13 ก.ย. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อมาแรง แต่ราคา "พลังงาน" และ "แร่โลหะ" แรงกว่า
“วิกฤติเงินเฟ้อ” คือภัยร้ายทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะการแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนฝั่งของผู้บริโภคเองก็สูญเสียกำลังซื้อไปไม่น้อยเช่นกัน
แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีธุรกิจบางกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือกลุ่มธุรกิจพลังงาน และธุรกิจเหมืองแร่ ที่ราคาของสินค้ามักจะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อนั่นเอง
จากการรายงานของ BBC NEWS ไทย วันที่ 25 สิงหาคม 2565 พบว่า ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้น บรรดาธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิงต่างสร้างผลกำไรมากเป็นประวัติการณ์ เช่น Saudi Aramco บริษัทพลังงานชั้นนำของประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ทำกำไรมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2565 ที่ผ่านมา
หรือบริษัท Centrica ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ British Gas ก็มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า จากการจำหน่ายน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานนิวเคลียร์
ทางด้านของบริษัท Glencore ผู้นำธุรกิจเหมืองแร่รายใหญ่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ยังได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินที่พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 นี้เอง ที่บริษัทสามารถสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือมากกว่า 645,000 ล้านบาท
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่เติบโตสวนทางกับธุรกิจอื่น ๆ เป็นเพราะว่า พลังงานและแร่โลหะ คือแหล่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้าและบริการเกือบทุกชนิด
2
อย่างเช่นน้ำมันดิบ คือแหล่งพลังงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือแร่โลหะจำพวกทองแดง
1
นิกเกิล และอะลูมิเนียม ก็เป็นวัตถุดิบสำคัญของพลังงานสะอาด อย่างโซลาร์เซลล์ และรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
เมื่อราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบของการผลิตสินค้าและบริการอย่างพลังงาน รวมถึงแร่โลหะ ก็ต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การลงทุนในธุรกิจพลังงาน และแร่โลหะ จึงเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์การลงทุน ที่ช่วยลด ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี
ในช่วงนี้ หากใครที่ไม่อยากพลาดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าว ก็สามารถเลือกลงทุนผ่าน
กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ และกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์
  • กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ (KT-ENERGY)
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF World Energy Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนหลักจะลงทุนอย่างน้อย 70% ของ NAV ในตราสารทุนของบริษัทชั้นนําทั่วโลก ที่ประกอบธุรกิจหลักในการสํารวจ พัฒนา และจัดจําหน่ายพลังงาน และอาจลงทุนในบริษัทที่เน้นพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน
ตัวอย่างสินทรัพย์ที่ลงทุน ได้แก่ (ข้อมูลจาก www.blackrock.com
วันที่ 31 สิงหาคม 2565 )
  • CONOCOPHILLIPS
  • SHELL PLC
  • EXXON MOBIL CORP
  • CHEVRON CORP
  • EOG RESOURCES INC
สำหรับท่านใดที่สนใจลงทุนกับ KT-ENERGY สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3x4BtQG
  • กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ (KT-MINING)
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz Global Metals and Mining (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ซึ่งกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัท ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการสํารวจ การสกัด หรือการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ
ในที่นี้หมายถึง โลหะที่ไม่มีองค์ประกอบของเหล็ก (เช่น นิกเกิล ทองแดง อะลูมิเนียม) เหล็ก และแร่อื่น ๆ เหล็กกล้า ถ่านหิน โลหะมีค่า (เช่น ทอง แพลทินัม) เพชร เกลือ และแร่อุตสาหกรรม (เช่น กํามะถัน)
ตัวอย่างสินทรัพย์ที่ลงทุน ได้แก่ (ข้อมูลจาก sg.allianzgi.com วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 )
  • BHP GROUP LTD
  • ANGLO AMERICAN PLC
  • RIO TINTO PLC
  • NORSK HYDRO ASA
  • TECK RESOURCES LTD
สำหรับท่านใดที่สนใจลงทุนกับ KT-MINING สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3D8h2Gr
☎ สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 𝟎𝟐-𝟔𝟖𝟔-𝟔𝟏𝟎𝟎 กด 𝟗
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้
กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
References :
โฆษณา