16 ก.ย. 2022 เวลา 13:52 • การศึกษา
เปรียบเทียบประชากรวัยพึ่งพิง 3 ปี
ข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมเป็นแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น “ประชากรวัยพึ่งพิง” แล้วนำข้อมูลประชากรวัยพึ่งพิงมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565
ในปี 2556 ถ้าพิจารณารายจังหวัดพบว่าส่วนใหญ่จะมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงไม่เกิน 500,000 คน มีเพียง 6 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน ปี 2560 มีเพิ่มขึ้นเป็น 7 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน และในปี 2565 มีเพิ่มขึ้นเป็น 10 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน ซึ่งสังเกตได้ว่าในช่วงปี 2560-2565 การเพิ่มขึ้นของจังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีมากกว่าช่วงปี 2556-2560
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละจะพบว่า
ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % ในขณที่มี 3 จังหวัดในภาคเหนือ 2 จังหวัดในภาคกลาง และ 1 จังหวัดในภาคอิสานที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % ส่วนจังหวัดที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะพบใน 4 จังหวัดในภาคใต้เท่านั้น
ในปี 2560 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % และถ้าเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่า 3 จังหวัดในภาคเหนือ 2 จังหวัดในภาคกลาง และ 1 จังหวัดในภาคอิสานเดิมที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในช่วง 30-35 %
โดยมี 4 จังหวัดในภาคกลาง คือ อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทองที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % เพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 35 % และมี 2 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอนและตากที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่เดิมอยู่ในช่วง 30-35 % กลับลดลงมาน้อยกว่า 30 %
ในปี 2565 พบว่ามีเพียงจังหวัดตากเท่านั้นที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % หากพิจารณาข้อมูลในแผนที่จะพบว่าจังหวัดที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือตอนบนเชื่อมมาถึงภาคกลางและติดต่อมาถึงจังหวัดทางด้านตะวันตกของภาคอิสาน นอกจากนั้นก็จะปรากฏโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันในจังหวัดทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส
โดยสรุปจะพบว่าจังหวัดที่มีจำนวนจำนวนประชากรวัยพึงพิงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องซึ่งจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคอิสาน และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนประชากรวัยพึงพิงกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะพบว่าเกือบทุกจังหวัดที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเปลี่ยนไป
อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.geo2gis.com/.../geog.../516-ep3-thai-pop-3-years
โฆษณา