13 ก.ย. 2022 เวลา 15:38 • ประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจรัสเซีย ตอนที่ 2 สังคมนิยมสู่มหาเศรษฐี
ทำไมมาเฟียรัสเซียถึงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจรัสเซีย
วัฒนธรรมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน บางประเทศที่มีระบบแบบนี้ เขาเรียกกันว่า Patron ผู้ให้อุปถัมภ์ Client ผู้รับอุปถัมภ์ หรือที่เรียกกันว่า ระบบเจ้านายลูกน้อง
เช่นผู้อุปถัมภ์ คือ บอริส เยอลต์ซิน ผู้รับอุปถัมภ์ คือ Oligarch และพอมีการเปลี่ยนผู้ให้อุปถัมภ์เป็นปูติน ผู้รับอุปถัมภ์ก็จะเปลี่ยนไปเป็นลำดับขั้น
บางประเทศเขาไม่ได้รู้จักคอนเนคชั่น เขารู้จักแต่ Know Hwo เขาไม่รู้จัก Know Who นั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าดูอย่างบางประเทศ เช่น ญึ่ปุ่น Know How and Know Who , จีน Know How and Know Who , ไทย Know Who and Know How
แต่การทำงานแบบมีผู้อุปถัมภ์ และผู้รับอุปถัมภ์ มันเป็นวัฒนธรรมที่เราสามารถเห็นได้ในหลายๆ ประเทศ ไม่ใช่เฉพาะที่รัสเซีย
Oligarch
ความเป็นอยู่ของประชากรรัสเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน
เป็นการเทียบง่ายๆ ว่าเป็นการกระจายความมั่งคั่งเอาไว้ที่จุดเดียว มีดัชนีที่ชื่อว่า Gini Coefficient คือเรื่องของรายได้และการกระจายรายได้ ที่ไม่เท่าเทียมกัน และอีกด้านหนึ่งคือ ทุกคนมีแชร์ 1% เท่ากันหมดเลย แต่รัสเซียมีการกระจายรายได้ที่ไม่ดีเลย
ชัดเจนที่สุดอย่าง Oligarch โดยปกติแล้วเมื่อ Oligarch ได้เงินแล้วจะนำกลับเข้ามาในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ เพราะไม่รู้ว่าจะเอาเงินไปไว้ที่ไหน เอาไปทำอะไร แต่รัสเซียไม่ใช่อย่างนั้น
เมื่อ Oligarch ได้เงินมา ไม่ได้เอากลับเข้ามาไว้ในรัสเซีย แต่มีช่องทางที่เอาเงินเหล่านี้ไปไว้ยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเรื่องวิตกกังวลเรื่องค่าเงินตก หรือวิตกกังวลเรื่องการเปลี่ยนผู้นำประเทศ เป็นต้น
เพราะฉะนั้นเม็ดเงินที่บริหารออกไป ไม่ได้นำกลับมาพัฒนาประเทศ แต่เป็นการนำออกไปไว้ยังช่องทางต่างๆ อย่างมหาศาล
ในช่วงปี 1999 วันที่ 31 ธันวา เกิดเหตุการณ์สำคัญใหญ่ๆ เหตุการณ์หนึ่ง เที่ยงคืนวันนั้น บอริส เยอลต์ซิน ที่เป็นผู้นำสูงสุดของรัสเซีย ทำเรื่องเซอร์ไพร โดยการประกาศวางอำนาจลง และคนที่ขึ้นต่อจากบอริส เยอลต์ซิน ก็คือปูตินที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียงปีกว่าเท่านั้น
โดยธรรมชาติคนที่มีอำนาจขึ้นมาก็จะทำการตรวจแถว ใครซื่อสัตย์ใครไม่ซื่อสัตย์ และในช่วงปี 2000 ปูตินประกาศกับประชาชนชาวรัสเซียว่า “เรารู้ว่าพวกคุณไม่ชอบ Oligarch ผมจะกวาดล้าง Oligarch” คือนโยบายหลักของปูตินที่ได้ใจประชาชน
เริ่มต้นโดยการเรียก Oligarch มาทีละคน เช่น boris Berezovsky มาพูดคุย ตกลงกันไปมา จนท้ายที่สุดก็ล้มเหลวและทำให้ Berezovsky โกรธมาก Berezovsky เลยได้ใช้สถานีโทรทัศน์ชองเขาโจมตีปูติน สู้กันไปมา ปูตินชนะ
