Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
16 ก.ย. 2022 เวลา 16:53 • สุขภาพ
😷ยาแก้ไอตัวไหนดี?
ยาแก้ไอตัวไหนดี? PART-1
จาก 2016 CHEST guideline ในการรักษาอาการไอเนื่องจากอาการหวัด (Treatment for Acute Cough Associated With the Common Cold)
1. ประสิทธิภาพของยา acetylcystein และ carbocysteine ในการลดอาการไอจาก acute cough associate common cold (CACC)
ปัจจุบันมีการศึกษารูปแบบ RCT ไม่มากนักซึ่งให้ผลการศึกษาที่แตกต่างกัน และมีรูปแบบระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างกัน จึงยากต่อการสรุปและนำไปใช้ แต่มี 1 systematic reviews ของ Chalumeau และ Duijvestijn ที่รวม 6 RCT พบว่าอาจมีประโยชน์ในการลดอาการไอในวันที่ 6-7
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ CHEST2017
ได้ pooled analysis ข้อมูลพบว่าช่วยลดอาการไอได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลดอาอารไอลง 0.37 วัน (0.12-1.20) แต่มีระดับงานวิจัยที่ต่ำมากและ bias สูงมาก และอาการไอมักดัขึ้นหลัง 5 วันของการติดเชื้อ จึงอาจถือว่าไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก ขณะที่ยาแก้ไอตัวอื่นมีการศึกษาน้อยกว่ามาก
อย่างไรก็ตามมีข้อมูลรายงานการเกิด paradoxical ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ใช้ยา acetylcysteine และ carbocysteine ซึ่งทำให้มีการหลั่งเสมหะมากขึ้นทำให้ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลหรือนอนโรงพยาบาลนานขึ้น
🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭
2.ประสิทธิภาพของ decongestants และ antihistamines ในการลดระยะเวลาไอจาก CACC
มีการศึกษา systematic reviews ของ De Sutter และคณะพบว่าการใช้ combination ของ antihistamine/ analgesic, decongestants/analgesic ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกับยาหลอกในด้านการไอ แต่เมื่อ
ใช้ยารูปแบบร่วมของ dextromethorphan, doxylamine, paracetamol และ ephedrine มีประโยชน์ในการลดอาการไอในผู้ใหญ่ ขณะที่ผลการศึกษาในเด็ก (อายุน้อยกว่า 12ปี) กลับไม่แตกต่างกับยาหลอกหรือไม่ได้รักษาในด้านประสิทธิภาพของการลดอาการไอใน CACC
มีการศึกษาของ Dicpinigatis แสดงผลด้านการเพิ่ม cough threshold ใน viral infection cough ซึ่งแสดงผลการยับยั้ง reflex การไอได้ในการใช้ diphenhydramine (Mean log C5 0.4 +-.55 SD; p<0.01 เมื่อเทียบกับยาหลอก)
❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️
3.ประสิทธิภาพของ NSAIDs กับ อาการไอ
ในปี 2006 CHEST ได้แนะนำ Naproxen ในด้านประสิทธิภาพลดอาการไอและอาการอักเสบ ขณะที่จากข้อมูลต่อมาเมื่อรวม RCT ทั้ง 2 การศึกษาเข้าด้วยกันทำให้ได้ Mean different -0.05 (-0.66-0.56) ทำให้ในปี 2016 CHEST ไม่แนะนำการใช้ NSAIDs เพื่อหวังผลลดอาการไอจาก CACC
🍯🍯🍯🍯🍯🍯🍯🍯🍯🥜🥜🥜
4.ประสิทธิภาพของน้ำผึ้งกับอาการไอในเด็ก 1-18ปี
มีอาการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำผึ้งในด้านการลดอาการไอ กับ dextromethorphan และ diphenhydramine ในประชากรกลุ่มนี้พบว่า น้ำผึ้งไม่ว่าจะรูปแบบใดช่วยลดอาการไอได้เท่ากับ dextromethorphan และเหนือกว่า diphenhydramine จึงสามารถแนะนำการใช้น้ำผึ้งในประชากรเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปีได้
🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍼🍼🥛
5. ประสิทธิภาพของ Zinc ในการไอ
จากการศึกษา zinc lozenges ในผู้ใหญ่ 2RCT และเด็ก 1 RCT พบว่าอาจช่วยลดระยะเวลาการไอและระยะเวลาการเป็นหวัดได้เมื่อเทียบกับยาหลอก -46% (-28%,-64%) โดยแนะนำขนาดตั้งแต่ 75 mg/วันขึ้นไป โดยเริ่มภายใน 24 ชั่วโมงของการเป็นหวัดในผู้ป่วยสุขภาพดีไม่มีโรคร่วม
