13 ก.ย. 2022 เวลา 14:41 • การศึกษา
สมาธิหมายถึง จิตตั้งมั่น
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
แบ่งเป็น 3 ระดับ
1. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิ
แต่ละขณะ เช่นการมีสมาธิในการอ่านหนังสือหรือ
ทำกิจกรรมในขีวิต
ประจำวัน
2 .อุปจารสมาธิ คือ
สมาธิเฉียดฌาน
เป็นสมาธิที่ต่อเนื่องยาวนาน
มากกว่าข้อ 1 แต่จิตยังไม่ตั้งมั่นเป็นองค์ฌาน
นิวรณ์ 5 ยังไม่ดับ
ผู้ที่ฝึกสมาธิต่อเนื่อง
ย่อมเกิดสมาธิระดับนี้ได้
3. อัปปนาสมาธิ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคตารมณ์)
หรือสมาธิในฌาน
เมื่อฝึกต่อไปจนจิตตั่งมั่น
กิเลสระดับกลาง คือ
นิวรณ์ 5 จะดับ
องค์ฌาน มี 5
วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข
เอกัคคตา
ฌาน 1 มีอารมณ์ครบทั้ง 5
ฌาน 2 วิตก วิจารณ์ดับ
(จิตยกขึ้นสู่อารมณ์ดับไป)
ปีติ เด่นชัด เช่น ขนลุก
กายเบา ใจเบา รู้สึกเหมือน
จะลอย บางคนที่สมาธิแรง
หรือเคยทำฌาน
และอาจได้เคยได้อภิญญา
ฌานโลกีย์ (ได้ฌานแต่ยัง
ไม่สามารถตัดกิเลสได้)
บางคนอาจลอยขึ้นจากพื้น
ก็มี ฯลฯ
เมื่อมีอาการใดปรากฏ
ให้วางจิตสักแต่ว่ารู้
ประคองจิตอย่าทิ้งอารมณ์
กรรมฐาน จิตจะละเอียดขึ้น
ฌาน 3 ปิติดับ สุขเด่นชัด
ฌาน 4 สุขดับ
จิตเป็นเอกัคคตา
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ตังมั่นอยู่
สมาธืในฌาน ถ้าทำได้
จะเป็นกำลังช่วยสนับสนุน
สติและปัญญาให้ดีมากขึ้น
ที่กล่าวข้างต้น คือสมาธิ
โดยหลักการ
ส่วนในด้านการปฏิบัติธรรม
สำหรับคนที่ยังทำงาน
แนะนำให้เจริญสติในชีวิต
ประจำวันควบคู่ไปด้วย
รู้ตามอิริยาบถก็ได้
ทำไปเรื่อยๆ จะรู้ทันจิต
เห็นเจตนาตั้งแต่ก่อนทำ
พูด หรือแม้แต่ความคิด
สติที่ฝึกได้ดี จะระลึกได้เร็ว
ทั้งสติและสมาธิ
จะเกื้อกูลกัน และช่วยให้
การพิจารณาสภาวธรรม
ชัดเจนขึ้น
ศีล เป็นปัจจัยพื้นฐาน
ที่ช่วยสนับสนุนทั้งสติ
สมาธิและปัญญา
ให้เข้มแข็งมั่นคงขึ้น
ส่วนการฝึกสมาธิ
เริ่มจากดูลมหายใจ
(อานาปานสติ) หรือ
พิจารณากาย (กายคตาสติ)
หรือหมวดอื่น
ในกรรมฐาน 40 กอง
ใช้ได้ทั้งหมด
ลองฝึกดู จิตรู้สึกสบาย
(สัปปายะ) กับกรรมฐาน
บทไหน ให้ใช้กรรมฐานนั้น
อย่าเปลี่ยนไปมาบ่อย
เนื่องจากกรรมฐาน
แต่ละกอง มีอารมณ์ต่างกัน
อารมณ์กรรมฐานแต่ละกอง
เป็นเพียงอุบายฝึกให้จิดจดจ่อตั้งมั่นเป็นสมาธิ
แต่ปลายทาง เมื่อจิตเป็น
สมาธิแล้ว ก็คือสมาธิแบบ
เดียวกัน
สอบถามเพิ่มเติม
ส่งข้อความมาได้ค่ะ
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
โฆษณา