15 ก.ย. 2022 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
ทำไม Lazada ได้กำไรจาก ส่งพัสดุ เป็นหลัก
รู้หรือไม่ Lazada Express ที่ทำธุรกิจส่งของและโลจิสติกส์
ทำกำไร ได้เยอะกว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเครือตัวเอง
เพื่อให้เข้าใจภาพ มาดูผลประกอบการปีล่าสุด (ปีบัญชี 2565) ของสองบริษัทนี้..
บริษัท ลาซาด้า จำกัด (เจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Lazada)
- รายได้ 20,675 ล้านบาท
- กำไร 413 ล้านบาท
- อัตรากำไร 2%
บริษัท ลาซาด้า เอ็กซ์เพรส จำกัด
- รายได้ 16,060 ล้านบาท
- กำไร 2,700 ล้านบาท
- อัตรากำไร 17%
จะเห็นว่า รายได้ของ Lazada Express น้อยกว่า Lazada แต่กลับทำกำไรได้เป็น 6.5 เท่า
ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ?
BrandCase จะวิเคราะห์ให้อ่าน แบบเข้าใจง่าย ๆ
- เรื่องแรก Lazada Express ไม่ต้องทำการตลาดอะไรมาก
ที่เป็นแบบนี้เพราะ Lazada ที่เป็นตลาดออนไลน์ เป็นคนทำตลาดให้อยู่แล้ว
ซึ่งการทำตลาดของ Lazada ก็มีหลายวิธี
ตั้งแต่โฆษณาโปรโมตตรง ๆ ตามช่องทางสื่อต่าง ๆ ไปจนถึงการอัดโคดส่วนลด และทำแคมเปญวันเบิ้ล เช่น 9.9 หรือ 11.11
ลองมาดูโครงสร้างรายได้และค่าใช้จ่าย ของ 2 บริษัทนี้ ในปีบัญชี 2565 กันอีกรอบ
บริษัท ลาซาด้า จำกัด
- รายได้รวม 20,675 ล้านบาท
- ต้นทุนขาย 9,339 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ 10,918 ล้านบาท
- รายจ่ายรวม 20,257 ล้านบาท
- กำไร 413 ล้านบาท
บริษัท ลาซาด้า เอ็กซ์เพรส จำกัด
- รายได้รวม 16,060 ล้านบาท
- ต้นทุนขาย 12,213 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ 1,124 ล้านบาท
- รายจ่ายรวม 13,337 ล้านบาท
- กำไร 2,700 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายในการทำตลาด ถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย ในการขายและบริการ ซึ่งจะเห็นว่า Lazada ที่เป็นอีคอมเมิร์ซ มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสัดส่วนที่สูงมาก
ส่วน Lazada Express กลับมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ต่ำกว่าหลายเท่า
แต่จะไปมีต้นทุนขายที่สูงแทน เช่น ค่าน้ำมัน ค่าพนักงานขนส่ง
ทีนี้หลายคนอาจจะตั้งคำถาม ถ้า Lazada Express ไม่ทำตลาด แล้วคนจะมาใช้บริการได้อย่างไร ?
คำตอบมันอยู่ที่ข้อถัดไป ซึ่งก็คือ..
- ผู้ซื้อและผู้ขาย บน Lazada จะถูก “Default” หรือถูกวางตัวเลือกแรก ให้ใช้บริการของ Lazada Express
1
Default Option หมายถึง ทางเลือกเริ่มต้นที่ถูกเลือกไว้ให้เราอยู่แล้ว
สำหรับเรื่องนี้คือ ผู้ซื้อและผู้ขายของบน Lazada จะถูกกำหนดมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ว่าต้องใช้บริการจัดส่งสินค้าของ Lazada Express
กรณีที่ผู้ขาย อยากเปลี่ยน หรือเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ซื้อ ด้วยการเลือกผู้จัดส่งเป็นเจ้าอื่น ที่ไม่ใช่ Lazada Express ก็ต้องติดต่อคุยกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมันก็จะเพิ่มความยุ่งยาก
1
เพราะฉะนั้น ของที่ซื้อขายกันบนแพลตฟอร์ม Lazada
ส่วนมากก็จะใช้บริการจัดส่งสินค้า ของ Lazada Express โดยที่ตัว Lazada Express เอง ไม่ต้องเสียเงินโปรโมตอะไรมากมาย
ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้ ก็มีแบรนด์ดัง ๆ ใช้กันทั่วไป
อย่างเช่น Apple ที่ให้ Safari มาเป็นเบราว์เซอร์หลัก ทำให้คนใช้ iPhone, iPad ก็นิยมใช้ Safari แทนที่จะไปเสียเวลาดาวน์โหลด Chrome ของ Google มาใช้
1
สรุปคือ Lazada Express ไม่จำเป็นต้องใช้งบทำการตลาดเยอะ
เพราะอย่างไรก็มีคนมาใช้บริการอยู่แล้ว จากการเป็นทางเลือกแรก ในการซื้อขายกันบนแพลตฟอร์ม Lazada
2
ส่วนตัว Lazada ที่เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
แม้จะมีรายได้มากก็จริง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดสูงมาก ที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่น ๆ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากจนทำให้มีกำไร น้อยกว่าธุรกิจขนส่งของตัวเอง
มันก็เลยทำให้เครือ Lazada ในตอนนี้ ได้กำไรจากการส่งพัสดุเป็นหลัก นั่นเอง..
1
Reference
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โฆษณา