12 ก.ย. 2022 เวลา 17:42 • การศึกษา
สรุป พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
การบริหารราชการ (หลักการ) ต้องเป็นไปเพื่อ
  • 1.
    ประโยชน์สุขของประชาชน
  • 2.
    เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • 3.
    ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
  • 4.
    การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
  • 5.
    การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ
  • 6.
    การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
*** การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึง หลักการ (6 ข้อ)
การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยคำนึงถึง
  • 1.
    ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน
  • 2.
    การมีส่วนร่วมของประชาชน
  • 3.
    การเปิดเผยข้อมูล
  • 4.
    การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน (ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ)
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
  • 1.
    ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
  • 2.
    ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
  • 3.
    ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ให้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้น ๆ
นายกรัฐมนตรี รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ (กรณีตำแหน่ง/อัตรา เพิ่มขึ้น)
การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (กรณีตำแหน่ง/อัตรา ไม่เพิ่มขึ้น)
การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (ระบุการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย)
การยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การแบ่งส่วนราชการภายใน
  • สำนักงานรัฐมนตรี
  • กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
*** ออกเป็นกฎกระทรวง (ระบุอำนาจหน้าที่ราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย) โดย "รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการ" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา = ใช้บังคับได้ ***
นายกรัฐมนตรี = เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา
รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี = เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
นายกรัฐมนตรี (ฐานะหัวหน้ารัฐบาล) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหาราชการแผ่นดิน
- เพื่อการสั่งให้รายการ ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ
- จะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้ (กรณีจำเป็น)
- มีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการ (กลาง/ภูมิภาคท้องถิ่น)
2. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวง
3. บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง (สังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็น กรม)
4. สั่งให้ข้าราชการ (สังกัด กระทรวง ทบวง กรม) มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
5. แต่งตั้งข้าราชการ (สังกัด กระทรวง ทบวง กรม) ไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง (การแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี)
6. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นที่ปรึกษา หรือเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
7. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
8. วางระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้การบริหารรสชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
9. ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
* (ข้าราชการการเมือง) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชกาค "ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี"
* (ข้าราชการการเมือง) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ"
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ"
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ"
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ "ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี"
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ"
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ"
สำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากมี นายกฯรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มี
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายตาม"
* (ข้าราชการพลเรือนสามัญ) ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี "เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติ ตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายตาม"
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ
รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี (ยกเว้นราชการของ ส่วนราชการซึ่งกฎหมายกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี)
จัดระเบียบราชการของกระทรวง
  • 1.
    สำนักงานรัฐมนตรี (มีฐานะเป็น กรม)
  • 2.
    สำนักงานปลัดกระทรวง (มีฐานะเป็น กรม)
  • 3.
    กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (มีฐานะเป็น กรม)
*** การแต่งตั้งอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนราชการให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ***
* รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา
* รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
* ปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
* รองปลัดกระทรวง เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย
สำนักงานรัฐมนตรี
- มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
* (ข้าราชการการเมือง) เลขานุการรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรี "ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง"
* (ข้าราชการการเมือง) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
- มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ
รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
กรม (สังกัดหรือไม่สังกัดนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง) อาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
  • 1.
    สำนักงานเลขานุการกรม
  • 2.
    กอง หรือ ส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
*** กรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กำหนดในกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
* อธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตาม เป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา
* รองอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชารองจากอธิบดี และช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการ (ตามที่อธิบดีมอบหมาย)
สำนักงานเลขานุการกรม
- มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม และราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
* เลขานุการกรม เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการกรม
กอง หรือ ส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
- มีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ
* ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบเท่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากอง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
- เลขาธิการ/ผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น (เทียบเท่าปลัดกระทรวง/อธิบดี) เป็นบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด
- รองเลขาธิการ/รองผู้อำนวยการหรือตำแหน่งรองของตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น (เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และช่วยปฏิบัติราชการแทน)
- ผู้ช่วยเลขาธิการ/ผู้ช่วยผู้อำนวยการหรือตำแหน่งผู้ช่วยของตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น (เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และช่วยปฏิบัติราชการแทน)
การปฏิบัติราชการแทน
- อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการ อื่น ที่ผู้ดำรงตำแหน่งใด จะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฏหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
- ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน หรือ ส่วนราชการอื่นหรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้
การรักษาราชการแทน
กรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ (ไม่มี/ไม่อยู่/ป่วย/ตาย/ลา/ขาด) ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน
- ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
- ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน
- ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
- ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
การบริหารราชการในต่างประเทศ
"คณะผู้แทน" หมายความว่า บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจำการในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน (สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่/สถานกงสุล/สถานรองกงสุล/ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น)
"หัวหน้าคณะผู้แทน" หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล
"รองหัวหน้าคณะผู้แทน" หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
  • 1.
    จังหวัด
  • 2.
    อำเภอ
จังหวัด ให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด (มีฐานะเป็นนิติบุคคล)
- ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัด = (เป็นประธาน)
รองผู้ว่าราชการจังหวัด, ปลัดจังหวัด, อัยการจังหวัด (เป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด), ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด, หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่างๆ (เป็นกรมการจังหวัด)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัด (เป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ)
จังหวัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด
"ผู้ว่าราชการจังหวัด, รองผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด"
เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ
"ปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ"
เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัด กระทรวง ทบวง กรม นั้น ในจังหวัดนั้น
คณะกรรมการธรรมาภิบาล เรียกโดยย่อว่า "ก.ธ.จ."
- ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการ (6 ข้อ)
ก.ธ.จ. ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัดเป็นประธาน ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น (ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร) และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
หน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัด เรียกว่า อำเภอ
- การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
* (นายอำเภอ) เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
* (ปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ) เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง กรมนั้น ในอำเภอนั้น
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ
1. สำนักงานอำเภอ
- มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้นๆ
- นายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
2. ส่วนต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอ
- มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ
- หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นฯ
  • 1.
    องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • 2.
    เทศบาล (เทศบาลนคร/เทศบาลเมือง/เทศบาลตำบล)
  • 3.
    สุขาภิบาล (ปัจจุบันไม่มีแล้ว)
  • 4.
    ราชการส่วนท้องถิ่นตามที่มีกฎหมายกำหนด (กทม. และ เมืองพัทยา)
โฆษณา