้ด้วยการให้หนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดอยู่เป็นอันดับแรก และค่อยๆ ไล่เรียงหนี้ตามดอกเบี้ยลงมา เมื่อคิดจะเคลียร์หนี้ให้เริ่มเคลียรืจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก
4. รวบหนี้ : เมื่อทราบว่ามีหนี้เท่าไหร่แล้ว ทางออกที่ดีที่สุดคือการ “รวบหนี้” หรือ กู้เงินก้อนมาจ่ายหนี้ เพื่อลดภาระผ่อนต่อเดือน และลดดอกเบี้ยลงได้ ซึ่งควรกู้เงินในระบบจากสถาบันการเงินห้ามไปกู้นอกระบบเป็นอันขาด
ทั้งนี้ในกรณีที่มีหนี้หลายก้อน แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องเงิน ทำให้ไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด สามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อเจรจาขอประนอมหนี้ได้ โดยสามาถขอยืดระยะเวลาผ่อนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน หรือหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำกว่าและทำการรวบหนี้ไว้ที่เดียว ก็เป็นทางออกให้ผ่านพ้นวิกฤตนั้นไปได้
5. หารายได้เพิ่ม : หารายได้เสริมมาช่วยเคลียร์หนี้ เป็นทางออกที่ดีที่ทำให้หนี้หมดได้ไวขึ้น
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนขอสินเชื่อ
1. ต้องมีวัตถุประสงค์ในการกู้ที่ชัดเจน ก่อนกู้ควรรู้ว่าจะกู้ไปเพื่ออะไร เราควรกู้เมื่อจำเป็นเท่านั้น อย่ากู้เพื่อสนองความต้องการหรือความอยาก เพราะจะทำให้เกิดหนี้โดยไม่จำเป็น
2. คำนวณภาระหนี้ก่อนกู้: เช็กให้ชัวร์ว่ากู้มาแล้วจะผ่อนไหวมั้ย? ที่สำคัญควรจัดการหนี้เก่าก่อนกู้หนี้สินก้อนใหม่ เพื่อที่ได้ไม่สร้างภาระผ่อนที่สูงเกินไป
3. วางแผนสภาพคล่อง : ก่อนกู้ต้องเช็กข้อมูลสินเชื่อเพื่ออวางแผนให้ดีก่อนกู้ รวมถึงวางแผนชำระหนี้ว่า รายรับที่มี เทียบกับภาระหนี้ทั้งหมดแล้ว มีเงินเหลือพอที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่ และมีเงินเหลือพอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือเปล่า ถ้ามีภาระที่สูงเกินไปก็ยังไม่ควรกู้เพิ่ม หรือถ้าจำเป็นต้องกู้เพิ่มก็ควรหารายได้มากกว่าหนึ่งทาง
4. ชำระหนี้อย่างมีวินัย เมื่อได้สินเชื่อมาแล้ว การวางแผนใช้เงิน และชำระเงินเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เงินที่ได้มาให้ใช้อย่างตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และวางแผนชำระหนี้เมื่อครบกำหนดชำระเพื่อสร้างประวัติชำระหนี้ที่ดี สร้างเครดิตให้สามารถกู้เพิ่มได้ในอนาคต
ถึงจะมีหนี้ท่วมหัว ก็ยังสามารถแก้ไขได้ ถ้าใจสู้ และมีความรู้ทางการเงินที่ถูกต้อง ที่สำคัญเราต้อง มีวินัยในการจ่ายหนี้ เพื่อรักษาเครดิตการเงินให้ดี และถ้าต้องการเคลียร์หนี้ให้หมดไว ก็ต้องหมั่นเก็บออม ตัดรายจ่ายที่ไม่เป็น และหารายได้เสริมเพิ่มรายได้เพื่อมาเคลียร์หนี้ให้หมดไวขึ้น
ดูคลิปเต็มกู้สตอรี่ EP5 : หนี้ท่วมหัวจะเคลียร์ยังไงดี? ได้ที่ >> https://www.facebook.com/watch/?v=2413162035531004
กดสมัครของสินเชื่อด้วยตนเองได้ง่ายๆ ผ่านแอป SCB EASY >>
ที่มา : รายการกู้สตอรี่ EP5 : หนี้ท่วมหัวจะเคลียร์ยังไงดี? โดยโค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ออกอากาศวันที่ 6 กันยายน 2565
โฆษณา