13 ก.ย. 2022 เวลา 08:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอวกาศ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการไล่ล่าทรัพยากรครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ?
นักวิเคราะห์หลายคน เชื่อว่าการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ในอุตสาหกรรมอวกาศ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการไล่ล่าทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์: การขุดบนดวงจันทร์ ดาวอังคาร และดาวเคราะห์น้อย
เมื่อปี 2020 NASA ได้คัดเลือกบริษัทสี่แห่ง เพื่อสกัดแร่ Regolith บนดวงจันทร์ รวบรวมทรัพยากรอวกาศและโอนกรรมสิทธิ์ ให้กับหน่วยงาน: Lunar Outpost of Golden, Colorado; Masten Space Systems ของ Mojave from California; ispace Europe of Luxembourg; and ispace Japan of Tokyo
ข้อเท็จจริง ที่เราทราบ คือ “ทรัพยากรของระบบสุริยะจักรวาลนั้น แทบไม่มีขีดจำกัดเลย เมื่อเทียบกับดาวโลก”
ในระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์มากมาย ถ้านับเฉพาะดวงจันทร์ ก็เกินหลายสิบดวงแล้ว ยังไม่นับดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ อีกนับหลายพันดวง แทบไม่ต้องสงสัยเลย ว่าจะได้พบเจอวัสดุจำนวนมหาศาลที่ประเมินราคามิได้ (หากนำมันกลับมาบนโลก)
Jeff Bezos ได้แสดงวิสัยทัศน์เกินจินตนาการในเรื่องนี้ว่า “มนุษยชาติกำลังส่งออกอุตสาหกรรมหนักเคลื่อนที่ไปสู่อวกาศและ โลกของเราจะถูกปรับให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น”
อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ว่า “พื้นที่อวกาศ ตลอดจนดาวเคราะห์ต่างๆ นอกโลกเรานั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้การจัดสรรของชาติใดชาติหนึ่ง ที่จะอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้นได้" เป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ประเทศต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และประกาศกรรมสิทธิ์เหนือดวงจันทร์ หรือ ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาลนี้
สหรัฐอเมริกา กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากโครงการ Artemis ที่ทะเยอทะยาน (แม้จะขุรขระบ้าง ณ ตอนนี้) เพื่อนำกลุ่มชาติพันธมิตรกลับสู่ดวงจันทร์ และยังเป็นผู้นำในโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย ของการแสวงหาผลประโยชน์จากแหล่งแร่อวกาศ สหรัฐอเมริกา กำลังเริ่มจุดคบเพลิงนี้ ด้วยการประกาศกฎหมายทรัพยากร อวกาศฉบับแรกของโลกมาใช้
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาไม่โดดเดี่ยวแน่ เพราะ ลักเซมเบิร์กและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็เริ่มทำกฎหมายจัดสรรทรัพยากรอวกาศฉบับของตนเองแล้วเช่นกัน โดยหวังว่าจะดึงดูดเม็ดเงินการลงทุน ไปยังประเทศที่เป็นฐานทัพของตนด้วยกรอบกฎหมายที่เป็นมิตรกับธุรกิจ
ด้านจีนก็ตระหนักว่า การพัฒนาทรัพยากรอวกาศเป็นวาระสำคัญระดับชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ ที่จะท้าทายความเป็นอันดับหนึ่งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของสหรัฐฯ ในอวกาศ เช่นเดียวกันกับ รัสเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย และองค์การอวกาศยุโรปล้วน ก็มีความทะเยอทะยาน ไม่น้อยหน้ากว่ากันในการแสวงหาทรัพยากรอวกาศของพวกเขาเอง
กฎกติกา การแสวงหาผลประโยชน์จากอวกาศ ที่ล้าสมัยจากยุคสงครามเย็น ในไม่ช้า ต้องมีการทบทวนข้อตกลงใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุน แก่เอกชนและรับรองความร่วมมือระหว่างประเทศ
โลหะที่เรียกว่า "แร่หายาก" ยังเป็นเป้าหมายสำคัญที่เป็นไปได้ ของนักขุดดาวเคราะห์ ที่แสวงหามาบริการตลาดโลก ซึ่งประกอบด้วยธาตุ 17ชนิด รวมทั้ง แลนทานัม นีโอไดเมียม และอิตเทรียม วัสดุที่สำคัญเหล่านี้ (ซึ่งส่วนใหญ่ถูกขุดในประเทศจีนในปัจจุบัน ด้วยต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่แพงลิ่ว) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้พวกมันเปรียบเสมือน ”คอขวดเทคโนโลยี” ของการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปเป็นพลังงานหมุนเวียน ซึ่งสำรองโดยแบตเตอรี่
ดวงจันทร์ เป็นเป้าหมายการขุดแรกในอวกาศที่สำคัญ ได้รับแรงหนุนจากการชักชวนของ NASA เป็นสถานที่แรกสำหรับการทำ ”เหมืองอวกาศเชิงพาณิชย์” ด้วยข้อดีหลายประการ เวลาเดินทางไม่มากนักด้วยจรวด มีความล่าช้าในการสื่อสารแค่เพียงไม่กี่วินาที ซึ่งเป็นความล่าช้าที่ยอมรับได้ หากจะสั่งการหุ่นยนต์จอมขุดจากโลก และด้วยแรงโน้มถ่วงที่ต่ำของมัน บ่งบอกว่าใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อส่งทรัพยากรที่ขุดแล้วขึ้นสู่วงโคจร
ดวงจันทร์ได้รับการยืนยันแล้ว ถึงปริมาณน้ำแข็งน้ำจำนวนมากของมัน ที่ซ่อนอยู่ในหลุมอุกกาบาต ที่ขั้วโลกของดวงจันทร์
เรายังพบว่า ลมสุริยะได้ฝังกลบฮีเลียม-3 จำนวนมาก ทั่วทั้งบริเวณตลอดเส้นศูนย์สูตรของดวงจันทร์ ซึ่งสามารถใช้มันเป็นแหล่งเชื้อเพลิง สำหรับ เครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันรุ่นที่สองและรุ่นที่สาม ที่จะปรากฎตัวต่อสายตาเราในปลายศตวรรษนี้
สำหรับ ภารกิจการขุดบนดาวอังคารนั้น เนื่องจากระยะทางและความโน้มถ่วงที่ค่อนข้างสูงของดาวอังคาร (สองเท่าของดวงจันทร์) การสกัดและส่งออกแร่ธาตุสู่โลก ยังไม่น่าลงทุนนักในระยะเวลาอันใกล้นี้ แนวโน้มการใช้ดาวอังคารเป็นฐานพักพิง เพื่อจัดหาภารกิจการสำรวจ เติมเชื้อเพลิงยานอวกาศ และเปิดโหมดใช้งานการตั้งถิ่นฐาน น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมกว่า
จุดหมายปลายทาง การขุดในระยะสั้นต่อไป อาจเป็น “ดาวเคราะห์น้อย” หรือที่รู้จักกันในนาม “หินอวกาศ” ที่พุ่งผ่านระบบสุริยะจักรวาลของเรา พวกมันมีแร่ธาตุหายาก เช่น เหล็ก นิกเกิล อิริเดียม แพลเลเดียม แพลตตินั่ม ทอง และแมกนีเซียม อย่างไรก็ตาม โลหะอาจไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะได้จากดาวเคราะห์น้อย ด้วยศักยภาพการสะสมน้ำในปริมาณมากของพวกมัน จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจพอๆ กัน
“ดาวเคราะห์น้อย”ที่โคจรอยู่ระหว่างวงโคจร ของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งหากคิดเป็นปริมาณทรัพยากรในระยะสั้นของเราแล้ว ประมาณการณ์ได้ว่า มวลรวมของแถบดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด ประมาณ 2.39×10^21 kg หรือราว 3% ของมวลของดวงจันทร์ นับว่าเป็นทรัพยากรที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ขอบคุณภาพ จากอินเตอร์เน็ต
โฆษณา