Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
18 ก.ย. 2022 เวลา 23:36 • สุขภาพ
#กระวานยาดีที่ควรมีในบ้าน
สวัสดีครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน หมอมีเรื่องราวของสมุนไพรไทย ที่ใช้กันมายาวนานมาฝากทุกคนครับ เรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาฟังกันเลย
กระวาน เป็นสมุนไพรที่คนไทยใช้มากันอย่างยาวนาน
ชื่อท้องถิ่น
กระวานแดง (ภาคกลาง,ภาคตะวันออก) ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง (ภาคอีสาน) หมะอี้ (ภาคเหนือ) ปลาก้อ (ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amomum krervanh Pierre ex Gagnep.
ชื่อสามัญ Camphor seed ,Round Siam , Siam cardamom ,Clustered cardamom
กระวานจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงรองลงมาจากวานิลา กระวาน ที่ซื้อขายในตลาดโลกตั้งแต่อดีตแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
-กระวานแท้หรือกระวานเทศ (Elettaria cardamomum) ผลมีลักษณะ แบนรี ปลูกมากในอินเดีย กัวเตมาลา ศรีลังกา และแทนซาเนีย
-กระวานไทย (Amomum krevanh) ผลมีลักษณะกลม ปลูกมากใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย และในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก
ประโยชน์และสรรพคุณกระวาน
-แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ
-ช่วยขับลม และแก้แน่นจุกเสียด
-บำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ
-บำรุงกำลัง ขับโลหิต
-แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ
-แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ
-แก้ลมในลำไส้
-ช่วยให้เจริญอาหาร
-รักษาโรครำมะนาด
-แก้ลมสันนิบาต
-แก้สะอึก
-แก้อัมพาต
-รักษาอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
-รักษาโรคผิวหนัง
-บำรุงโลหิต
-แก้ไข้เซื่องซึม
-บำรุงน้ำดี
วิธีใช้
-แก้ท้องอืด ขับลม
ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล (0.6-2 กรัม) ตากแห้งบดเป็นผง รับประทาน ครั้งละ 1-3 ช้อนชา โดยนำไปต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว หรือนำไปชงกับน้ำอุ่นดื่ม
-แก้อาการแน่น จุกเสียด
ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เอาผลแก่จัดมาตากแห้ง แล้วบดให้เป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาครึ่ง โดยชงกับน้ำอุ่น
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
กระวานก็เหมือนกับพืชสมุนไพรทั่วไป ดังนั้นข้อควรระวังในการใช้ในการเป็นยาสมุนไพรนั้นก็เช่นเดียวกัน คือ ต้องใช้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป และไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานานจนเกินไป ส่วนการใช้เครื่องปรุง / เครื่องเทศในการทำอาหารนั้น ในอดีตมีการใช้กันมานานมากแล้วและไม่พบรายงานความเป็นพิษจากการใช้ในลักษณะนี้ ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้ใช้ในปริมาณที่มาก ดังนั้นการใช้กระวานจึงน่าจะมีความปลอดภัยสูง
แต่ถ้ากินแล้วอาการไม่ดีขึ้นอย่ารอช้า
รีบไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุโรคอันตรายอื่นๆด้วยนะครับ
ด้วยรักและห่วงใย
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
ศัลยแพทย์ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
เอกสารอ้างอิง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
กระวาน.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทรงโปรด ขวัญใจพานิช ธวัชชัย ลิขิตาภรณ์ ยุวดี วงษ์กระจ่าง ปราณี ใจอาจ โอภา วัชระคุปต์. การทดสอบความเป็นพิษของกระวานไทย. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529.
วัชรพงษ์ ทสะสังคินทร์, 2556, องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพ-ของเหง้าเร่วหอม และเมล็ดกระวาน.
กานต์ธีรา สิงห์คำ.การศึกษาสมุนไพรยับยั้งการทำงานของคอมพลีเมนต์. โครงการพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.1998.
กระวาน (Cardamom) สรรพคุณและการปลูกกระวาน.พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.puechkaset.com
นันทวัน บุญยะประภัศร ก้าวไปกับสมุนไพร 2 ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหิดล โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง กรมป่าไม้ พิมพ์ที่ธรรมกมลการพิมพ์
เรื่องเล่า
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สมุนไพรไทย เดอะ ซีรี่ย์
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย