Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ข่าวอัพเดท Russia-Ukraine War
•
ติดตาม
13 ก.ย. 2022 เวลา 03:40 • การศึกษา
The Gerasimov Doctrine - เมื่อสงครามไม่ได้มีมิติเดียวอีกต่อไป
กรณีศึกษา: Hybrid Warfare การยึดครองแคว้นไครเมียของรัสเซีย
รัสเซียเป็นตัวอย่างของการทำสงครามรูปแบบใหม่ด้วยการใช้ยุทธวิธีนอกแบบผสมผสานกับ ยุทธวิธีในรูปแบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่ต้องการ จากการศึกษากรณีความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียในประเด็นของวิกฤตการณ์ไครเมีย สามารถอธิบายได้ว่า ข้อมูลพื้นฐานและภูมิศาสตร์ของไครเมีย ไครเมียถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทะเลดำ ที่จะเข้าสู่ดินแดนยูเรเซียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อีกทั้งเป็นรัฐกันชนระหว่างรัสเซียกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(North Atlantic Treaty Organization: NATO) ที่ได้ขยายอิทธิพลเหนือดินแดนที่แต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต รวมถึงยังมีทรัพยากรธรรมชาติทางพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ หรือก๊าซธรรมชาติเหลว
General of the Army "Valery Vasilyevich Gerasimov" กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย ผู้คิดค้น Gerasimov Doctrine
อ้างอิงจากเอกสารเผยแพร่
มุมมองการสงครามสมัยใหม่
“Hybrid Warfare”
- กวิรัศมิ์ นนท์จีรพัส
- วิศรุฒ เอี่ยมประกอบกิจ
ผู้เขียน
การสงครามในยุคปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือหรือปฏิบัติการที่เป็นลูกแบบผสมผสานจนแทบจะเป็นเรื่องปกติในยุคปัจจุบัน แม้กระทั่งกลุ่มติดอาวุธในเวทีระหว่างประเทศไม่เคยใช้วิถีปฏิบัติเดียวในการต่อสู้กับอำนาจรัฐ
หากแต่พวกเขาใช้ทุกวิถีทางในการสงครามจนเป็นเรื่องปกติและลักษณะของสงครามที่มีการผสมผสานเช่นนี้ถูกเรียกในหมู่นักทฤษฎีการทหารว่า “สงครามไฮบริด” (Hybrid Warfare) อาจเรียกว่า “สงครามพันทาง”
ในแง่ของการสงคราม คำว่า“Hybrid”ซึ่งแปลว่าพันทางหรือลูกผสมนั้น มีคำนิยามที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปของผู้นิยาม แต่ในความเข้าใจของผู้เขียน สงครามพันทาง (Hybrid Warfare) นั้นหมายถึงการผนวกรวมระหว่างสงครามตามแบบ (Conventional Warfare) และสงครามนอกแบบ (Unconventional Warfare) โดยเน้นไปที่การใช้พลังอำนาจทางทหารทั้งในระดับยุทธการและยุทธวิธีในการทำสงคราม
ภัยคุกคามแบบลูกผสมนี้ คือส่วนผสมของความหลากหลายและพลวัตของกองกำลังแบบประจำการและไม่ประจำการ องค์ประกอบของอาชญากรรม หรือไม่ก็เป็นส่วนผสมของที่กล่าวมาที่เอามาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยใช้เครื่องมือทั้งกองกำลังในแบบ นอกแบบ การทูต ข่าวสารข้อมูล กองทัพหลักเครื่องมือ ทางเศรษฐกิจเพื่อสั่นคลอนเสถียรภาพฝ่ายตรงข้าม
รูปแบบการทำสงครามของ Hybrid Warfare จึงเป็นการใช้ปฏิบัติการทางทหารร่วมกับปฏิบัติการด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งทางการทูต (Diplomatic) การเมือง (Political) สังคม (Social) เศรษฐกิจ (Economic) หรือด้านข้อมูลข่าวสาร (Information) โดยใช้โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) หรือปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation : IO) โจมตีฝ่ายตรงข้ามในทางอ้อมด้วยการ บิดเบือนข้อเท็จจริงและเผยแพร่ชุดข้อมูลนั้นให้มวลชนเกิดความเชื่อและคล้อยตาม
Hybrid Warfare Chart
สหรัฐฯ จึงพยายามเข้ามาขยายอิทธิพลเหนือ ดินแดนยูเครนโดยการเผยแพร่อุดมการณ์เสรีนิยมในรูปแบบของอำนาจอ่อน (Soft Power) เพื่อดึงให้ยูเครนเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union : EU) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
ในเวลานั้นนายพลเจราซิมอฟซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะเสนาธิการกองทัพรัสเซียได้คิดค้นยุทธศาสตร์ใหม่ของรัสเซียในการทำสงครามพันทางโดยหลักการดังกล่าวเรียกว่า หลักนิยมเจราซิมอฟ (The Gerasimov Doctrine) โดยผสมผสานระหว่างยุทธวิธีทางทหารและยุทธวิธีในมิติอื่น กล่าวคือ
มีการส่งกองกำลังทหารไปตามเขตแนวชายแดน โดยอ้างว่าเป็นการฝึกซ้อมรบ และในระหว่างการฝึกซ้อมก็ใช้ยุทธการนอกแบบ เพื่อคุมจุดยุทธศาสตร์ทหารที่สำคัญและให้การสนับสนุนอาวุธแก่กลุ่มก่อความไม่สงบในไครเมีย ที่สนับสนุนรัสเซีย ขณะเดียวกันรัสเซียก็ใช้ปฏิบัติการข่าวสารหรือ IO ด้วยการผลิตโฆษณาชวนเชื่อเพื่อโน้มน้าวให้ชนชาติรัสเซียในไครเมียคล้อยตาม เนื่องจากไครเมียมีประชากรเชื้อสายรัสเซีย มากกว่าร้อยละ 50 จากประชากรทั้งหมด
การใช้กำลังทหารเคลื่อนพลเข้าผนวกรวมไครเมียเมื่อปี 2014
จากกรณีข้อศึกษาวิกฤตการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซีย สามารถสรุปได้ว่ายุทธศาสตร์ที่รัสเซียใช้ทำ Hybrid Warfare มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1.
รัสเซียใช้กองกำลังรบตามแบบเพื่อคุ้มครองปกป้อง และสนับสนุน กองกำลังของรัสเซียตามเขตแนวชายแดน
2.
รัสเซียมีการใช้กองกำลังนิวเคลียร์เพื่อป้องกันการตอบโต้ทางทหารของรัฐเป้าหมาย
3.
รัสเซียใช้ปฏิบัติการข่าวสารหรือ IO ด้วยการใช้โฆษณาชวนเชื่อเพื่อสนับสนุนและสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการทางการทหาร
4.
รัสเซียสามารถปฏิเสธการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการดังกล่าว หากปรากฏหลักฐานที่บ่งชี้ว่ารัสเซียเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
แหล่งที่มา
มุมมองการสงครามสมัยใหม่ “Hybrid Warfare” -
http://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/Journal/article-00506.pdf
สงคราม
5 บันทึก
3
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รวมบทความทั่วไป
5
3
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย