15 ก.ย. 2022 เวลา 00:03 • ความคิดเห็น
วิธีใช้เงินซื้อความสุขที่คุ้มค่ากว่า
ผมจั่วหัวข้อแบบนี้อาจจะอันตรายกลายเป็นที่จอดรถทัวร์ได้จากสถานการณ์ที่คนจำนวนมากเงินเก็บหายรายได้หด แค่หมุนให้ชนเดือนก็ยังยาก หรือคนที่บอกว่าเงินซื้อความสุขทุกอย่างไม่ได้ ซึ่งก็จริง...
4
แต่ไม่ว่าอย่างไรคนจำนวนมากก็ยังพยายามใช้เงินซื้อสิ่งที่เราคิดว่าจะให้ความสุขได้อยู่ดี และก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มีเงินเดือน มีความเดือดร้อนไม่มากนักจากเหตุการณ์โควิดและก็ยังมองหาการใช้เงินเพื่อความสุขให้ตัวเองเช่นกัน
11
บทความนี้จึงน่าจะเหมาะกับคนที่ยังพอมีสตางค์ ว่างๆชอบออนไลน์ซื้อของอยู่บ้าน หรือเผื่อในอนาคตเมื่อทุกอย่างกลับสู่ปกติแล้ว แทนที่จะใช้สตางค์ซื้อของ ชอปปิ้งให้หายอยากเพื่อซื้อความสุขที่ขาดหายไปเพราะถูกลอคดาวน์อยู่บ้าน อาจจะมีทางเลือกอื่นที่ทำให้จำนวนเงินเดียวกันที่จ่ายไปกับการช้อปปิ้งนั้นออกดอกออกผลเป็นความสุขได้มากกว่าเดิมก็ได้
4
ผมฟังช่องยูทูป Becomingminimalist พูดถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ศึกษาการพยายามใช้สตางค์เพื่อซื้อความสุขสี่ประเภท งานวิจัยพบว่ามีสามในสี่ประเภทที่ทำให้เกิดความสุขได้มาก และมีหนึ่งประเภทที่เมื่อเรามีสตางค์ที่พอจะเหลือจากการใช้ในสิ่งจำเป็นประจำวันแล้ว การซื้อของต่างๆเช่นพวกแบรนด์แนมเพื่อปรนเปรอความสุขกลับไม่ได้ออกดอกออกผลในระยะยาวนัก
3
สามประเภทที่เหลือที่เมื่อเราใช้เงินไปแล้วจะนำมาซึ่งความสุข ความพึงพอใจมากกว่ามากในระยะยาวนั้น
4
  • ประเภทแรกก็คือ การใช้เงินเพื่อซื้อประสบการณ์ (Purchasing Experience)
3
ไม่ว่าจะไปเที่ยว ไปทานอาหารร้านอร่อย ไปดูฟุตบอล ดูหนังกับครอบครัว ฯลฯ โดยเฉพาะประสบการณ์ร่วมที่มีกับผู้อื่น จะนำมาซึ่งความสุขที่ยาวกว่าการซื้อของมาก งานวิจัยเขียนตอนหนึ่งว่า...
5
Spending on experience rather than materials result in positive feeling before consumption, during consumption and after consumption.
ทำให้เรารู้สึกดีตั้งแต่ก่อนไป ระหว่างไป และหลังไปก็ยังจำได้ มีเรื่องราวที่ผ่านไปหลายปีก็ยังคุยเม้าหยอกล้อกับเพื่อนร่วมทางได้เสมอ
6
  • ประเภทที่สองที่งานวิจัยบอกว่าจะนำมาซึ่งความสุขมากกว่าการซื้อของ ก็คือการใช้เงินเพื่อคนอื่น (Pro social spending)
2
ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน ซื้อของไปบริจาคให้คนที่เดือดร้อน หรือเลี้ยงอาหารเพื่อน ซื้อขนมเล็กๆน้อยๆส่งให้ญาติสนิทมิตรสหาย งานวิจัยบอกไว้ว่า...
1
When we enter personal spending and prosocial spending into a regression analysis in predicting happiness, we found out that pro social spending report greater happiness.
3
งานวิจัยนี้ส่งผลเหมือนกันทั่วโลก ความสุขที่ได้จากความสัมพันธ์กับผู้คน ความรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ ความอิ่มเอมใจ นั้นมีผลมากกว่าการซื้อแบรนด์เนมมาเก็บไว้ชื่นชมคนเดียวมากมายนัก
1
  • ประเภทที่สามการใช้เงินที่เพิ่มความสุขได้มากกว่าซื้อของคือการซื้อเวลา (Buying time)
2
เป็นประเภทที่ผมก็คิดไม่ถึงเหมือนกัน งานวิจัยบอกว่า การใช้เงินที่เพิ่มความสุขได้มากกว่าซื้อของคือการซื้อเวลา (buying time) เอาเงินไปซื้อความสะดวก ลดเวลางานที่ตัวเองไม่อยากทำ เช่นมีแม่บ้านทำความสะอาดบ้าน จ้างคนมาตัดหญ้า ใช้ Food delivery ยอมเสียค่าส่งโดยไม่ต้องขับรถไปซื้ออาหารเอง หรือแม้แต่การซื้อคอนโดเล็กๆใกล้ที่ทำงานเพื่อลดเวลารถติด (ซึ่งเราอาจจะลืมไปแล้ว แต่หลังโควิดความทรมานเรื่องรถติดก็น่าจะกลับมาใกล้เคียงเดิม)
3
งานวิจัย บอกว่าความสุขในการซื้อเวลาไม่ใช่แค่จะได้เวลาไปทำสิ่งที่ชอบ แต่ความสุขที่มากกว่านั้นเกิดจากการที่ได้เอาความทุกข์ที่เกิดจากการใช้เวลากับสิ่งที่ไร้ประโยชน์และตัวเองไม่ชอบออกไปอีกด้วย
2
งานวิจัยบอกไว้ว่า...
People who regularly buy time report greater life satisfaction.. buying time more opportunity for people that choose relationship, reduce daily stress and help navigate major life decision.
3
การใช้เงินเพื่อซื้อเวลาจึงคุ้มค่ากว่าซื้อของมาก
ในโลกทุนนิยม การดิ้นรนหาสตางค์มานอกจากเพื่ออยู่รอดให้ได้จากความต้องการพื้นฐานแล้ว เราเองก็ต้องการใช้สตางค์ส่วนที่เหลือนั้นเพื่อความสุข และส่วนใหญ่สตางค์ส่วนที่เหลือก็มีจำกัด การตัดสินใจใช้สตางค์ไปเพื่อความสุขจึงต้องเลือกว่าใช้ไปเพื่ออะไรถึงคุ้มที่สุดและได้ความพึงพอใจสูงสุด
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแบรนด์เนมให้สะใจ ลองคิดถึงทางเลือกอีกสามทางจากงานวิจัยนี้ประกอบการตัดสินใจด้วยก็ดีนะครับ
เขียนไว้ให้เธอ
โฆษณา