Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โหราทาสเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
17 ก.ย. 2022 เวลา 01:51 • ปรัชญา
บทที่ 11:ดวงอุจจ์และอัฏฐเคราะห์
เป็นอีกบทที่มีขนาดยาวและทำความความเข้าใจยาก แต่จะเฉลยเรื่องการใช้พระเคราะพักร์เพื่อพิจารณากรรมปัจจุบัน
นักศึกษาโหราศาสตร์ส่วนมากไม่ได้สนใจที่มา
ว่าแต่ละหลักการมีการสร้างขึ้นมาเพราะเหตุผลใดเลยใช้กันมั่วไม่รู้เรื่อง ขอให้ทายถูกเป็นพอ
โหราศาสตร์แต่แรกเริ่มมีการใช้ดวงเกษตร์เป็นหลักในการพิจารณาสิ่งที่มองเห็นได้ เพราะสามารถประเมินด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5ได้ง่ายสุด ต่อมามีการใช้ดวงอุจจ์สถานะวงจรตรีโกณเวลาให้ฤกษ์ทำการเช่นการออกศึกสงคราม สำหรับดวงชะตาหรือดวงฤกษ์ที่มีลักษณะพิเศษ
โหรไทยสมัยรัตนโกสินทร์มาเพิ่ม
ดวงอุจจาวิลาส/อุจจาภิมุข/ราชาโชค/เทวีโชค/มหาจักร/จุลจักร
เพิ่มทำไม ถ้าบอกว่าทำให้ดูแม่นขึ้นเท่ากับดูถูกโหรทั่วโลกที่เขาใช้เฉพาะดวงเกษตร์/อุจจ์ว่าดูไม่แม่นหรือเปล่า แล้วถ้าเขาใช้กันเป็นปกติไม่มีปัญหาอะไรแสดงว่าโหรไทยมีปัญหาดูดวงเกษตร์/อุจจ์ไม่เป็นเลยต้องเพิ่มเกณฑ์อื่นๆขึ้นมา อันนี้เลยฝากให้คิด
อ.สุบินมองว่าดวงเกษตร์ฝ่ายนาคา แผนภูมิฝ่ายเทวาและเจ้าฤกษ์ ภพเกณฑ์ทั้งสี่และเจ้าเรือนเงา สามารถอ่านกรรมเก่าทั้งด้านรูปธรรมนามธรรมได้ครอบคลุมหมดแล้ว
ดวงอุจจ์ก็เลยเหมือนจะเกินจำเป็น แต่ทำไมโหรสมัยกรุงศรีอยุธยามีการพิจารณาพระเคราะห์ในวงจรตรีโกณและดวงฤกษ์เวลาออกศึกสงครามที่มีเกณฑ์มุนีศาสดา-มหัทธกรรมโกลา-บุญยาฤทธิ์สิริเดช-ภัทยาพิเศษ สำหรับพระเคราะห์ออกราศีทวารในยุคแรก ก่อนที่มีการเกณฑ์พฤทธิ-จักร-ปรัก-ไทย ที่มีการใช้ดวงอุจจ์ในภายหลัง
อ. สุบินพบว่ามีการใช้ดวงมูลตรีโกณออกมาใกล้ๆกัน จะซ้ำซ้อนกับดวงเกษตร์หรือเปล่า แต่ท่านสังเกตว่าดาวเกษตร์มีสองเรือน ซึ่งมีน้ำหนักเท่ากันทางฝ่ายนาคา แต่ดวงมูลตรีโกณมีการใช้ตำแหน่งเรือนเดียวและ ๒ กลับไปได้ตำแหน่งมูลตรีโกณที่พฤษภไม่ใช่กรกฏ
1
แสดงว่ามูลตรีโกณต้องแสดงกำลังสูงสุดด้านใดด้านหนึ่งของพระเคราะห์ ถึงมีสองเรือนไม่ได้ ท่านมาพิจารณาเปรียบเทียบกับดวงวงจรตรีโกณตำแหน่งอุจจ์สมัยกรุงศรี ท่านก็พบว่า
ดวงชะตาที่มีกำลังแรง (ทั้งเก่งและเฮง)ไม่ใช่เป็นเพราะมีดาวเด่นในดวงชะตา แต่เป็นเพราะการประกอบกำลังกันเข้าเป็นดวงวงจรตรีโกณ
ดาวที่จะมีนัยยะต่อความเข้มแข็งของดวงชะตาต้องช่วยเสริมดาวอื่นในวงจรตรีโกณนั้นให้มีกำลัง ไม่ใช่การพิจารณาโดดๆแยกจากกัน ให้นึกถึงกระถางธูปที่ต้องมีสามขา
1
เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับแนวทางโลกวัฏฏะที่ดาว ๒-๓-๕-๗ เป็นตัวส่งผ่านวาระกรรมเก่าเข้าสู่ดวงชะตา แต่ไม่ใช่เป็นตัวกรรมเก่าโดยตรง
ดวงอุจจ์จึงจะใช้ได้ผลเมื่อประกอบวงจรตรีโกณตำแหน่งอุจจ์เท่านั้น หากไม่ใช่ก็จะพิจารณาเหมือนพระเคราะห์ธรรมดา
ชื่อดวงมูลตรีโกณก็มีความหมายเป็นนัยว่าใช้พิจารณากรณีดาวนั้นร่วมวงจรตรีโกณ
ต้นเหตุการใช้ดาวพักร์
ดวงอุจจ์ได้มีการกำหนด ๘ ในสถานะอุจจ์ต่างกับดวงเกษตร์ที่ใช้ ๘ ในฐานะองมนตรีของ ๗ และไม่ได้ตำแหน่งเกษตร์ด้วยตนเอง
1
ในแง่โลกวัฏฏะ ๘ เปรียบเสมือนเงาสะท้อนกรรมปัจจุบันเข้าสู่ดวงชะตา ในเมื่อ ๘ เดินย้อนจักรราศี ๓-๕-๗ ก็ควรส่งผ่านกรรมปัจจุบันเมื่ออยู่สถานะเดินถอยหลังย้อนจักราศีเช่นกัน
1
ทางดาราศาสตร์ ยังพบว่า พระเคราะห์เดินถอยหลังเมื่อโคจรมาใกล้โลก
ตำแหน่งพระเคราะห์ถอยหลังจึงกำหนดสถานะองค์เกณฑ์/อุดมเกณฑ์ เพื่อใช้ดูวาระกรรมปัจจุบัน ที่จะนำไปอธิบายในเรื่องสถานะเจ้าเกณฑ์ในบทถัดไป
โหราทาส
๑๙ กันยายน ๒๕๖๕
โหราศาสตร์
4 บันทึก
7
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทฤษฎีโหราศาสตร์ ภาค1 ฉบับแก้ไข
4
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย