ขอให้โลกนี้ไม่มีพันธุฆาต (No More! Genocide)
EP.8: HAND IN HAND 🤝🌍♾️
วันสุดท้าย ของ
Holocaust and Genocide studied workshop
•
ในวันนี้ทางพิพิธภัณฑ์ได้โยนคำถามสำคัญกลับมา
ให้เราตกตะกอนความคิดกันว่า…
•
เหยื่อจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุสามารถกลายเป็นไทยมุงที่คอยยืนดูเฉยๆ หรือกลายเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง ได้หรือเปล่า?
•
ในประเด็นนี้ หญิงชาวยิวผู้ที่รอดชีวิตจากค่าย Auschwitz II คนหนึ่ง เล่าให้เราฟังว่า…
•
“ฉันต้องการที่จะพูดจากประสบการณ์ของตัวเอง แน่นอนในฐานะชาวยิวคนหนึ่งที่ถูกคุมขัง ฉันคือ “เหยื่อ” ของเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุในครั้งนี้ … แต่คำถามคือ แล้วถ้าเกิดว่ามีหญิงชาวยิวอีกคนหนึ่งอุ้มลูกน้อยของตนเองลงจากรถไฟ ณ บริเวณชานชาลาคัดแยกในค่าย Auschwitz II จากนั้นด้วยความกลัวหรืออะไรก็ตาม ส่งผลให้หล่อนตัดสินใจผลักไสลูกเล็กๆคนนั้นให้ออกไป เด็กน้อยร้องไห้จ้า ขณะที่ผู้เป็นแม่พยายามทำทีว่าเด็กน้อยคนนี้ไม่ใช่ลูกของเธอ เพื่อที่ว่าจะให้ตัวเองเธอเองนั้นรอดจากการถูกส่งไปห้องรมแก๊ส … แล้วแบบนี้เราจะเรียกหญิงคนนี้ว่าเป็น “ผู้กระทำผิด” … ได้ไหม?”
•
นอกจากนี้ยังมีคำถามสำคัญๆตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น
•
ทำไมผู้คนมากมายถึงถูกทำให้กลายเป็นฆาตกรที่โหดร้ายในช่วงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ?
•
ทำไมฝ่ายสัมพันธมิตรถึงไม่ตัดสินใจทิ้งระเบิดใส่ค่ายกักกันที่โหดร้ายเหล่านี้ ในช่วงที่มีโอกาส?
•
ถ้าไม่มีฮิตเลอร์สักคน ค่ายกักกันอย่าง Auschwitz ทั้งสามแห่ง และเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวแบบนี้ จะยังคงเกิดขึ้นไหม?
•
จากเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว เราจะสามารถป้องการการเกิดการทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันแบบนี้อีก อย่างจริงจัง อีกทั้งเป็นรูปธรรมได้อย่างไร?
•
และ โลกที่ปราศจาก Genocide สามารถเกิดขึ้นได้จริงไหม?
•
เอาจริงๆผมกับเพื่อนๆที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้อีก 13 คน ไม่อาจตอบได้ทั้งหมดหรอกครับ … เพราะคำถามเหล่านี้ บางทีมันอาจถูกดีไซน์มาให้มนุษย์โลกอย่างเราๆทุกคนมาช่วยกันร่วมหาคำตอบ … เสียมากกว่า
•
และสุดท้าย ก่อนที่จะจบซีรีย์ No More! Genocide ชุดนี้ไป ผมขออนุญาตทิ้งท้ายด้วยคำพูดของเจ้าของโรงงานภาชนะชาวเยอรมัน ที่ได้ลงมือช่วยชีวิตชาวยิวไว้ได้หลายพันคนในช่วงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ อย่าง Oskar Schindler ที่กล่าวว่า…
.
“ชีวิตจะมีความหมาย
ตราบเท่าที่คุณได้ออกไปช่วยชีวิตผู้คน”
.
ขอบคุณที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่นะครับ 🙏🏻☺️
#aDailyBread 🍞😊👋🏻