12 ก.ย. 2022 เวลา 10:11 • ไอที & แก็ดเจ็ต
ไขข้อข้องใจ ทำไมมือถือ (ไม่ใช่แค่ไอโฟน) หยุดแถมหัวชาร์จในกล่อง
เมื่อก่อนเวลาซื้อสมาร์ทโฟน ของแถมในกล่องพื้นฐานที่ต้องมีคือที่ชาร์จแบต ซึ่งรวมทั้งหัวชาร์จ และสายชาร์จ, สายหูฟัง, เคสใส และคู่มือการใช้งานต่างๆ แบรนด์ไหนอยากทำการตลาดก็จะแถม accessories อื่นๆ อย่าง ไม้เซลฟี่ หมอน แก้ว
5
แต่นั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะบางสมาร์ทโฟนเดี๋ยวนี้ มาในแพ็กเกจเล็กลง ของแถมมีอย่างเดียว คือสายชาร์จเท่านั้น ไม่แถมหัวชาร์จหรืออะแดปเตอร์ให้แล้ว ผู้จุดเทรนด์ก็คือ Apple ตามมาด้วย Samsung, Google Pixel ล่าสุด Oppo บางรุ่นก็จะเอาด้วย รวมถึง Redmi Note 11SE ของ Xiaomi และแบรนด์น้องใหม่ Nothing Phone
3
เรื่องนี้มีเหตุผลเบื้องหลังหลักๆ คือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราจะค่อยๆ แจกแจงกันไปในบทความนี้
7
[ Apple นำเทรนด์ ]
4
Apple หยุดแถมหัวชาร์จอะแดปเตอร์ และสายหูฟังใน iPhone 12 ในงานเปิดตัวครั้งนั้น (ปี 2020) Apple ให้เหตุผลว่า ผู้ใช้งาน Phone ส่วนใหญ่มีหูฟัง Lightning อยู่แล้ว และหลายๆ คนก็เปลี่ยนไปใช้หูฟังไร้สาย
1
ตรงหูฟัง มีประเด็นนิดหนึ่งด้วยว่า สมาร์ทโฟนใหม่ๆ ไม่ค่อยมีรูหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรแล้ว เพราะคนใช้งานน้อยลง และจะได้มีพื้นที่ในตัวเครื่องไว้เสริมฟังก์ชั่นอื่นๆ
3
Apple ยังบอกด้วยว่า ตอนนี้มีอะแดปเตอร์แปลงไฟของ Apple มากกว่า 2 พันล้านชิ้นที่อยู่ในมือผู้บริโภคแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นอะแดปเตอร์ที่ผลิตโดยแบรนด์อื่น
1
เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเหล่านี้ Apple จึงหยุดแถมทั้งสองตัวมาให้ในกล่อง ช่วยลดการใช้ทรัพยากร บรรจุภัณฑ์ของ iPhone มีขนาดเล็กลง
Apple จึงสามารถจัดส่งโทรศัพท์ได้มากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในด้านลอจิสติกส์
8
หลังจากนั้น Samsung ก็เอาด้วยใน Galaxy S21 สมาร์ทโฟนรุ่นต่อๆ มาของ Samsung ก็หยุดแถมหัวชาร์จ ทั้งรุ่น flagship อย่าง Galaxy Z Fold, Flip ไปจนถึงมือถือรุ่นกลางอย่าง Galaxy A และ M ซีรีส์
4
[ ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ จริงรึเปล่า ]
3
แน่นอนว่าถ้าสมาร์ทโฟนแบรนด์ใหญ่ๆ หยุดแถมหัวชาร์จ ก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้
แนวคิดของ Apple ถูกส่วนหนึ่งคือ ลูกค้ามีอะแดปเตอร์อยู่แล้ว ทั้งของ Apple เอง และของยี่ห้ออื่น หรือของอุปกรณ์อื่นที่มันสามารถใช้ร่วมกันได้ ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันในแบรนด์ accessories
และถ้าเราลองมองดูรอบตัว เราอาจมีอะแดปเตอร์อยู่แล้วโดยไม่ต้องซื้อใหม่ก็ได้ ลองคิดเล่นๆ ว่า สมาร์ทโฟนโดยเฉลี่ยมีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี ดังนั้น หากเราเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนตั้งแต่ iPhone เครื่องแรก เราก็อาจจะมีสมาร์ทโฟนผ่านมาประมาณ 5 เครื่องแล้ว มีอะแดปเตอร์อยู่รอบๆ ตัวเราไม่ต่ำกว่า 2 ก้อน
3
แต่ทฤษฎีข้างต้น ใช้ได้ผลจริงรึเปล่า?