ทำให้ Berezovsky ต้องอพยพไปยังลอนดอนที่ที่เขามีเงินฝากมากมายมหาศาล และอีกคนคือ Mikhail Knodorkovsky เจ้าของบริษัทพลังที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียในช่วงของบอริส เยอลต์ซิน ดำรงตำแหน่ง และถือเป็นคนที่รวยที่สุดณ เวลานั้น
Knodorkovsky พยายามมากที่จะเข้ากับปูตินให้ได้ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนท้ายที่สุด ในช่วงปี 2003 Knodorkovsky ถูกตั้งข้อกล่าวหาหลบเลี่ยงภาษี ถูกจำคุกที่ไซบีเรีย 11 ปี จากมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของรัสเซียสู่จำเลยในวันนี้
และต่อมาได้รับการช่วยเหลือของเยอรมัน ในการพูดคุยกับปูติน ที่สุดแล้วปูตินเลยได้ทำการปล่อยเขาออกมา และ Knodorkovsky ก็ได้ย้ายไปอยู่ลอนดอน ณ ช่วงเวลานั้นทุกคนต้องการทำตัวให้เป็นที่รักของปูติน แต่ก็น้อยคนนักที่จะสำเร็จ
Berezovsky มีลูกน้องอยู่คนหนึ่ง ที่เคยเป็นคนขายของเล่น ไม่ได้ร่ำรวยแต่ค่อยๆ สร้างคอนเน็กชั่นขึ้นมา จนได้ทำการนัดกับ Berezovsky ที่เรือยอร์ชและได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งใน Oligarch ได้และยังสามารถเข้าได้ดีกับปูตินได้อีกด้วย นั้นก็คือ Roman Arkadievich Abramovich
เป็นลูกน้องเก่าของ Berezovsky และพยายามใช้เส้นสายเพื่อให้เข้าถึงบุคคลสำคัญ จากนั้นเมื่อ Abramovich เข้ากับปูตินได้ดีแล้ว จึงนำเงินไปฝากไว้ที่ลอนดอน ก็เลยได้พบกับ Berezovsky ที่กำลังใช้เงินจำนวนมหาศาลที่เอาไปฝากไว้ที่ลอนดอน ในการอารักขาตัวเอง
เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะถูกเก็บเมื่อไร ที่สุดแล้วคือ Berezovsky โกรธ Abramovich มากจนถึงขั้นได้มีการฟ้องร้องกันไปมาหลายคดี เสียเงินค่าทนายไปเยอะมาก จนมีข่าวว่า Berezovsky ได้ฆ่าตัวตาย แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า Berezovsky ได้ฆ่าตัวตายเองหรือโดนสั่งเก็บ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ได้ปิดตำนาน Oligarch 1.0
เพราะว่ามีหลายคนไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบของปูตินได้ ในปัจจุบันถ้ากดคำว่า Oligarch 2.0 , Oligarch Putin’s era , Abramov , Mikhelson , Potanin , Abramovich , Alekoerov ก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ้าง แต่บางคนก็สรุปว่าเป็นการเปลี่ยนแกร๊ป นี้เป็นรายงานจากต่างชาติรายงาน
เศรษฐกิจที่ผูกขาดโดยเศรษฐีจำนวนหนึ่งของสังคมรัสเซีย ซึ่ง Oligarch จำพวกหยิบมือเป็นผู้ควบคุมทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ผ่านองค์กรที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของรัฐที่วันนี้ไปเป็นของเอกชน
Roman Arkadievich Abramovich
ผลกระทบของเศรษฐกิจรัสเซียต่อชาติอื่นๆ
เศรษฐกิจของรัสเซียเป็นแบบ B2B คือเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น Palladium มันเป็นสินแร่เชิงยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่ม จากการที่รัสเซียมีพลังงานมากมาย ในสมัยก่อนทุกคนต้องอิง Opec ในเรื่องของการส่งออกน้ำมัน