🍺🍺🍺🍺🍺🍺🍺🍺🍺🍺🍺
6.ยาแก้ไออื่นๆ
เนื่องจากการศึกษา RCT ของยาแก้ไอในปัจจุบันมีความคลุมเครือในด้านผลการรักษา และระเบียบวิธีวิจัยที่ไม่สามารถ pool ข้อมูลรวมกันได้ อีกทั้งยังมีผลการศึกษาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละการศึกษา จึงไม่สามารถสรุปหรือแนะนำการรักษาด้วยยา Expectorants หรือ Mucolytics ได้ ซึ่งผู้อ่านอาจจำเป็นต้องประเมินวรรณกรรมของยาแก้ไอก่อนนำไปใช้ด้วยตนเองในแต่ละการศึกษา
reference:
https://journal.chestnet.org/article/S0012-3692(17)31408-3/pdf?fbclid=IwAR3tmqBEVVM9xp_YY0O3zQy_G28bJyNupCl8I80bIEJv4W3PWYhBtomYCNw
*****************************************************
https://www.facebook.com/100063521830331/posts/pfbid0dpjDunzsb98XFyFwMRGCNPfF59xejKnoHKmzh8Znp33cQLqStvmsnjztwy9xyaKgl/
😷😷ยาแก้ไอตัวไหนดี? PART-2
มาต่อกันกับ PART ที่ 2 ของอาการไอ เพราะการรักษาอาการไอที่ดีที่สุดไม่ใช่การใช้ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ แต่เป็นการรักษาที่สาเหตุ
Cochrane พยายามทำ meta-analysis ยาแก้ไอ (mucolytic, expectorant…) ถึง 2 ครั้ง ทั้งใน setting ambulatory และ OTC แต่ไม่สามารถรวบรวมหรือสรุปประโยชน์ของยาแก้ไอได้
แนวทางเวชปฏิบัติทั้งของประเทศไทย (ref1) และ CHEST แนะนำให้รักษาจากสาเหตุการไอ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ภาวะน้ำมูกไหลลงลำคอ (Post nasal drip/Upper airway cough syndrome)
กลุ่มอาการไอ มีน้ำมูกไหลย้อนลงคอ ทำให้ต้อง“กระแอมบ่อย ๆ”
1.1 Rhinitis/Allergic cough
👉มักมีอาการไอ± น้ำมูก หรือ คัดจมูก เป็นหลัก
👉มักมีอาการคันคอ ซึ่งกรณีสารคัดหลั่งไม่เยอะมาก ไม่ออกมาในรูปของน้ำมูก แต่สามารถไหลย้อนลงคอเกิดเป็นเสมหะ จึงมีอาการไอเด่น (allergic cough)
👉รายที่เป็นเรื้อรังอาจพบอาการเจ็บคอได้ (pharyngitis)
💊ตอบสนองต่อ Anti-histamine และ steroids
💊ในการรักษา Allergic Rhinitis; 2nd generation Anti-histamine มีประสิทธิภาพไม่ต่างกับ 1st generation Anti-histamine
💊การรักษาให้แบ่งตามความรุนแรงเป็น Intermittent/Persistent Allergic Rhinitis เพื่อพิจารณาเริ่มด้วย anti-histamine หรือ steroids
1.2 Sinusitis
👉ผู้ป่วยมักมีอาการไอ ร่วมกับเข้าเกณฑ์วินิจฉัย sinusitis (2major criteria หรือ 1 major criteria + 2 minor criteria)
👉การรักษาภาวะ acute Sinusitis จะเริ่มใช้ antibiotic เมื่อเข้าเกณฑ์ของ bacterial sinusitis (เพราะเกิดจากไวรัสได้) ได้แก่ (1 ใน 3 ข้อนี้)
☑1) อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบต่อเนื่อง > 10 วัน
☑2) อาการแย่ลงหลังจาก เป็นไข้หวัดมาแล้ว 5-7 วันร่วมกับมีอาการไอแห้งหรือมีเสมหะจากน้ำมูกไหล ลงคอในเวลากลางวัน
☑3) อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบรุนแรง ได้แก่มีไข้สูงกว่า 39C และน้ำมูกข้นเป็นหนองโดยเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และเป็นติดต่อกัน 3-4 วัน
💊Antihistamine พิจารณาให้เฉพาะในกรณีที่มีภูมิแพ้ร่วมด้วย
💊ควรเลือกใช้ยารุ่นใหม่ (2nd generation) เพราะมีอัตราส่วนระหว่าง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และเภสัชจลนศาสตร์เป็นที่น่าพอใจกว่า1stgeneration
1.3 Cough associated with common cold (CACC)
อาการไอเนื่องจากวัด โดยสรุปจาก journal ของ CHEST 💊พบว่าการใช้ 1st generation antihistamine± decongestant ได้ผลดีในการลดอาการไอ
💊Diphenhydramine สามารถเพิ่ม cough threshold ลดอาการไอได้
💊Zinc ขนาดสูง (มาก) ใน 24 ชั่วโมงแรกของการมีอาการ อาจช่วยลดอาการไอได้
