16 ก.ย. 2022 เวลา 03:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในทุก ๆ ปีของวันที่ 16 กันยายน เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันโอโซนโลก เพื่อให้การตระหนักถึงการลดลงของของชั้นบรรยากาศโอโซน โดยสาเหตุที่เราจะต้องตระหนักถึงนั้น เพราะ ชั้นโอโซนคือบริเวณที่มีก๊าซโอโซนได้มากและอยู่ชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า สตราโตสเฟียร์ ชั้นโอโซนคือหนึ่งในชั้นบรรยากาศที่ช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตที่มาจากดวงอาทิตย์ได้มากถึง 99% ทำให้ปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตลงมาถึงผิวโลกในปริมาณที่พอเหมาะและส่งผลดีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
แต่ในปัจจุบันนั้นชั้นโอโซนได้ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง อันด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ในการปล่อยสารสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอนหรือสาร CFC ซึ่งมาจากโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ แอร์ในรถยนต์ และจากสเปรย์ฉีดพ่นต่างๆ เป็นต้น
และเนื่องจากการการทำลายชั้นโอโซนทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตเข้ามามากจนเกินไปทำให้มีผลเสียต่อมนุษย์โดยตรงอย่างเช่น มะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก เป็นต้น หรือกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่น ทำให้แพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลง ทั้งนี้ นอกจากสาร CFC แล้ว ยังมีสารอย่างอื่นที่สามารถทำลายชั้นโอโซนของเราได้อีกด้วย นั่นก็คือ กลุ่มไฮดรอกซิลที่รุนแรง และกลุ่มไนตริก
อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1987 ได้มีการลงนามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ( Montreal Protocol on Substances That Deplete the Ozone Layer) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อควบคุม ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยมีกำหนดบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1989 เป็นต้นมา
เรียบเรียงโดย พีรณัฐ วัฒนเสน
โฆษณา