พวกยุโรปหรือยุโรปตะวันตกก็คิดว่าถ้าหากเรามีการกระจายความเสี่ยงไปสู่ฐานการผลิตน้ำมันอื่นก็คงจะดี รัสเซียเลยเป็น Supplementary Forces หรือเรียกว่า ส่วนเสริมการพลังงานโลก เลยกลายเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ยุโรปตะวันตกสบายใจขึ้น
ยุโรปหรือยุโรปตะวันตกเลยกลายเป็นพึ่งพิงน้ำมันจากรัสเซียค่อนข้างเยอะทั้งน้ำมัน และ ก๊าสธรรมชาติ ผ่านทางเส้นทะเลบอลติก เส้นทางโลจิสติกส์ดีมาก นอกจากนี้รัสเซียยังรู้ตัวว่าจะต้องสร้างให้เกิดความผูกพันธ์ระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกอีกด้วย
เห็นได้จากทีมฟุตบอล Die Knappen สปอนเซอร์ภูมิใจที่เป็นเมืองเหมืองแร่ เป็นต้น อเมริกาหรือยุโรปตะวันตกเองก็มองว่าอย่างน้อยแหล่งพลังงานเราไม่ได้อิงข้างใดข้างหนึ่ง แต่ตอนนี้เหมือนเรานั่งเก้าอี้สามขา ที่มีขาหนึ่งเริ่มร้าว ที่เราอิงแต่รัสเซียวันนี้เราคงต้องเปลี่ยนไปอิงขาข้างอื่น และชาติตะวันตกก็รู้ดี
แต่ว่าจังหวะนี้มันยังไม่เพียงพอที่จะพิ่งตนเองเรื่องพลังงาน แต่ยังมีอีกสองประเทศ เช่นอิหร่าน ที่มีแนวโน้มที่จะไปขอให้เพิ่มพลังงาน และอีกหนึ่งประเทศคือ เวเนซุเอลา อาจจะยกเลิกการแบนน้ำมันเข้ามา
ในเรื่องของการทดแทนอาจจะยังไม่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดก็จะทำให้ลดแรงกดดันจากการพึ่งพิงรัสเซียได้ไม่มากก็น้อย และรัสเซียก็รู้ว่า ยุโรปพึ่งพาตัวเองระดับไหน
สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาคิดว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างการค้าใหม่ๆ เกิดขึ้น เลยทำให้รัสเซียยังคงอยู่กับการค้าแบบเดิมๆ
Die Knappen
ทำไมเศรษฐีรัสเซียถึงย้ายไปอยู่ลอนดอนประเทศอังกฤษ
ถ้าเวลามีคนพูดลอนดอน ถ้ามีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียเราจะเรียกว่า Londongrad หรือที่พักพิงของเงิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Moscow - on - Thames คือการเอาเงินโยกย้ายไปที่ลอนดอน
ลอนดอนเป็นเมืองที่มีการบริหารเงินที่เป็นดอลล่า ตลาดเงินที่ลอนดอนเรียกว่า Eurodollar Market สามารถเอาเงินเข้ามาบริหารได้เป็นจำนวนมหาศาล หรือเรียกว่าที่พักเงินของเศรษฐีรัสเซีย
อีกที่หนึ่งก็คือประเทศที่มีความสามารถเก็บรักษาความลับของธนาคารได้ดีที่สุดของโลก เราจะไม่มีทางรู้เส้นทางการเงินเลยก็ว่าได้ เมื่อความมั่งคั่งไหลออกนอกประเทศเศรษฐกิจหยุดชะงัก
London หรือ Londongrad
สงครามรัสเซียยูเครนส่งผลต่อเศรษฐกิจรัสเซียอย่างไร
สังคมรัสเซียถ้าจะเปลี่ยนก็จะเปลี่ยนแบบช้าๆ เพราะสังคมเศรษฐกิจของรัสเซียเป็นแบบพีระมิดที่มีความชันสูงมาก
กล่าวคือฝ่ายการเมืองก็ดี ฝ่าย Oligarch ก็ดีมีอำนาจเต็มมือ บุคคลเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจน้อยหรือน้อยมาก
ถ้าสมมุติเอาเงินไปฝากไว้ในธนาคารที่รักษาความลับได้ดีมาก หรือแม้กระทั่งที่ลอนดอนก็ตาม เขาจะได้รับผลกระทบน้อย
มันจะกระตุ้น เวคอัพคอล ในแง่ที่ว่ายุโรปตะวันตกหรืออเมริกาลดการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียอย่างมีนัยยะ รัสเซียอาจจะเริ่มรู้ตัวและคงเริ่มที่จะปรับอะไรบางอย่าง แต่เวลานี้อาจจะยังไม่ใช้เวลา
ถ้าหากจำกันได้ ในช่วงที่เกิดโควิดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตลาดหุ้นร่วงไปที่ 900 จุด ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นตกไม่ใช้เพราะโควิด แต่ประเด็นอยู่ที่ปูตินกับ Opec ตกลงเรื่องปริมาณการผลิตน้ำมันกันไม่ได้
และมีการเทตลาด ที่สุดแล้วราคาน้ำมันติดลบ ถ้าเกิดเหตุการณ์เหมือนครั้งนั้นอีก มันอาจจะเป็นเวคอัพคอลของรัสเซียก็ได้ที่จะทำให้ รัสเซียอาจจะเริ่มรู้ตัวว่าต้องปรับตัวรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้อิงกับทรัพยากรธรรมชาติแบบที่เขาทำอยู่ก็ได้
Opec
บทเรียนจากเส้นทางการเติบโตของเศรษฐกิจรัสเซีย
ประชาชนทั่วไปขาด Financial Literacy ในช่วงที่ประชาชนได้รับคูปอง เรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มันเป็นการทำให้เรารู้ว่าความมั่งคั่งมันมาพร้อมกับเวลา ถ้าเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้าก็จะกลายเป็นแบบทุกวันนี้
ยกตัวอย่างของทฤษฎี Marsshmallow Theory เป็นการทำการทดลองในอเมริกา เพื่อทำการทดลอง เด็กๆ ในห้องเรียนทุกคนจะได้กิน Marsshmallow หนึ่งถุง
ครูบอกกับนักเรียกว่า ถ้าเกิดกิน Marsshmallow นี้จะได้กินแค่ถุงเดียว แต่ถ้าไม่กินวันนี้ไปกินพรุ่งนี้ครูจะให้ Marsshmallow อีกหนึ่งถุงเป็นสองถุง และมาดูกันที่กรอบระยะเวลาหลายสิบปีของเด็กกลุ่มนี้
จะเห็นได้ชัดเจนว่า เด็กที่มีความอดทนสูงกว่า ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า แต่เด็กที่คว้าไปกินทันทีจะประสบความสำเร็จได้แย่กว่า นี้เป็นการทดสอบแบบง่ายๆ เป็นระยะเวลาหลายสิบปี มันสามารถสอดคล้องได้กับเรื่องของ Financial Literacy ของงประชาชนในระสเซียเวลานั้นได้อย่างหนึ่งตามแนวคิดทฤฎี
และในส่วนของปัญหาของระบบบริหาร ชื่อแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมันไม่ได้การันตี ว่าทุกคนจะเท่าเทียมกัน แต่การลงมือทำให้เป็นจริงที่จะบอกว่าคนเท่าเทียมกันหรือเปล่า ที่สุดแล้วคนรัสเซียเท่ากันได้เรื่องของความลำบาก
และความทันสมัย ก็จะเป็นการลงมือทำที่แตกต่างกัน เพราะกลไกรัฐเก่าเกินไป และส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เศรษฐกิจไปต่อไม่ได้ นี้เป็นบทเรียนที่เราสามารถบอกเห็นได้จากประวัติศาสตร์ที่มันกำลังสะท้อนรอยเดิมๆ จากในยุคปัจจุบัน
มีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า
Warning from history
เสียงเรียกเตือนจากประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์มันย้อนซ้ำรอยเดิมเสมอ
จากหนังเรื่องหน่ึง
Marsshmallow Theory
โฆษณา