💊น้ำผึ้งสามรถลดอาการไอได้เทียบเท่า dextromethorphan
💊รายละเอียด CACC ศึกษาในโพสของเพจนี้ได้เลยครับ
2. กลุ่มอาการหอบหืด
2.1 Asthma
👉ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะตอนกลางคืนหรือมีสิ่งกระตุ้น เหนื่อย มีเสียงวี๊ด
👉พบการลดลงของ lung function และพบ airflow limitation
💊ให้รักษาอาการไอด้วย Beta-2 agonist ± steroid inhaler
2.2 Cough variant asthma
👉ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะตอนกลางคืนหรือมีสิ่งกระตุ้น แต่ไม่มีเหนื่อยหรือวี๊ด
👉มักไม่มีลดลงของ lung function หรือ airflow limitation
💊ให้รักษาอาการไอด้วย Beta-2 agonist ± steroid inhaler
3. Gastro-esophageal reflux disease (GERD)/laryngopharyngeal reflux (LPR)
👉Typical GERD ที่มีแสบร้อนยอดอก ± สำรอกอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการหลังอาหารมื้อใหญ่ รักษาแบบ GERD ทั่วไป
👉GERD ที่มีอาการนอกหลอดอาหาร หรือ laryngopharyngeal reflux (LPR) ผู้ป่วยจะมีกรดไหลย้อนขึ้นมาที่กล่องเสียงและลำคอ ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคือง มักมีอาการเสียงแหบ เจ็บคอเรื้อรัง ปวดฟัน มีอาการไอมากขึ้นหลังอาหารมื้อใหญ่ รักษาอาการไอด้วยวิธีอื่นมาก่อนแล้วไม่ได้ผล
💊อาจพิจารณาเริ่มใช้ PPI ทั้งขนาด standard หรือ double dose 4-8 สัปดาห์
💊มีงานวิจัยแบบ meta analysis ว่า PPI ไม่แตกต่างกับยาหลอกในการรักษาอาการไอเรื้อรังในกรดไหลย้อน OR 0.46 (0.19-1.15) ref3 และภาพที่ 3
💊มีการเสนอยากลุ่ม alginate เพื่อลดอาการนอกหลอดอาหาร
4. post-infectious cough
👉ไอ หลังจากมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
เกิดจากการกระตุ้น cough hypersensitivity โดย airway inflammation ด้วย sensory nerve
👉มักไอได้ถึง 2-8 สัปดาห์ หลังหายจาก URI
💊รักษาได้ด้วย steroids แบบสูด/ short course prednisolone/ inhaled ipratropium
💊อาจพิจารณาด้วย central acting anti-tussive; dextromethorphan, codeine
5. อื่น ๆ
Refer แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อค้นหาสาเหตุต่อไป
ยาแก้ไอทั้งขับหรือละลายเสมหะ หากดูในการศึกษาเฉพาะตัว อาจพบรายงานประโยชน์ของยาอยู่บ้าง แต่การศึกษามักเป็นขนาดเล็ก หรือ มีข้อจำกัดงานวิจัยอยู่มาก การรักษาจึงควรมองที่สาเหตุที่ทำให้กระตุ้นการไอก่อนเป็นลำดับแรก
Ref
1. การรักษาอาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่ ปี 2559.
http://ambu.or.th/assets/download/pdf/17-know.pdf
2. แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก ปี2562.
https://www.pidst.or.th/A750.html?action=download&file=859_FILE_49233e526c05cec19b6cb7e1a4391654_DOWNLOAD.pdf
3.Chang AB, Lasserson TJ, Kiljander TO, Connor FL, Gaffney JT, Garske LA. Systematic review and meta-analysis of randomised controlled trials of gastro-oesophageal reflux interventions for chronic cough associated with gastro-oesophageal reflux. BMJ. 2006;332(7532):11-7.
https://www.facebook.com/100063521830331/posts/pfbid02ZzvRxxESdudtBXU7fsbx1pPF8kapsYgFD6jQWAMuRrorcyezDBtDskZmdo5rMycFl/
POSTED 2022.09.16
บทความอื่น
การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ในเด็ก
https://www.blockdit.com/posts/63762d726544513e1041d309
ไซนัสอักเสบ
https://www.blockdit.com/articles/5d5d3d98109e92507e75da4f
หวัด virus vs bact
https://www.facebook.com/532472910261580/posts/2148835311958657/
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย