15 ก.ย. 2022 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Hashgraph ไม่ใช่ Blockchain
หากพูดคำว่า blockchain ทุกคนคงอ๋อ ภาพเหรียญคริปโตต่าง ๆ ก็คงแวบมาในหัว นั่นคือภาพจำของคนทั่วไปทุกสิ่งทุกอย่างในโลกคริปโตคือ blockchain แม้ที่จริงจะมีรายละเอียดเชิงลึกมากกว่านั้น
แต่อันที่จริงแล้ว blockchain เป็นเพียงหนึ่งในเทคโนโลยีที่อยู่ภายใต้ร่มใบใหญ่ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน
ร่มใบใหญ่นี้มีคนให้คำจำกัดความไว้ว่า Distributed Ledger Technology (DLT) หรือ เทคโนโลยีระบบบัญชีกระจายอำนาจ ซึ่ง hashgraph เทคโนโลยี DLT ประเภทหนึ่ง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาประเภทเดียวกับ Blockchain เปรียบเสมือน รถยนต์ใช้น้ำมันและรถยนต์ใช้ไฟฟ้า ที่มีประโยชน์เพื่อการขนส่งเช่นกัน แต่ระบบการทำงานภายในนั้น ต่างกัน
เทคโนโลยี DLT โดยพื้นฐานเลยก็คือเทคโนโลยีระบบบัญชีแบบกระจายอำนาจที่เอื้อให้สมาชิกในเครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ ซึ่งสมาชิกในเครือข่าย จะร่วมกันยืนยันความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด เมื่อยืนยันแล้ว นั่นคือฉันทามติที่สมาชิกในเครือข่ายรับรองร่วมกันและจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ โดยเทคโนโลยี DLT มีทั้งแบบรูปแบบเครือข่ายส่วนตัวและแบบสาธารณะ แบบเครือข่ายส่วนตัวโดยส่วนใหญ่จะใช้งานอยู่ในองค์กรที่ไม่ได้ต้องการหรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเป็นสาธารณะ
อาทิ Hyperledger, R3Corda, Quarum และเครือข่ายแบบสาธารณะที่ทุกคนสามารถตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายได้ อาทิ Bitcoin, Ethereum ซึ่งทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป โดยเครือข่าย Hedera ในปัจจุบัน เป็น เทคโนโลยี DLT ในรูปแบบสาธารณะที่ต้องได้รับอนุญาต หรือ
Permissioned/Public Distributed Network ที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการกระจายอำนาจเครือข่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามเส้นทางมุ่งสู่ Permissionless/Public Distributed Network ที่จะทำให้ Hedera เป็นเครือข่ายสาธารณะที่เปิดกว้างให้ทุกคนเข้าร่วมเป็น node ได้อย่างเสรี
ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการเทคโนโลยี DLT เกือบทั้งหมดใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นพื้นฐานในการให้บริการ อันซึ่งหยิบบางส่วนมาจาก Bitcoin ที่เป็น open source ไปพัฒนาต่อยอดเป็นเทคโนโลยีของตนเอง จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะเรียกเทคโนโลยี DLT ทั้งหมดว่า Blockchain ทั้งที่จริง Hashgraph หรือ DLT ชนิดอื่น ๆ นั้นล้วนพัฒนามาจากฐานรากของตนเอง มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ดังนั้น “Hashgraph ไม่ใช่ Blockchain” Hashgraph คือ เทคโนโลยีที่คิดใหม่ ทำใหม่ ต่างจาก Blockchain
ในรูปแบบการทำงาน Blockchain มีลักษณะเริ่มจากการรวบรวมธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายไว้ในสถานที่ที่เรียกว่า mempool เพื่อรอให้นักขุดเหมือง (Miner) (ซึ่งก็คือ node validator) เข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมก่อนบรรจุลงกล่องเอกสาร ซึ่งกล่องในที่นี้เราเรียกว่าบล็อก (Block) และเมื่อปิดบล็อกแล้ว ก็จะมีการสร้างบล็อกใหม่ขึ้นมา เพื่อบรรจุธุรกรรมต่อ ๆ ไปที่รออยู่ใน mempool (หากเป็นเครือข่าย ETH จะเปิดโอกาสให้คุณจ่ายได้มากขึ้นเพื่อดึงดูดใจให้ miner ลัดคิวคนอื่น ๆ ให้คุณด้วย)
จากนั้นแต่ละบล็อกก็จะเชื่อมโยงต่อกันดั่งสายโซ่คล้องต่อกันไปเรื่อย ๆ เราเรียกว่าเชน (Chain) จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกว่าบล็อกเชน (Blockchain) และเมื่อกล่องถูกปิดคล้องด้วยโซ่อย่างแน่นหนาแล้ว จะไม่สามารถกลับไปเปิดกล่องแก้ไขธุรกรรมที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ เว้นแต่ในกรณีฉันทามติส่วนใหญ๋ในเครือข่ายเห็นสมควรว่าต้องรื้อ
Hashgraph ไม่มี mempool ไม่มี miner ไม่มีบล็อก ไม่มีเชน
Hashgraph จะรับข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นตามวันเวลาจริงโดยโหนดแรกที่รับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำมาจัดลำดับและรวมกันเป็นกลุ่มคล้ายบล็อกใน Blockchain ก่อนที่จะบันทึกลงบนกราฟ ที่เรียกว่า Directed Acyclic Graph หลังจากนั้นข้อมูลจากโหนดแรกจะถูกส่งต่อให้โหนดต่าง ๆ ในเครือข่ายผ่าน Gossip about Gossip Protocol และการลงคะแนนเสมือน (Virtual Voting) ทุกโหนดในเครือข่าย
จะร่วมตรวจสอบความถูกต้อง ลงประทับเวลาและลงฉันทามติของทุกธุรกรรม
หากธุรกรรมผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง แต่ละโหนดได้รับธุรกรรมภายในเวลาที่เหมาะสม และได้รับฉันทามติมากกว่า 2 ใน 3 ก็จะได้รับการอัปเดตและบันทึกธุรกรรมนั้นบนเครือข่ายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
นอกจากนั้น Blockchain จะเลือกให้ผู้ที่สามารถปิดบล๊อกได้เท่านั้นที่จะได้รับรางวัลค่าตอบแทนจากการตรวจสอบธุรกรรม ซึ่งต่างจาก Hashgraph ที่ทุกโหนดจะได้รับรางวัลส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมจากทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านแต่ละโหนด หากโหนดใดมีปริมาณการทำธุรกกรมผ่านโหนดมาก ย่อมได้ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมมากขึ้น และดึงดูดให้ผู้ที่ถือครอง Hbar เข้ามาร่วม stake ผ่านโหนดด้วยระบบ proof of stake ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันของแต่ละโหนด
ในการสร้างปริมาณตรวจสอบธุรกรรมและการใช้งานเครือข่ายผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ผ่านโหนดของตน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดกระจายปริมาณ Hbar ของไปยังแต่ละโหนดและผู้ร่วม stake เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการกระจายอำนาจเครือข่ายผ่านการกระจายเหรียญ hbar ไปพร้อมกัน ทั้งนี้ แต่ละโหนดจะมีจำกัดปริมาณการ stake ขั้นสูงและขั้นต่ำไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีโหนดใด มีจำนวน hbar มากจนเกินหนึ่งในสาม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อฉันทามติในเครือข่ายได้
นอกจากนั้น Blockchain กำหนดให้บล็อกสุดท้ายจะต้องอยู่ในสายโซ่เดียว หากเกิดการสร้างสองบล็อกพร้อมกัน บล็อกเชนจะเกิดการแยกตัวออกไปเป็น 2 สาย ซึ่งในที่สุด โหนดเครือข่าย จะต้องเลือบล็อกใดบล็อกหนึ่งเพื่อดำเนินการต่อ และละทิ้งอีกบล็อกหนึ่งไป เพื่อป้องกันการ Double-spending และ Forking เครือข่าย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่กำลังเติบโตแต่ถถูกตัดกิ่งขาดไปเพียงให้เหลือเพียงกิ่งเดียว
ใน Hashgraph ทุกธุรกรรมจะรวมอยู่ในกราฟ จะแตกแขนงและเชื่อมโยงกันด้วยไปในทิศทางเดียวกันตามเวลาที่เดินไปข้างหน้า ไม่มีการละทิ้งธุรกรรมใด ๆ ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าบล็อคเชน กิ่งก้านธุรกรรมทั้งหมดยังคงมีอยู่ตลอดไป และถูกถักทอรวมกันเป็นหนึ่งเดียวด้วย Gossip about Gossip Protocol
นอกจากนี้ บล็อกเชนจะล้มเหลวหากบล็อกใหม่เกิดขึ้นเร็วเกินไป เนื่องจากเครือข่ายจะไม่สามารถตัดสายเชนที่แยกออกได้ทัน นั่นคือ เหตุผลที่บล็อคเชนต้องใช้กลไก Proof of work หรือกลไกอื่น ๆ ในการชะลอการเติบโตของเครือข่ายเพื่อป้องกันปัญหา Double-spending แต่ใน hashgraph จะไม่มีอะไรถูกโยนทิ้งไป ทุกธุรกรรมจะถูกถักทอเชื่อมโยงเข้าไปในเครือข่าย ดังภาพ
การทำงานของ Blockchain จะตัดบล็อกที่แยกออกจากสายทิ้งไป แต่ Hashgraph ทุกธุรกรรมจะไม่ถูกละทิ้ง จะถูกบันทึกไว้บนเส้นกราฟและเชื่อมโยงข้อมูลด้วย Gossip protocol
อ้างอิง
ช่องทางการติดตามพวกเรา
Facebook Page - https://bit.ly/3qbDXZR
Facebook Groups - https://bit.ly/3RjEx3B
โฆษณา