14 ก.ย. 2022 เวลา 07:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔥THE GREAT RESET🔥: จับตาการเงินโลก !!! ล่าสุดมีรายงานว่าเงินเฟ้ออังกฤษอยู่ที่ 9.9% แล้ว ! ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลัง BOJ ประกาศเตรียมเข้าแทรกแซงเพิ่มใกล้ระดับ 145-150 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ส่วน Bloomberg รายงานว่าทุนสำรองไทยหดราว -5% เนื่องจากมีการใช้เงินบางส่วนชะลอการอ่อนค่าของบาท !! มีอะไรสำคัญเกี่ยวกับค่าเงินโลกที่เราต้องรู้บ้าง ?? มาดูกัน !
1
⚠️ตลาดค่าเงินโลกน่าจับตามองเหลือเกิน ! หลังจากล่าสุดอังกฤษประกาศเงินเฟ้ออกมา 9.9% และเงินเยนญี่ปุ่นกำลังถูกจับตามองว่าแนวรับสำคัญที่ 145 ต่อ 1 ดอลลาร์จะเอาอยู่หรือไม่ ?? เพราะ BOJ ยืนยันจะเริ่มเข้าแทรกแซงค่าเงินแล้ว ! ขณะที่สื่อการเงินระดับโลกอย่าง Bloomberg ก็รายงานว่าประเทศไทยของเรานั้นสูญเสียทุนสำรองไปราว -5% เนื่องจากการใช้เงินบางส่วนพยุงค่าเงิน (ชะลอการอ่อนค่า) แล้วโดยรวมมีอะไรสำคัญที่เราต้องรู้บ้าง ? World Maker สรุปมาให้แล้ว !
ก่อนอื่น World Maker ต้องฝากเตือนนักลงทุน นักเก็งกำไร ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และนักบริหารใหญ่ทุกท่าน อย่าประมาทเรื่องค่าเงินมากเกินไป ! เพราะแม้ว่าไทยของเรายังไม่ถึงขนาด Fix ค่าเงินเหมือนตอนต้มย้ำกุ้ง แต่โดยรวมแล้วก็ควรปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ ไม่ควรไปฝืนกระแสมาก
1
ขณะที่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกจะต้องมองอนาคตสกุลเงินให้ดี โดยเฉพาะดอลลาร์-หยวน ซึ่งเราไม่รู้หรอกว่าในอนาคตสกุลเงินเหล่านี้จะแข็งค่าขึ้นไปอีกหรืออ่อนค่าลงมากันแน่ ?? แต่ลองจินตนาการดูว่าในกรณีที่มหาอำนาจประกาศใช้สกุลเงินของตัวเองในการค้าขายเป็นหลัก และถ้าถึงตอนนั้นไทยยังไม่มีรากฐาน/พื้นฐานทางเศรษฐกิจ-ต้นทุนที่ดีมากพอจะไปแข่งกับประเทศอื่น ๆ ในเวลานั้น...
1
คำถามก็คือ : มีความเสี่ยงหรือไม่ ?? ที่เงินบาทในตลาดโลกอนาคตอาจไม่ใช่ Rate เดิมแล้วเมื่อเทียบกับสกุลเงินของมหาอำนาจโลก ?? ดังนั้นการสนใจมองอนาคตเอาไว้บ้าง ก็อาจทำให้ท่านป้องกันความเสี่ยงสกุลเงินได้ ไม่มากก็น้อย
เงินบาทตอนนี้อ่อนสุดในรอบ 20 ปี ! แต่หลายคนกล่าวว่าคงไม่มีอะไรกระทบเงินบาทแรงเท่ากับต้มยำกุ้งอีกแล้ว ?? นี่หมายถึงความประมาทหรือไม่ ?? รอดูกัน !
ทุนสำรองไทยร่วง -5% ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ก็ใช้ทุนสำรองไปเช่นกัน แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าไทยมีทุนสำรองสูงมากทีเดียว หมายถึงความเสี่ยงน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่เราจะประมาทได้ การรัดเข็มขัดอยู่เสมอถือเป็นเรื่องที่ดี (ที่มารูป : Bloomberg)
📌นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าในระยะ 1-3 ปีต่อจากนี้ เงินบาทมีสิทธิ์แข็งค่ากลับมาได้ ?? โดยมองถึงเรื่องการกลับมาของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นจริงก็จะถือเป็นเรื่องดี แต่ World Maker ไม่อยากให้ท่านประมาทด้วยเหตุผลนี้เลย แม้ว่า 1-3 ปีต่อจากนี้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจริง ๆ แต่เราก็ควรจะป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดและทำให้เงินบาทเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับ Base Case ของเราเอาไว้ด้วย
หลายคนกำลังประมาทว่าวิกฤตรอบนี้เราแข็งแกร่งกว่ารอบก่อน และหนี้เราส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ภายในประเทศ ไม่ใช่หนี้ต่างประเทศ นักท่องเที่ยวก็เตรียมกลับประเทศอีก บาทมีแต่จะแข็งขึ้น ?? ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงอะไร ??? ช้าก่อน !!! ไม่ต้องห่วงจริง ๆ หรือ ??
อย่าลืมว่าหนี้ในระบบเรานั้นค่อนข้างสูงทีเดียว และถ้าหากเกิดปัญหาเรื่องหนี้ขึ้นในประเทศ เราคิดว่ามันจะไม่กระทบไปถึงค่าเงินบาทหรือทุนสำรองดอลลาร์ของเราหรือ ? ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีคืออย่ามัวแต่ชะล่าใจ คิดว่าวิกฤตมันจะไม่เกิด คิดว่าทุกอย่างมันจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความจริงของโลกก็คือเมื่อมี Boom Cycle ก็ต้องมี Bust Cycle เหมือนเงินบาท มีแข็งก็ต้องมีอ่อน แต่ต้องมองให้ออกว่าเทรนด์ใหญ่ของโลกนั้นไปทางไหน !
1
⚠️ทั้งนี้ เรื่องของค่าเงินเอง อาจถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี ซึ่งบางแนวคิดก็บอกว่านี่คือยุคที่อำนาจใหม่กำลังจะขึ้นมาคานดอลลาร์ แต่บางคนก็บอกว่ามันเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก เพราะรวมไปถึงการยกระดับอุตสาหกรรมด้วย ดังนั้นมันคงไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ที่เราจะตระหนัก เรียนรู้ และป้องกัน ถึงความเป็นไปได้ที่อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่าง ๆ ในอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงไปจากยุคปัจจุบันที่เราคุ้นเคย ?
1
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์มองเงินเยนไม่น่าจะอ่อนค่าได้มากถึงขนาดนี้ แต่ล่าสุดก็มาถึงระดับ 145 ต่อ 1 ดอลลาร์แล้ว ในขณะที่เงินบาทก็เปลี่ยนแปลงจาก Rate ต่ำขึ้นมาอยู่ที่ราว ๆ 36.6 ต่อ 1 ดอลลาร์ แต่คนไทยหลายคนก็ยังประมาท และคิดว่าค่าเงินเรา (รวมถึงตลาดการเงินโลก) คงไม่มีอะไรเหนือคาดเกิดขึ้นอีกแล้ว ??
เงินเยนกำลังเข้าใกล้ระดับที่ BOJ จะเพิ่มการแทรกแซงอีกครั้ง แต่พวกเขาก็ไม่ได้ใช้มาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันค่าเงินเยน บางคนจึงมองว่าเงินเยนอาจอ่อนค่าต่อไปได้อีก ? แม้ว่าปัจจุบันจะแข็งค่า ก็อาจเป็นแค่การปรับฐาน ?? จะเป็นอย่างไรรอลุ้นกัน ! (ที่มารูป : Bloomberg)
ความจริงคือเราไม่รู้หรอกว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือไม่ ? และหากใครมองระยะยาว เราจะยิ่งเห็นว่าโลกต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ที่อัตรากำไร-ขาดทุน จะขึ้นอยู่กับ Rate แลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในอนาคตด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น หากเราดูความเคลื่อนไหวของ BOJ จะพบว่าญี่ปุ่นไม่ได้ประคองค่าเงินตัวเองอย่างเข้มงวดมากนัก เพราะธนาคารกลางยังคงเข้าซื้อพันธบัตรกดไม่ให้ Bond Yield พุ่งเกิน 0.25% เพราะต้องการให้มีการปล่อยสภาพคล่องในระบบต่อไป ทำให้บางคนมองว่าเงินเยนยังมีช่องว่างให้อ่อนค่าได้อีก ??
📌ขณะเดียวกัน ทางเงินหยวนจีนก็อ่อนค่าใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีแล้ว และยังเป็นที่ลุ้นกันอีกว่าตลาดฮ่องกงจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ ? เพราะตอนนี้ความตึงเครียดกับสหรัฐฯ นั้นก็มีสูง และการดำเนินนโยบายลดดอกเบี้ยสวนทาง FED ของ PBOC ก็อาจทำให้หยวนแตะระดับ 7 ต่อ 1 ดอลลาร์ได้ในเร็ว ๆ นี้
การอ่อนค่าลงของสกุลเงินในเอเชียนี้ หากยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มันจะหมายถึงความเสี่ยงที่เงินบาทในระยะยาวในระยะยาวด้วยหรือไม่ ?? นั่นคือสิ่งที่เราต้องคิด ตั้งคำถาม และติดตามถึงความเป็นไปได้ ที่สำคัญคือต้องอย่าลืมป้องกันความเสี่ยงตามเอาไว้บ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่ในอนาคตอันใกล้นี้ เกิดเหตุการณ์ที่เงินบาทแข็งค่ากลับมาอย่างโดดเด่น ซึ่งอาจทำให้หลายคนยิ่งประมาทเรื่องค่าเงินมากขึ้นไปอีก
⚠️แต่ถ้าในกรณีที่ดอลลาร์แข็งค่าต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุด อันนี้ก็จะเป็น Case ที่เราอาจจะหาโอกาสป้องกันความเสี่ยงยากกว่าเดิมไปอีก ! มารอลุ้นกันว่าตลาดโลกจะเล่นทางไหนต่อไป ? เกมการเงินนี้ไม่ใช่ของใครคนใด แต่เป็นของคนทั้งโลก !
🔥#ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสาร อย่างแท้จริงไปกับ #WorldMaker🔥
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
โฆษณา