ตอนนี้ยังเป็นเรื่องที่พูดยาก ยังไม่มีใครรู้ในเชิงจำนวน ว่านโยบายเลิกแถมอะแดปเตอร์ ช่วยเราลดขยะไปมากเท่าไร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ เราจะต้องจ่ายมากขึ้นในการซื้ออะแดปเตอร์
5
ถึงแม้ลูกค้าจะมีอะแดปเตอร์ Apple อยู่แล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีเปลี่ยน iPhone ที่ผ่านมา มาพร้อมกับอะแดปเตอร์ Lightning แต่รุ่นปัจจุบัน มาพร้อมสาย USB-C to Lightning ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่วมกับแท่นชาร์จ iPhone รุ่นเก่าได้
6
และในกรณีที่ลูกค้าต้องการขายต่อ ถ้าอยากขายได้ราคาดี ก็ต้องขายทั้งชุด ทั้งมือถือ สายชาร์จ อะแดปเตอร์ ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอะแดปเตอร์อยู่กับตัว
1
การพัฒนาเทคโนโลยีการชาร์จ ยิ่งทำให้อุปกรณ์เราล้าสมัยไวขึ้น เมื่อก่อน อะแดปเตอร์กำลังสูงมีเอาต์พุตสูงสุด 18W หรือมากกว่านั้น แต่ตอนนี้ ความเร็วไปไกลมากกว่า 65W แล้ว ซึ่งถ้าเราอยากใช้อะแดปเตอร์ที่รองรับชาร์จเร็ว ได้เท่ากับที่มือถือมี ก็ต้องซื้อใหม่อยู่ดี เพิ่มขยะบรรจุภัณฑ์ พลาสติก และเพิ่มรอบการขนส่งขึ้นไปอีก
1
ดังนั้น จึงตอบยากมากๆ ว่าการที่บรรดาแบรนด์มือถือไม่แถมอะแดปเตอร์ ช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้จริง และทำให้ผู้บริโภคอดคิดไม่ได้ว่า ผู้ผลิตมือถือแค่อยากเอากำไรมากขึ้น โดยยกข้ออ้างสิ่งแวดล้อมมาบังหน้ารึเปล่า
3
[ ทางออกอยู่ตรงไหน ]
นโยบายนี้ทำให้รัฐบาลบางประเทศไม่เอาด้วย อย่างบราซิลชัดเจนมาก ตั้งแต่ Apple ทำนโยบายไม่แถมอะแดปเตอร์ องค์กรสิทธิผู้บริโภคของบราซิล Procon-SP ขอให้ Apple จัดเตรียมเอกสารที่พิสูจน์ว่าการถอดที่ชาร์จออกจากกล่องนั้นดีต่อสิ่งแวดล้อม
2
ล่าสุด บราซิล ไปไกลกว่านั้น สั่งแบนไม่ให้ขาย iPhone แล้ว โดยตอนนี้อยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ของ Apple ซึ่งนี่เป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะไม่ใช่แค่ Apple หลายแบรนด์เริ่มไม่แถมอะแดปเตอร์ในบางรุ่นแล้ว
2
ฝั่งบริษัท และฝั่งผู้บริโภค ต่างก็มีเหตุผลหนักแน่นกันทั้งนั้น แล้วทางออกอยู่ตรงไหน
บทความเรื่อง What’s the Deal With Smartphone Makers Not Including Chargers? จากเว็บไซต์ MUO เสนอไว้ว่า หากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเลือกแล้วที่จะไม่แถมอะแดปเตอร์ ก็ควรลดราคาลงจากเดิม เพื่อให้ไม่ดูเอาเปรียบผู้บริโภคเกินไป
8
และควรเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค ด้วยการเสนอขายทั้งแบบมีและไม่มีอะแดปเตอร์ ในราคาต่างกัน ให้ลูกค้าเลือกเองว่าต้องการอะแดปเตอร์หรือไม่ ถือว่า win-win-win กับทุกคน คือผู้ผลิตประหยัดได้บางส่วน ผู้บริโภคมีอิสระในการตัดสินใจ และลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่จำเป็นได้
11
โฆษณา