Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
J
Jaray
•
ติดตาม
17 ก.ย. 2022 เวลา 09:19 • ปรัชญา
ว่าด้วยเรื่อง กิเลส กรรม วิบาก และความสัมพันธ์กัน
กรรม=การกระทำโดยเจตนากระทำ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ
กรรมดี=การกระทำความดี=การกระทำโดยสุจริต ทางกาย วาจา ใจ=ผู้ทำกรรมดี ย่อมทำ การรักษาศีล ถูกธรรม ถูกกฎหมาย และการกระทำใด เมื่อทำแล้ว ทำให้ผู้ที่กระทำไม่ต้องเดือดร้อนใจภายหลัง อีกทั้งมีใจเบิกบาน เสวยผลของการกระทำอยู่ สังคมสันติสุข
กรรมชั่ว=การกระทำความชั่ว=การกระทำโดยทุจริต ทางกาย วาจา ใจ=ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมทำผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย มีความคิดทุจริต คิดก่อกรรมทำบาปด้วยประการทั้งปวง เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์และโทษทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น รวมถึงสังคมโดยรวม
วิบากกรรม=ผลของกรรมทั้งดีและชั่วที่เราได้กระทำลงไปแล้ว=การให้ผลของกรรม อันเป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดในแต่ละชาติ แล้วมาประสบกับความทุกข์(วิบากที่เป็นอกุศล) หรือความสุข(วิบากที่เป็นกุศล)
กิเลส=๑) โลภะ (ความโลภอยากได้)
๒) โทสะ (ความโกรธ คิดเบียดเบียนทำร้าย)
๓) โมหะ (ความหลง ความไม่รู้)=กิเลสจะเข้าไปบังคับให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทำกรรมชั่ว=
เมื่อมาเกิดใหม่ในแต่ละชาติแล้ว กิเลสก็จะบังคับให้ทำกรรมใหม่ต่อ ๆ ไป จึงเกิดเป็นวิบากกรรมใหม่ วนเวียนเช่นนี้ไม่จบสิ้น
ความสัมพันธ์ของ กิเลส กรรม วิบาก
มีจุดเริ่มต้นที่กิเลสที่มีอยู่แล้วในใจ โดยที่กิเลสจะเข้าไปบังคับให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทำกรรมชั่ว เมื่อทำไปแล้ว ก็จะเกิดเป็นผลแห่งการกระทำ ที่เรียกกันว่าวิบาก ที่จะคอยติดตามให้ผลต่อใปในอนาคต ดังนั้น ตราบใดที่สรรพสัตว์ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสให้หมดจากใจได้ ก็ยังคงต้องเวียนเกิดเวียนตาย และรับผลแห่งวิบากที่ตัวเองเคยทำไว้ จึงต้องประสบกับความทุกข์เรื่อยไป ดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า"บาปกรรมนี้ ย่อมตามผู้ทำไปเหมือนล้อเกวียนอันหมุนตามรอยเท้าโค"
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย